บางคนอาจไม่รู้จักคำว่า ‘Intelligence Trap’ หนึ่งในเหตุผลที่องค์กรต้องรู้ ถ้าอยากเติบโตอย่างมีคุณภาพ

  • 9
  •  
  •  
  •  
  •  

 

คำว่า Intelligence Trap หรือให้ความหมายตรงตัวก็คือ กับดักของคนฉลาด’ ที่จริงนิยามคำนี้มีมานานแล้ว แต่เริ่มได้รับความสนใจอีกครั้งตั้งแต่ David Robson นักเขียนผู้โด่งดังที่เคยได้รับรางวัลเกี่ยวกับศาสตร์ของมนุษย์, การทำงานของสมอง และเรื่องของวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์ไว้ในหนังสือของเขา

เขาได้หยิบยกบางประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาตั้งคำถามว่า ทำไมคนฉลาดถึงมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่ฉลาด?

คงคล้ายๆ กับนักประวัติศาสตร์ Charles R. Morris ที่เคยเขียนไว้บนหนังสือของเขาเมื่อนานมาแล้วเกี่ยวกับวิกฤตการเงิน “As a general rule” โดยเขาพูดว่า “มีเพียงคนที่ฉลาดที่สุดเท่านั้นที่จะทำผิดพลาดร้ายแรงได้”

เรามีคำอธิบายที่เข้าใจง่ายมาแชร์ให้อ่านกันว่า คนฉลาดทำไมถึงผิดพลาดร้ายแรง?

David Robson อธิบายไว้ว่า มีเพียงไม่กี่เหตุผลที่ทำให้เป็นอย่างนั้น ถึงแม้ว่าเรื่องจริงคือ ทุกคนสามารถผิดพลาดกันได้แต่สำหรับคนฉลาดมักจะทำผิดพลาดในเรื่องร้ายแรง หรือผิดพลาดในเรื่องที่ไม่ควรผิดพลาด หรือคาดไม่ถึงว่าจะผิดพลาด เพราะว่าคนที่ฉลาดมักจะไม่มีคนที่กล้าเตือน หรือไม่อยากเตือนเพราะกลุ่มคนฉลาดจะมีอีโก้ที่ค่อนข้างสูง ไม่ฟังใคร ซึ่งสัดส่วนของคนฉลาดที่เป็นแบบนี้ยังมีอยู่มากในปัจจุบัน

หากอธิบายในหลักของวิทยาศาสตร์พูดง่ายๆ ก็คือ คนฉลาดจะมีกลไกการป้องกันตัวเองสูง ซึ่งการรับฟังผู้อื่นหรือคำติเตือนต่างๆ จะไม่มีผลนัก เพราะว่ามั่นใจในความคิดของตัวเองสูง ดังนั้น คนฉลาดจึงสามารถตกเป็นเหยื่อของความฉลาดของตัวเองได้ง่าย

“มีกลุ่มคนฉลาดลักษณะนี้ในองค์กรอยู่มาก องค์กรยิ่งใหญ่ยิ่งคัดคนที่ความสามารถ แต่การเติบโตอย่างมีคุณภาพคือต้องมีทั้งความฉลาดและปัญญา (wisdom) ในแง่ของการรับฟัง เปิดใจ เข้าอกเข้าใจผู้อื่นซึ่ง soft skills เหล่านี้กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในองค์กร เพื่อแพลนการเติบโตระยะยาว”

 

 

David Robson ยังได้ให้คำแนะนำถึงองค์กร ธุรกิจว่าการทำลาย ‘กักดัก’ ของความฉลาดควรเริ่มจากการฝึกเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของแต่ละคนให้ได้ก่อน ในฐานะที่เป็นผู้นำธุรกิจ ที่สำคัญคือเริ่มจากตัวเอง และนี่คือ 3 ข้อแนะนำที่ Robson ได้สรุปในหนังสือ

  • Distancing (การเว้นระยะห่าง) – ถอยหลังมาสัก 2-3 ก้าวเพื่อดูภาพรวมให้ชัดขึ้น เหมือนเรากำลังถอยหลังมาเพื่อดูตัวเองจากสวนอื่นๆ ที่ขยายกว้างขึ้น ทำแบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนเปิดกว้างเปิดใจและรับฟังผู้อื่น
  • Changing languages (การเปลี่ยนภาษา) – เหมือนเวลาที่เราเดินทางไปต่างประเทศ เราคงไม่สามารถใช้ภาษาไทยพูดคุยกับคนอื่นได้ แต่เราต้องปรับตัวใช้ภาษาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจและยอมรับ(แม้ว่าเราอาจจะไม่ถนัด) สำคัญที่ mindset เราต้องเข้าใจในความแตกต่างและหลากหลายก่อน
  • Practicing self-affirmation (ฝึกการยืนหยัดในตัวเอง) – ถึงแม้ว่าเราต้องลดความอีโก้ลงบ้างเพื่อรับฟังผู้อื่น แต่อย่าลืมความคิดตัวเอง ไอเดียของตัวเองที่แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะบางทีการแสดงตัวตนของเราบ้างก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน เพียงแต่เราต้องฝึก balance ในด้านนี้ให้ได้ด้วย

ที่หยิบขึ้นมาแชร์มันอาจจะเป็นเพียงปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ ของการเติบโตขององค์กร แต่มันก็คือเฟืองที่สำคัญตัวหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กร หากต้องการประสิทธิภาพเราต้องปรับตัวอยู่เสมอ และไม่ใช่แต่การเติมสกิลใหม่ๆ ให้ตัวเอง แต่ปรับลดบางเรื่องเพื่อทำให้ตัวเองดีขึ้นก็คงเป็นอีกเรื่องที่สามารถนำไปทำต่อไป

 

 

 

ที่มา: strategy-business


  • 9
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE