LinkedIn ช่วยคนหางานรอดตายจากวิกฤติ COVID-19

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 เชื่อว่าหลายคนกำลังประสบปัญหาในการมองหางานหรือโอกาสใหม่ๆ และไม่ว่าจะสมัครงานที่ไหน การได้งานที่เราอยากทำก็เป็นไปได้น้อยลงทุกที การส่ง Resume ไปตามเว็บไซต์หางานก็เงียบ ไม่ได้รับความสนใจ สุดท้ายก็เกิดความเครียดกังวลว่าจะเอาอย่างไรดีกับชีวิตและหน้าที่การงาน

แต่ช่วงวิกฤติแบบนี้ทำให้ LinkedIn กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เพื่อโอกาสในการได้งานทำแบบที่เราคาดไม่ถึงได้เช่นกัน จะว่าไปตามสถิติการใช้ Social Media Platform ในต้นปี 2021 LinkedIn มีคนใช้อยู่ 24.4% จากคนที่มีอายุ 16 – 64 น้อยกว่า Facebook, Youtube หรือ Line แต่เชื่อว่านอกจากเรื่องงาน เรื่องสร้าง Connection แล้ว LinkedIn มีข้อดีอีกเยอะ

 

Source: www.theverge.com

ใช้ LinkedIn ดึงความสนใจของนายจ้างมากกว่าตามหางาน

จริงๆ LinkedIn ก็ใช้หางานทำน่ะแหละ บริษัทหลายเจ้าก็โพสต์ประกาศรับสมัครงานผ่าน LinkedIn เหมือนกัน และไม่ใช่แค่ที่ไทย แต่คือทั่วโลก ฉะนั้นถ้าสนใจอยากทำงานต่างประเทศ LinkedIn ก็มีให้งานจากต่างประเทศให้เลือก

แต่ LinkedIn แตกต่างจากเว็บไซต์สมัครงานทั่วไปตรงที่ LinkedIn เป็นช่องทางที่นายจ้างจากหลายๆบริษัทใช้หาคนที่มีโปรไฟล์ดีๆ ประสบการณ์ที่เหมาะสบกับตำแหน่งงานที่บริษัทที่ประกาศไว้ ถ้าเกิดนายจ้างเปิดโปรไฟล์ LinkedIn ของเราเกิดถูกใจ เราก็จะได้รับข้อความจากนายจ้างให้มาสมัครงานและสัมภาษณ์งาน

โดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยออกแรงหานายจ้าง หางานเองเลยด้วยซ้ำ

 

Source: https://europa.eu/youth/go-abroad/working/ten-ways-stand-out-linkedin_en

อย่าคิดว่า LinkedIn เป็นแค่ Online Resume

อย่างที่บอกไปว่าอาจจะมีนายจ้างเข้ามาดู Profile ของเรา ฉะนั้นการที่จะทำให้นายจ้างประทับใจ เราต้องใส่คอนเทนต์ใน Profile ของเราให้น่าสนใจที่สุด โดยเฉพาะช่วง Summary และ Working Experience การคัดลอกเอาเนื้อหาจาก Resume มาใส่ในโปรไฟล์เราตรงๆเลย อาจจะไม่สมควรเท่าไหร่ เพราะมันไม่มีความเป็น Human

อยากให้คิดว่า LinkedIn เป็นเหมือน Personal Brand ของเรา ดีกว่า ให้คนมาอ่านโปรไฟล์เราแล้วรู้สึกว่าคนนั้นได้อ่านเรื่องเล่าประสบการณ์การทำงานเหมือนได้ร่วมทำงานไปพร้อมๆกับเราตั้งแต่เรียนจบมหาฯลัย

ฉะนั้นการเขียนประสบการณ์ทำงาน (สำหรับบัณฑิตจบใหม่ ก็เป็นประสบการณ์ฝึกงาน) ให้เขียนไปในเชิงเรื่องเล่าว่า ที่ทำงานแต่ละที่ที่เราทำงานด้วยนั้น เราเจอปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง หรือเป้าหมายที่เราต้องทำให้ได้ จากนั้นเล่าให้คน่านฟังว่าเราทำอะไรลงไป แล้วได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร อย่าเขียนเป็น Bullet point ให้แยกย่อหน้าละหนึ่งเรื่องเล่าดีกว่า

และในช่องประสบการณ์การทำงาน เราสามารถใส่รูปประกาศนียบัตร รูปรางวัล บทความ ผลงานที่เราเคยทำให้กับบริษัทนั้นๆ อัพโหลดลง LinkedIn ได้ด้วย

ไม่ใช่แค่ประสบการณ์การทำงาน สำหรับเด็กจบใหม่ที่ส่วนใหญ่มีแต่ระดับการศึกษา ให้เราเขียนลงไปว่ากิจกรรมที่ทำนรั้วมหาลัยมีอะไรบ้าง? ชมรมไหนที่เราเคยเข้าไป มีเป้าหมายคืออะไร ทำอะไรบ้าง ได้ผลลัพธ์อย่างไร มีรูปภาพ ผลงาน รางวัลอะไรก็ใส่ให้หมด

Source: https://charitydigital.org.uk

นอกจากนี้เราสามารถใช้ LinkedIn ส่องประวัติการทำงานของคนที่จะมาสัมภาษณ์ตอนเราสมัครงาน เราสามารถพูดถึงประวัติของคนสัมภาษณ์เพื่อชมเชย หรือหา Common Ground เพื่อให้การสัมภาษณ์งานลื่นไหล เป็นกันเอง และในบางครั้ง หากเราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับบริษัทที่เราจะสมัครงาน เราสามารถทักไปหาคนในเครือข่ายเพื่อถาม Insight เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทที่จะไปทำงานได้ด้วย

ดูตัวอย่างการเขียนโปรไฟล์ได้ที่นี่

 

ใช้ LinkedIn พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น

สารพัดทางที่ LinkedIn จะผลักเราต้องเร่งพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ในโปรไฟล์ เราสามารถเขียนพิมพ์ลงไปได้วว่าเราเก่งอะไรบ้างไล่ไปตั้งแต่ MS Office ไปจนถึง Cloud Computing แต่เอาจริงๆ ไม่มีใครอ่านแล้วเชื่อเราหรอก จนกว่าจะมีคนมายืนยันว่าคุณเก่งจริงในทักษะนั้นๆ

ซึ่งฟังก์ชั่นใน LinkedIn ก็มีหลายอย่างที่จะยืนยันว่าเราเก่งในทักษะนั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้เราทำแบบทดสอบวัดทักษะนั้นๆ การให้คนที่อยู่ในเครือข่ายของเรามากดเพิ่ม Credit ให้กับทักษะนั้นๆของเรา รวมไปถึงมี Section ให้คนที่เราเคยทำงานด้วย เขียนถึงตัวเราว่าเรามีความสามารถอะไร ประทับใจอะไรในตัวเราบ้าง

นอกจากนั้นถ้าเรามีเครือข่ายใน LinkedIn เยอะๆ เราอาจจะได้เห็นเพื่อนๆแชร์สิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้จากการทำงาน หรืออย่างน้อยได้แชร์ Certificate จากคอร์สออนไลน์ที่ได้ไปเรียนมา โดยเฉพาะไปสอบมาอย่างยากลำบากเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองรู้จริง มีความสามารถจริงในงานที่ตัวเองทำ บางครั้งเราได้รู้ Certification ดีๆที่หาสอบได้ ไม่ว่าจะเป็น LINE STUDY ROOM หรือ TIKTOK ก็ตาม

เพื่อนในเครือข่ายของผมแนะนำคอร์ส Reuters Training Course: Introduction to Digital Journalism ซึ่งผมว่าน่าสนใจดี และเพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกด้วย

 

นี่ยังไม่นับที่เราสามารถไปส่งโปรไฟล์คนอื่นๆ แล้วดูว่าคนพวกนี้ผ่านอะไรมาบ้าง จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้เราพัฒนาตัวเองอีก

สุดท้ายอยากจะบอกว่าอย่ากลัวที่จะ Request Connect กับคนที่เราไม่รู้จักมาก่อน เพราะไม่แน่ว่าคนพวกนี้จะนำพาให้รารู้จักกับคนที่น่าสนใจและคนนนั้นอาจจะสนใจในโปรไฟล์ของเราจนเราได้งานที่เราอยากทำก็เป็นไปได้

 

บทความนี้เผยแพร่ใน Marketing Oops เป็นที่แรก


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th