Exclusive: Pum Lefebure สาวไทยคนเก่ง Jury President ใน Adfest 2015

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

PUMhili

Ms.Pum Lefebure สาวไทยคนเก่งในวงการดีไซน์ สหรัฐฯ ดีกรีระดับ Co-Founder & Chief Creative Officer of Design Army, Washington, DC. เธอเป็นกรรมการตัดสินมาแล้วหลายเวทีการประกวดด้วยกัน สำหรับใน Adfest 2015 นี่เป็นครั้งแรกที่เธอได้มาเป็นกรรมการตัดสินในประเทศบ้านเกิดของเธอ ด้วยการดำรงตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการตัดสินสาขา Design Lotus & Print Craft Lotus

Ms.Pum ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ MarketingOops ลองมาฟังทัศนะของเธอว่าเธอมีหลักยึดอะไรในการตัดสิน พร้อมกับคำแนะนำดีๆ สำหรับ Creative Agency ไทย ทำอย่างไรให้ได้ผลงานดีๆ ออกมา

ในการตัดสินครั้งนี้ยึดอะไรเป็นหลักบ้าง?

หลายๆ อย่าง ทุกอย่างรวมกัน แต่ Creative Idea สำคัญที่สุด แล้วก็ความเป็นศิลปะด้วย และต้องมีทั้งไอเดีย มีคอนเซ็ปต์แข็งแกร่ง และ execution ก็ต้องดีที่สุดด้วย

ซึ่งการดีไซน์ที่สำคัญก็คือต้องดูสวย ในเวลาเดียวกันก็ต้องดูมีมันสมอง หรือ brian ดังนั้นต้องมีทั้ง Brain and Beautiful

“เหมือนกับบางคนที่เราเห็นว่า เขาอาจจะเป็นคนสวย แต่ไม่ฉลาด ในขณะที่บางอาจจะฉลาด เก่ง แต่ไม่สวย ดังนั้น ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ต้องทั้งสวยและฉลาด ซึ่งการดีไซน์ก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีทั้งสองอย่างร่วมกัน”

Adfest ปีนี้เป็นอย่างไรบ้าง มีพัฒนาการอะไรที่เราเห็นบ้างหรือไม่?

ค่อนข้างน่าผิดหวังพอสมควร ไม่มีอะไรที่ break ออกมาเลย อาจจะเป็นเพราะมาตรฐานของเราสูงมาก ต้องเข้าใจว่าตนเองเป็นกรรมการที่เห็นผลงานต่างๆ มาแล้วมากมายทั่วโลก แต่ต้องบอกก่อนว่านี่คือการมาตัดสินปีแรกของตนเองที่ Adfest อย่างไรก็ตาม ถ้าเปรียบเทียบกับงานโฆษณาในระดับโลกต่างๆ ก็ต้องบอกว่า แม้มันจะไม่ได้มีมาตรฐานที่ต่ำ แต่ผลงานที่ส่งเข้ามามีค่อนข้างน้อย ทำให้เห็นชิ้นงานดีๆ ไม่ได้มากเท่าที่ควร

แต่โดยส่วนตัวก็ชอบงานของญี่ปุ่นมากๆ เพราะดีไซน์จากญี่ปุ่นจะเป็นดีไซน์ที่สวยที่สุดในโลก แต่นี่คือ Adfest ดังนั้น จึงมีแต่งานของเอเจนซี่ ไม่ใช่งานดีไซน์เพียวๆ แล้วงานดีไซน์สตูดิโอ หรือดีไซน์เอเจนซี่ หรือแบรนด์ดิ่งเอเจนซี่ ก็ไม่ได้เข้ามาที่ Adfest มากนัก ฉะนั้น เมื่องานส่งเข้ามาน้อย จึงมีความรู้สึกว่ายากที่จะประทับใจกับผลงานที่เข้ามาส่วนใหญ่

“ส่วนตัวชอบผลงานของ Honda book ที่ทำออกมาแล้วรู้สึกว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของ solid design เพราะว่ามันมีความสวยงามทั้งวัสดุที่ใช้ กระดาษสวย สีสวย การพิมพ์ที่งดงาม และ illustations ที่น่าสนใจ แล้วเมื่อคุณเปิดและพลิกไปทีละหน้า ทีละหน้า มันทำให้เรารู้สึกอยากจะเปิดและอ่านต่อไปเรื่อยๆ มันคือ ให้ความรู้สึที่เซอร์ไพรส์ เหนือความคาดหมาย และ delight มากๆ”

ถ้าเทียบงานระดับโลกที่เข้ามาใน Adfest ซึ่งมีทั้งญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ส่วนตัวแล้วคิดว่าประเทศไหนแกร่งกว่ากัน?

ส่วนตัวแล้วชอบญี่ปุ่นมากกว่า Very strong thinking และมีความเป็น original คืองานโฆษณาบางชิ้นอาจจะดูโฉ่งฉ่าง เสียงดัง แต่งานของญี่ปุ่นจะสงบ เงียบ เรียบง่าย และเป็นงานที่มีคุณภาพ งานดีไซน์ที่ดีที่สุดคือ ให้ความรู้สึกดีกับสายตา และจิตใจ

คำแนะนำสำหรับนักโฆษณาและเอเจนซีไทยเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานดีๆ

Don’t Create Don’t design to win Cannes!

อย่าครีเอท อย่าดีไซน์ เพื่อที่จะได้ Cannes เป็นประโยคแรกที่เอ่ยออกมา และชัดเจนในใจความดีทีเดียว

“เพราะว่าพี่รู้สึกว่าทุกอย่างทุกกระบวนการทำมาเพื่อผลรางวัล แต่ถ้าคุณยิ่งทำแบบนี้ บอกได้เลยว่ากรรมการรู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ มันชัดเจนมาก กรรมการรู้ว่าคุณกำลังทำสิ่งปลอมๆ ขึ้นมา เรารู้ เราตัดสินมาแล้วหลายชิ้นงาน หลายเวที เราไม่ได้โง่ มันง่ายมากที่จะเห็นจุดนี้ ว่าอะไรคือโปรเจ็คต์ที่แท้จริง และอันไหนคือของปลอม”

ต้องไม่ลืมว่างานของเราคือการตลาดและการดูแลลูกค้า เช่น ลูกค้าบอกว่าให้เราสร้างสรรค์รสชาติไอศครีมขึ้นมา แต่คุณก็มุ่งไปแต่ว่าอยากได้ลูกเชอร์รี่สีแดง ซึ่งเปรียบเหมือนกับ Cannes หรือในที่นี้ก็คือ awards คุณก็จะมัวมาแต่โฟกัสที่ลูกเชอร์รี่ ประดิษฐ์แต่ลูกเชอร์รี่ โดยลืมที่จะไปสร้างสรรค์รสชาติไอศครีมอย่างที่ลูกค้าต้องการ ว่าควรจะทำอย่างไรให้รสชาติไอศครีมมันดีที่สุด แปลกที่สุด อร่อยที่สุด แล้วถ้าสุดท้ายมันได้เชอร์รี่หรือรางวัล มันก็ดีนะ That’s good คือเชอร์รี่จะมีมาหรือไม่มีมาไอศครีมมันต้องอร่อยอย่างที่ลูกค้าต้องการ จะมีเชอร์รี่หรือไม่ไม่สำคัญ คือคุณต้องมุ่งเน้นไปที่ advertising หรือ design ไม่ใช่รางวัลซึ่งมันผิด

“ลูกค้าจ่ายให้คุณเพื่อครีเอท เพื่อดีไซน์โปรดักส์ ไม่ใช่จ้างคุณมาเพื่อทำอย่างไรให้ได้ Cannes แต่งานที่ได้รางวัลต่างๆ หรือแคมเปญที่รางวัลคุณไปดูได้ เพื่อศึกษาว่า โอ้… มันเป็นอย่างไรนะ งานดีๆ เขาทำกันอย่างไรนะ เพราะฉะนั้น ลืม awards ไปซะ แต่ให้โฟกัสไปที่ผู้ฟัง ลูกค้า รางวัลไม่ใช่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลัก สร้างสรรค์ผลงานที่ดี จับใจคนดูให้ได้ นี่ต่างหากล่ะคือเป้าหมายสูงสุด”

Cannes is not the gold,
Create a good advertising
that touching Thai people hearts
is the gold”

แง่คิดดีๆ ของมืออาชีพ  ซึ่งหวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับครีเอทีฟเมืองไทยได้


  •  
  •  
  •  
  •  
  •