เรียนรู้การออกแบบอนาคตให้ธุรกิจ ผ่านประสบการณ์เข้มข้นของอดีตเด็กอาชีวะสู่เจ้าของบริษัท Illustrator ระดับโลก

  • 398
  •  
  •  
  •  
  •  

 

“ตอนตัดสินใจเลิกเชื่อว่าจะต้องเรียนให้สูงแล้วเริ่มต้นใหม่ ผมไม่เคยอายใครเลย ที่จะบอกว่า ผมจบแค่อาชีวะ และผมก็ไม่กลัวอีกเลย ผมสามารถที่จะเดิน และมั่นใจตัวเองในอนาคตว่าชีวิต ผมจะเดินตามทางที่ผมเชื่อ”

คุณสุรชัย พุฒิกุลางกูร Founder & CEO Illusion CGI Studio กล่าวบนเวที Creative Talk Conference 2022 #CTC2022

 

หนึ่งในคำพูดที่กระตุกความคิดของทุกคนว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องลุกขึ้นมาออกแบบอนาคตของเราเอง พร้อมกับละทิ้งความเชื่อเดิมที่สังคมหรือคนรอบตัววางกรอบเอาไว้ให้?

 

คุณสุรชัย พุฒิกุลางกูร Founder & CEO Illusion CGI Studio ขึ้นบอกเล่าบนเวทีภายใต้หัวข้อ Design Your Future by Questioning Undesigned Experiences ออกแบบอนาคตของคุณโดยการตั้งคำถามจากประสบการณ์ โดยเริ่มต้นการชวนคิดผ่านมุมมองที่ว่า ความเชื่อมีอิทธิพลมากกว่าความรู้  เช่น เราชีวิตโดยที่เราคิดว่าเราเรียนสูงๆ แล้วจะมีชีวิตที่ดีขึ้น หรือเรารู้ว่า บุหรี่เหล้าหรือแม้แต่น้ำตาล มันไม่ดีกับร่างกายแต่เราก็ยังเสพมันยังทานมันอยู่ เรารู้หลายสิ่งแต่ไม่เคยตั้งคำถามกับมัน

 

คำถามที่คุ้นเคยในชีวิต – สอบได้ที่เท่าไหร่  สอบได้เกรดอะไร เรียนคณะอะไรมหาวิทยาลัยอะไร มีงานทำหรือยังได้เงินเดือนเท่าไหร่ มีแฟนหรือยังเมื่อไหร่แต่งงาน แต่งงานแล้วเมื่อไหร่จะมีลูก พอมีลูกก็วนคำถามชุดเดิมนี้กลับไปที่ลูกหลาน กดดันลูกหลานเป็นลูปไปเรื่อยๆ

คำถามนี้เกิดจากความเชื่อ ไม่ใช่ความรู้ และมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเรา

ดังนั้น “ความเชื่อ” เปรียบเป็นก้อนหิน น้ำ ในแก้วเป็น “ความรู้” ส่วนแก้วคือ “ระบบการศึกษา”

 

เมื่อแรกเกิด สมองของเราคือความว่างเปล่า จากนั้นเราก็ถูกปลูกฝังด้วยความเชื่อ (ก้อนหิน) ใส่เข้าไปในหัวเรา ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ก็จะมากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเกิดขึ้นจสกหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น ศาสนา โรงเรียน ครอบครัว สังคม ฯลฯ เมื่อสั่งสมกัน ตรงนี้ก็จะกลายเป็น ‘ชุดความเชื่อ’ ซึ่งจะทับถมกันไปเรื่อยๆ

ขณะที่สิ่งที่เราสนใจคือการเติมน้ำ (ความรู้) ซึ่งสังคมชอบบอกว่าให้เราเรียนสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คือการเติมน้ำลงไปในหัวเรา ยิ่งเรียนรู้ยิ่งดี (?) แต่ไม่เคยรู้เลยว่า ชุดความเชื่อ (กองก้อนหิน) มีผลต่อการออกแบบชีวิต

 

“ผมไม่เคยอายที่จะบอกว่าจบแค่อาชีวะ”

คุณสุรชัย ยังได้ยกตัวอย่างตอนไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นว่า ได้ค้นพบว่าสิ่งที่เราเรียนมามันไม่ใช่ รู้ตัวว่าข้างในเราเริ่มรู้ว่าสิ่งที่เชื่อหรือเข้าใจนั้นมันผิด กลับมาทบทวนตัวเองว่า จะเรียนต่อหรือเลิกดี? จนในที่สุด ก็ตัดสินใจว่า จะเลิกเชื่อว่าต้องเรียนให้สูงถึงจะประสบความสำเร็จ แต่เรียนให้ถูกต้องต่างหากถึงจะประสบความสำเร็จ ทำให้ผมตัดสินใจเลิกต่อปริญญาโท และกลับไปเรียนอาชีวะเพื่อเริ่มต้นใหม่

“ตอนตัดสินใจเลิกเชื่อว่าจะต้องเรียนให้สูงแล้วเริ่มต้นใหม่ ผมไม่เคยอายใครเลย ที่จะบอกว่า ผมจบแค่อาชีวะ และผมก็ไม่กลัวอีกเลย ผมสามารถที่จะเดิน และมั่นใจตัวเองในอนาคตว่าชีวิต ผมจะเดินตามทางที่ผมเชื่อ”

 

วิธีการที่จัดการกับ ‘ความเชื่อ’ ก็คือไปสำรวจตัวเอง ค่อยๆ หยิบก้อนหิน ที่เป็นอุปสรรคหรือสิ่งที่ไม่น่าจะถูกต้องสกัดมันออกไป เมื่อเราเอาก้อนหินที่ผิดๆ ออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การเกิดขึ้นของ ‘ตาน้ำ’ จุดเล็กๆ ที่ปล่อยให้มี ‘ลักษณะเฉพาะ’ ผุดขึ้นมาได้ ซึ่งทุกคนมีลักษณะเฉพาะ แต่ทุกคนไม่เคยถูกอนุญาตให้เข้าใจหรือทำให้เห็นว่ามันมีอยู่ และถ้าทุกคนมีการสำรวจที่มากพอ เราก็จะรู้ว่าทุกคนมีลักษณะเฉพาะ และไม่ได้มีแค่ หนึ่ง แต่บางคนมี สอง สาม สี่ ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ใช้เวลาในการค้นหามันหรือไม่

ลักษณะเฉพาะคืออะไร? คือเรื่องที่ระบบการศึกษาไม่เคยอนุญาตให้เรารับรู้ว่ามันมีอยู่ นั่นหมายความว่าเรื่องบางเรื่องที่สนใจแต่ไม่มีในวิชาเรียน งั้นก็เก็บไว้ทำในเวลาว่างๆ สุดท้ายก็ทุกแอบซุกอยู่ในเวลาที่เราว่าง แล้วก็กลายเป็นแค่งานอดิเรก เราเอา ‘ลักษณะเฉพาะ’ ที่มีพลังมากๆ ไปเป็นแค่งานอดิเรก ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ บางคนไม่เคยรับรู้เลยว่า เรามีลักษณะเฉพาะ เพราะเราสนใจแค่น้ำที่เกิดจากระบบการศึกษา

 

เราโตมากับการที่ จุดแข็งถูกเก็บซ่อนไว้

กลับมาที่การเกิดของ ‘ตาน้ำ ถ้าเกิดว่า เราปล่อยให้มีมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อนำไปใส่กับความรู้ ก็จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘ผลึก’ เล็กๆ ที่ค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเรียกมันว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ เวลาบอกว่า “ให้คิดนอกกรอบ” มันเป็นเรื่องที่ยากมากเลย แต่ถ้าคนๆ นั้นค้นพบลักษณะเฉพาะของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องกีฬา ศิลปะ ดนตรี การทำอาหาร ฯลฯ เพราะที่ผ่านมาเราถูกปลูกฝังให้เรียนให้เก่งในทุกวิชา และทั้งชีวิตวนเวียนกับการต้องคอยแก้จุดอ่อนของตัวเอง แต่โลกข้างนอกเขาใช้จุดแข็งทำมาหากิน เพราะฉะนั้นจุดแข็งของเราก็จะไม่ถูกนำมาพัฒนาเลย

“ดังนั้น เราโตมากับการที่ จุดแข็งถูกแอบซ่อนไว้เป็นงานอดิเรก ดังนั้น ทำงาน 5 วันเพื่อไปทำงานอดิเรกแค่เสาร์อาทิตย์ แล้วก็ทำงานต่อไปเรื่อยๆ 10-20 ปีเพื่อลาออกมาแล้วไปทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ ซึ่งผมมองว่าเป็นวิธีการคิดที่ผิด”

กลับมาที่ ลักษณะเฉพาะ เมื่อถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก็จะถูกพัฒนาขึ้นจนมันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แล้วกลายเป็น ‘ความสามารถพิเศษ’ คือการที่พัฒนาลักษณะเฉพาะของตัวเองจนกระทั่งกลายเป็นจุดเด่น

 

ในขณะที่ ‘ระบบการศึกษา’ เมื่อมองย้อนกลับไปแล้วทำให้ได้ความคิดว่า ระบบการศึกษา ถูกออกแบบเพื่อปั๊มพวกเราให้ได้แบบตามที่สังคมต้องการหรือธุรกิจต้องการ ดังนั้น หมายความว่า ระบบการศึกษาออกแบบมาเพื่อรองรับสิ่งที่สังคมข้างนอกต้องการ เพราะฉะนั้น ในอนาคตถ้าจะมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ถ้าเราไม่สามารถค้นหาลักษณะเฉพาะของเราเจอ ดังนั้น โอกาสที่จะอยู่รอดในอนาคตก็ยาก

 

ทำไมต้องเป็น CGI?

คนมักถามว่า ทำไมเปลี่ยนจากการทำโฟโต้รีทัชมาเป็น CGI แล้วทำไมต้องเป็น CGI?

Photo Retouch คือการตกแต่งภาพ แล้วใช้โฟโต้ช้อปตกแต่งให้มันได้ตามต้องการ ซึ่งค่อนข้างยาก ในขณะที่ CGI (Computer Generated Imagery) การสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการถ่ายภาพแล้วรีทัช เราสามารถปั้นหมูให้มีแอคชั่นและท่าทาง แล้วใส่พื้นผิวเข้าไปเบลนเดอร์เข้าไป ก็จะได้หมูที่มีอารมณ์ และทำท่าได้อย่างที่เราต้องการ

 

มันเกิดคำถามในใจ? หากการวิวัฒนาการ จากปลากระเบน เป็นฉลามหัวค้อน  และไปเป็น ปลาฉลาม ถ้ามันวิวัฒนาการจริง ทำไมยังเหลือร่องรอยอยู่ ทำไมไม่เหลือแต่ฉลาม คล้ายกับวิวัฒนาการจากลิงมาเป็นคน คำถามคือ? ถ้ามันวิวัฒนาการจากลิงเป็นคน ก็จะต้องไม่มีลิงเหลืออยู่ แล้วลิงที่เหลืออยู่ทุกวันนี้ เมื่อไหร่จะเป็นคน สุดท้ายก็กลับไปหาความรู้เพิ่ม และได้รู้ว่าลิงถูกออกแบบมาแค่สายพันธุ์เดียวที่จะมาเป็นคนคือ Homo sapiens ที่จะพัฒนาไปเป็นคน

แล้วทำไมต้องเปลี่ยนจากโฟโต้รีทัชมาเป็น CGI? เพราะว่า CGI นั้นสามารถพัฒนาไปเป็น VR (Virtual Reality) ที่เป็นอนาคตได้ การที่เราทำแค่รีทัชมันไม่สามารถกระโดดไปหา VR ได้

“เพราะฉะนั้นการเลือกทำธุรกิจที่เป็นได้แค่ลิง
อนาคตเราจะเจอทางตัน”

ดังนั้น การที่เราเปรียบเทียบวิวัฒนาการของลิงไปเป็นมนุษย์กับธุรกิจ เราสามารถทำได้ นั่นคือการ หาความเหมือนของสิ่งที่แตกต่างกันได้

 

“ความเร็ว” คือจุดเปลี่ยนแห่งชัยชนะ

แล้วรู้ได้ไงว่า CGI จะมา?

เพราะผมรู้ว่าในที่สุด 2D มันจะวิวัฒนาการไปสู่ VR และเราได้ศึกษาและเรียนรู้ว่า Analog workflow จะก้าวไปสู่ Digital workflow มนุษย์จะใช้กระดาษน้อยลง

นอกจากนี้ การเป็นมหาอำนาจของโลกเกี่ยวข้องกับ ‘ความเร็ว’ จากบนดิน ทางน้ำ ทางอากาศ แล้วก็ไปสู่อวกาศ มันเป็นเรื่องการแข่งขันในเรื่องความเร็วทั้งนั้น

นอกจากนี้ ยังได้เอาแนวคิดของนักคิดชาวรัสเซีย มาใช้สร้างและพัฒนาบริษัทอิลลูชั่นฯ ทำให้ก่อตั้งบริษัทและอยู่มาได้ 20 ปี โดยเขาเอาวิวัฒนาการเรือเดินสมุทรมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์

 

  • เริ่มจากเรือพายด้วยคน 1 คน ไปได้ไม่ไกลมาก หลังจากนั้นก็เพิ่มจำนวนคนก็ทำให้ไปได้ไกลมากขึ้น – เริ่มธุรกิจ บริษัท อิลลูชั่นฯ ด้วยคน 3-4 คน ซึ่งจะทำงานอย่างเป็นทีมและมีระบบ
  • จากนั้นไวกิ้งค้นพบใบเรือและขึ้นเป็นมหาอำนาจ – อิลลูชั่น สร้างความได้เปรียบทางด้านความเร็วด้วย Scanner ซึ่งทำให้การทำงานได้เร็วมากขึ้น
  • เมื่อพบว่าใบเรือคือคำตอบของความเร็ว ก็มีการเพิ่มใบเรือให้มากขึ้น ทำให้โปรตุเกสขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก – มุมของการพัฒนาอิลลูชั่น คือการเกิดขึ้นของ Digital Camera ซึ่งเข้ามาแทนที่ Scanner ทำให้ความได้เปรียบของเราเรื่องความเร็วหายไป
  • การค้นพบถ่านหินทำให้ผลิตเรือกลไฟ อังกฤษก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ – อะไรคือเรือกลไฟของอิลลูชั่น มันคือ Digital Proof อิลลูชั่น นำเทคโนโลยีของร้านแยกสีมาศึกษา และสามารถส่ง Digital Proof ให้กับทางเอเจนซี่ได้เร็วกว่ากระบวนการปกติถึง 3 วัน เป็นการแก้ไขเออร์เร่อที่เกิดขึ้นได้ก่อน นี่คือความได้เปรียบของอิลลูชั่นอยู่ถึง 10 ปี
  • หลังการค้นพบถ่านหินก็เปลี่ยนมาใช้น้ำมัน เรือพัฒนามาสู่การใช้น้ำมัน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เรื่อยๆ – สิ่งที่ถามตัวเองต่อ ว่าอะไรที่จะทำให้เราได้เปรียบไปอีกก็คือ CGI พร้อมกับการเปลี่ยนระบบการทำงานให้เป็นแบบ Realtime คือ เมล์ที่มาจากต่างประเทศ เราจะตอบภายในครึ่งชั่วโมง

ค้นหาความเหมือน ของสิ่งที่เหมือนกัน

อันนี้เป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะมันเหมือนกันอยู่แล้วแล้วจะหาสิ่งที่เหมือนกันไปทำไม?

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีความสนใจงาน Print Ads ซึ่งค้นพบว่า งานประเภทนี้มันไม่ได้มีภาษาเขียนใดๆ เลย มันมีแค่รูป คือมันจะไม่มี copywrite เลยจะมีแต่รูป ทำให้เริ่มมองความเหมือนกันของมัน จนค้นพบสิ่งหนึ่งว่างานทั้งหมดเหล่านี้

มันมีองค์ประกอบที่คล้ายกันมาก คือการใช้เส้นทแยงมุม และมีจุดน่าสนใจ ตัวไอเดีย ตัวที่เล่าไอเดียอยู่จุดหนึ่ง มันคือ Just in time ในระบบการสื่อสาร Just in time การผลิตแบบทันเวลาพอดี คือลดการสต๊อกสินค้าทุกอย่างคือการทำตามออร์เดอร์ ทำให้เกิดาการสูญเสียระหว่างจุด A ไป B ให้น้อยที่สุด

ดังนั้น การสื่อสารก็เหมือนกันถ้าเราสกัดสิ่งที่กวนสายตา เอาสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากไอเดียจากภาพของเราให้ได้มากที่สุด มันจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด

จากการศึกษาอยู่ 20 ปี ในที่สุดผมก็ได้รางวัล Grand Prix จาก Print Ads ที่ไม่มี copywrite เหมือนกัน

ผลงานชิ้นแรกที่ได้รับรางวัล Cannes Lion

การพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรส และเป้าหมายของการพิชิตทุกยอดเขาบนโลก

แต่ตอนขึ้นไปรับรางวัล ผมถามตัวเองในใจว่า “เลิกดีไหม” !! เพราะเรามาถึงจุดสูงสุดแล้ว เพราะผมไปยึดงาน Grand Prix ของ Cannes เหมือนกับโอลิมปิก คือคิดว่าถ้าเราเป็นแชมป์ไปแล้วเราก็ควรจะเลิกดีไหม?

แต่ผมคิดต่อว่า นี่มันคือเรื่องที่เราถนัด เรื่องที่เราชอบเราเลือกแล้ว ถ้าเลิกแล้วจะไปทำอะไร ผมก็เลยคิดต่อว่า อะไรที่มันต่างกัน แล้วมันเหมือนกับผมบ้าง ผมกลับไปคิดต่อ จนกระทั่งเจอว่า การพิชิตเอเวอเรสต์มันจะมีคนสองคนที่ประสบความสำเร็จ ก็คือนายจ้าง หรือก็คือ เอ็ดมุนด์ ฮิลลารี (Edmund Hillary) นักปีนเขาชาวนิวซีแลนด์ ที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์คนแรก และคนที่ยืนเคียงข้างเขา ก็คือ เทนซิง นอร์เกย์ (Tenzing Norgay) เป็นชาวเผ่าเชอร์ปาที่พาเขาขึ้นไป เมื่อเทนซิงพาฮิลลารี่ขึ้นเอเวอร์เรสต์แล้ว สิ่งที่เขาคิดได้คือ เขาได้สร้างบริษัทที่พาคนขึ้นไปบนเอเวอร์เรสต์

“ผมรู้ทันทีเลยว่า เทนเซง คือโมเดลของผม หลังจากนั้นผมใช้โมเดลของ เทนซิง แทนที่จะขึ้นเอเวอร์เรส ผมขึ้นยอดเขาทั้งหมดที่สุดของโลกโฆษณาให้ได้ ขึ้นยอดเขาทั้งหมดของทุกทวีปให้ได้ และโจทย์ตอนนี้คือขึ้นยอดเขาที่สุดของแต่ละประเทศให้ได้”

หลังวิธีคิดนี้ได้ Grand Prix มาได้ถึง 36 Grand Prix และอีก 2,700 รางวัล ในช่วงเวลา 10 ปี และได้รับการจัดอันดับให้เป็น Illustrator อันดับ 1 ของโลก ตั้งแต่ปี 2011 เป็นเวลา 11 ปีซ้อน

 

ไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือการทำงาน ต้องทำเป็นทีม

ตอนอยู่ชั้น ป.6 ห้องผมจะเตะฟุตบอลกับทีมไหนก็แพ้ตลอด แล้วจะเห็นภาพของการที่เวลาลูกบอลไปตรงไหน ทั้ง 10 คนก็จะวิ่งไปรุมกันหมดเลย แต่ทีมฝั่งตรงข้ามที่เขาเล่นเป็นคือ เขาจะมีการส่งบอลไปหาผู้เล่นที่ยืนตามตำแหน่งแล้วก็สามารถยิงประตูเข้าได้

จนกระทั่งผมค้นพบว่า ไม่ว่าจะเป็นกีฬา หรือการทำงาน เราต้องทำเป็นทีม พนักงานอิลลูชั่น มี 26 คน มีคนทำงาน 10-22 ปี ดังนั้น นอกจากเราจะเข้าใจลักษณะเฉพาะของเราแล้ว ลักษณะเฉพาะอีกอย่างที่เราต้องมีก็คือ คนทำงานเป็นทีมมีอยู่ที่ไหน ถ้าเราสามารถรวบรวมคนเหล่านี้ได้ โอกาสที่เราจะชนะก็มีสูง

 

ก่อนจบ คุณสุรชัยทิ้งท้ายไว้ว่า …

“อย่าลืมแต่คิดที่จะใส่ความรู้อย่างเดียว แต่อย่าลืมหยิบก้อนหินออกจากหัวบ้าง และตักน้ำทีเป็นความรู้เก่าๆ ออกไปบ้าง”

  • 398
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!