“FaraTALK” จากเวทีทอล์กผู้ชมหลักพัน สู่ “Edutainment Show” ผู้ชมหลักหมื่น ชูโมเดลใหม่ Brand Sponsorship เมื่อแบรนด์ไม่ต้องแข่งกันขาย แต่เล่าเรื่องร่วมกัน

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

FaraTALK-FAROSE Studio

นับตั้งแต่ FAROSE Studio(ฟาโรส สตูดิโอ) ก่อตั้งโดยครีเอเตอร์นักเล่าเรื่องชื่อดัง “ฟาโรส-ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี” จัดงานทอล์กครั้งแรกในปี 2566 ในชื่อ FaraTALK งานทอล์กจัดแจง คุณแดงเชิญแขก ตอน ‘X’ and the cityได้รับการตอบรับจาก “ชาวช่อง” อย่างล้นหลาม นำมาสู่การจัดต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ในชื่อตอน Tell me ‘Y’ เมื่อปีผ่านมา

ล่าสุดปี 2568 FaraTALK งานทอล์กจัดแจง คุณแดงเชิญแขก มาในชื่อตอน “What’s in a name? ชื่อนั้นสำคัญไฉน” พาไขรหัสที่ซ่อนอยู่ใน “ชื่อ” ตามหาที่มาของสรรพสิ่ง ผ่านเรื่องราวและเรื่องเล่าเม้ามอยน่าขบคิด

ถึงวันนี้ FaraTALK เติบโตสู่การเป็น “Edutainment Show” ที่มีผู้ชมหลักหมื่นที่นั่ง พร้อมกับการเปิดพื้นที่ให้ทุกแบรนด์ร่วมสื่อสาร สะท้อนการเปลี่ยนผ่านในโลกที่ “Community” สำคัญกว่า “Competition

FaraTALK

 

จากเวทีทอล์กผู้ชมหลักพัน เติบโตสู่ “Edutainment Show” พร้อมเปิดแนวคิดใหม่ Brand Sponsorship  

เมื่อทุกวันนี้ผู้บริโภคไม่ได้มองแบรนด์เพียงแค่จาก “สินค้าที่ขาย” แต่ให้ความสำคัญกับ “สิ่งที่แบรนด์ยืดหยัด” ดังนั้นการตลาดจึงไม่ใช่แค่การทำสินค้าให้เป็นที่รู้จัก แต่คือการมีจุดยืนในบทสนทนาของผู้คน

เพื่อเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับแบรนด์อย่างลึกซึ้ง FaraTALK งานทอล์กจัดแจง คุณแดงเชิญแขก ตอน What’s in a name? ชื่อนั้นสำคัญไฉนโดย ฟาโรส – ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี ครีเอเตอร์นักเล่าเรื่องผู้เชื่อว่าทุกอย่างในโลกล้วนเชื่อมโยงกัน จึงกลายเป็นพื้นที่ที่แบรนด์ไม่ต้องพูดถึงตัวเอง แต่กลับถูกพูดถึงอย่างลึกซึ้ง ผ่านพลังของ Content-Driven Community

จากเวทีทอล์กขนาดเล็กที่มีผู้ชมหลักพันที่นั่ง สู่การเติบโตเป็น Edutainment Show ที่มีผู้ชมหลักหมื่นภายใน 3 ปี

FaraTALK ไม่เพียงสร้างเนื้อหาที่เข้าถึงใจผู้ชม แต่ยังกลายเป็นสนามทดลองแนวคิดใหม่ของ Brand Sponsorship ที่เปิดพื้นที่ให้แบรนด์อยู่ร่วมกันในบทสนทนาเดียวกันได้อย่างลงตัว

FaraTALK

 

บนเวทีที่พูดเรื่อง ชื่อกำลังสะท้อนคุณค่าของแบรนด์

สำหรับ FaraTALK ตอน What’s in a name? ชื่อนั้นสำคัญไฉน พาผู้ชมร่วมเดินทางผ่าน “รหัสลับของชื่อ” ที่ผูกโยงเข้ากับบริบทสังคม และการรับรู้ของผู้คนอย่างแนบแน่น ตั้งแต่ชื่อบ้านนามเมืองไปจนถึงชื่อบุคคล ชื่อแบรนด์ หรือแม้กระทั่งชื่อที่ไม่ใช่ภาษาไทย ทุกชื่อมีจุดเริ่มต้น บทบาท และเรื่องราวที่ทำให้เราจดจำ หรือเชื่อมโยงไปยังบริบทสังคมในแต่ละช่วงเวลา แม้ว่าแม้ว่างานนี้ไม่ได้ตั้งใจจะเป็นเวทีการตลาด แต่กลับกลายเป็นเวทีที่แบรนด์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแยบยล

“ชื่อ” หัวข้อที่ดูเบาแต่กลับซ่อนเรื่องราวอันลึกซึ้ง เพราะหากนำมาวิเคราะห์อย่างจริงจัง แต่ละชื่อกลับเชื่อมโยงกับเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจ ยิ่งเมื่อเล่าในมุมมองของ ฟาโรส พร้อมด้วยแขกรับเชิญทั้ง 6 คนที่เป็นตัวแทนจากหลากหลายวัฒนธรรมของโลก ยิ่งทำให้เห็นว่า “ชื่อ” มีผลตั้งแต่สะท้อนตัวตนของแต่ละคน จนไปถึงการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

ทำให้เรื่องเล่าบนเวที ไม่ใช่แค่เล่าเพื่อสนุก แต่อาจช่วยสะท้อนความเข้าใจและทำให้เห็นว่าทุกชื่อที่เราเรียกล้วนมีเบื้องหลังอันน่าสนใจ

FaraTALK

 

Community over Competition: เมื่อแบรนด์ตัดสินใจ “ร่วม” มากกว่า “แข่ง”

จุดที่น่าสนใจอีกส่วนของงานนี้ไม่ได้อยู่แค่ที่เรื่องเล่า แต่เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการเล่าที่เข้าใจความต้องการของผู้คนที่มีความเฉพาะและลุ่มลึกขึ้น สะท้อนไปยัง “คุณค่าของแบรนด์” ที่จะถูกเชื่อมโยงกับอารมณ์และคุณค่าในใจผู้ชม

ในอดีต “การตลาด” มักถูกนิยามว่าเป็นสนามแข่งขัน แต่ละแบรนด์ต้องเร่งสร้างจุดขายที่แตกต่าง งัดทุกกลยุทธ์ทางการสื่อสาร เพื่อแย่งความสนใจจากแบรนด์อื่นๆ และหากจะสนับสนุนกิจกรรมใด ก็ต้องระวังไม่ให้ไปทับซ้อนกับ “แบรนด์คู่แข่ง” ในตลาดเดียวกัน

แต่ในงาน FaraTALK ครั้งนี้ จะได้เห็นภาพที่ต่างออกไป เมื่อหลายแบรนด์ก้าวเข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อสนับสนุนความเป็น Community ที่ต้องการเสพคอนเทนต์เฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสองแบรนด์อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของไทย อย่าง AP Thailand และ SC Asset เลือกเดินเคียงข้างกันในฐานะ ผู้สนับสนุนร่วม (Co-Sponsors)

FaraTALK

ฟาโรส ผู้พาแบรนด์มาจับมือกันใน FaraTALK มองว่า “งาน FaraTALK ไม่ใช่แค่พื้นที่ของ ฟาโรส แขกรับเชิญ หรือ ชาวช่อง แต่เป็นพื้นที่ของทุกคน รวมถึงทุกแบรนด์ที่เป็นผู้สนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดงานนี้ขึ้น โดยไม่กลัวว่าการอยู่ร่วมกับแบรนด์ในตลาดเดียวกันจะเกิดการแย่งชิงความสนใจ

ตรงกันข้ามมันกลับเพิ่ม “คุณค่าของแบรนด์” ที่มั่นคงและแข็งแรง พอที่จะยืนหยัดอยู่ร่วมในบทสนทนาเดียวกันได้ อย่าง AP Thailand และ SC Asset ถึงแม้จะเป็นแบรนด์ในตลาดเดียวกัน แต่ก็เป็นผู้สนับสนุนหลักในเกือบทุกรายการของ FAROSE มาโดยตลอด พอมาถึงงาน FaraTALK ทั้งสองแบรนด์ก็เต็มใจเข้ามายืนในพื้นที่สนทนาเดียวกัน”

ปรากฏการณ์นี้จึงไม่ใช่เพียงการแบ่งเวที แต่คือการแบ่งปัน “คุณค่าที่แบรนด์อยากสร้าง” โดยไม่จำเป็นต้องมีบทบาทนำ หรือพูดถึงตัวเองเลยด้วยซ้ำ เพราะการร่วมมือกันกลายเป็นการส่งสารร่วมที่ทรงพลังยิ่งกว่า

FaraTALK

 

FaraTALK เวทีที่ไม่พูดถึงแบรนด์ แต่ทำให้แบรนด์ถูกพูดถึง

FaraTALK คือเวทีที่ไม่มีการเปิดตัวโปรเจกต์ ไม่มีโปรโมชั่น ไม่มีพรีเซนเตอร์ แต่กลับทำให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์โดยธรรมชาติ เพราะแบรนด์เลือก “เข้าไปอยู่ในความหมาย” ไม่ใช่แค่ “อยู่ในสายตา”

“แบรนด์ที่เลือกมาร่วมงานกับเรา จะเข้าใจว่าเรากำลังพยายามเล่าอะไรให้คนฟัง ตัวแบรนด์เองก็กำลังฟังเสียงชาวช่อง และเข้าใจคอมมูนิตี้ ที่ไม่ได้เกิดจากการตลาดแบบฮาร์ดเซลล์ แต่หล่อหลอมจากความชื่นชอบ ความเชื่อ และวิธีคิดที่แบ่งปันกัน จนเกิดเป็นความผูกพันของพวกเรากับแบรนด์ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการซื้อของ แต่คือ “ความร่วมมือในการส่งสาร” ให้เกิดความเข้าใจระหว่างแบรนด์กับผู้คน เพื่อให้แบรนด์อยู่ในใจอย่างมีความหมาย” ฟาโรส กล่าวถึงความเขื่อมโยงของ FaraTALK กับแบรนด์

FaraTALK

ฟาโรส ยังเสริมว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เนื้อหาของช่อง FAROSE และ FaraTALK เติบโตได้เต็มศักยภาพ คือการที่แบรนด์เข้าใจ “อินไซต์ของชาวช่อง” อย่างแท้จริง และเปิดพื้นที่ให้ครีเอเตอร์ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่

ผู้สนับสนุนหลักเช่น CHUBB และ L’Oréal คือพาร์ตเนอร์ที่ให้ความไว้วางใจกับ FAROSE มาโดยตลอด ไม่จำกัดกรอบหรือบีบเนื้อหาให้ต้องเกี่ยวกับสินค้า แม้บางครั้งสิ่งที่เรานำเสนอจะไม่ได้พูดถึงแบรนด์โดยตรง แต่ทางแบรนด์ก็ยังมั่นใจว่าเนื้อหาของเราเชื่อมโยงกับคนดู และสุดท้ายก็กลับมาเชื่อมถึงแบรนด์แบบธรรมชาติที่สุด

เวที FaraTALK จึงถือว่าเป็นพื้นที่ที่ผู้ฟังเปิดใจพร้อมรับสิ่งใหม่ ๆ เมื่อแบรนด์เข้าไปร่วมอยู่ในบริบทนี้อย่างแนบเนียน แบรนด์จะกลายเป็น “ผู้สนับสนุนความรู้สึกดี ๆ” ที่เกิดขึ้นในใจผู้คน ดังนั้น อนาคตของการสื่อสารแบรนด์ อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า “ขายอะไร” แต่อยู่ที่ว่า “เลือกจะเล่าอะไร” และ “เล่าร่วมกับใคร”

FaraTALK

 

เก็บตกบรรยากาศ FaraTALK 2025

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK

FaraTALK


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ