เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยนไปตามความเร็วของเทคโนโลยี จะมีอะไรที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนได้รวดเร็วเท่าเทคโนโลยีอีกแล้วล่ะ นั่นจึงทำให้หลายธุรกิจนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานหรือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนได้อย่างลงตัวและรวดเร็ว
ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาประยุกต์ใช้กันบ้างแล้ว ทั้งในระดับผู้บริโภค เช่น Smart Home, Smart Parking รวมถึงในระดับองค์กรและการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น Smart Logistics, Smart City, Smart Farming และ Smart Environment โดยทาง AIS เองก็มีการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วน ด้วยการพัฒนาเครือข่ายที่เรียกว่า NB-IoT เพื่อรอบรับการใช้เทคโนโลยี IoT ที่ในขณะนี้ครอบคลุมแล้ว 77 จังหวัดทั่วไทย และ eMTC (enhanced Machine-Type Communication) ที่สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT เพื่อนำคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่น Connected Car รวมถึงสามารถรับ/ส่งข้อความเสียงในอุปกรณ์ IoT ยุคใหม่ ๆ ได้อีกด้วย
และเรียกได้ว่า AIS หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เป็นค่ายแรกที่ขยายเครือข่าย NB-IoT ไปทั่วประเทศเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ และยังเป็นค่ายแรกที่มีการใช้งานจริงทั่วประเทศ โดยมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำไว้วางใจเลือกใช้บริการ โดยมีการนำเทคโนโลยี IoT มาพัฒนาเป็นโซลูชั่นส์ต่างๆ เพื่อใช้ในองค์กร ตลอดจนเสริมขีดความสามารถให้กับภาคธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม
สำหรับภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยี IoT มาใช้ อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)มีการใช้เทคโนโลยี IoT ในการตรวจสอบงานบำรุงรักษาท่อก๊าซธรรมชาติ, บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค นำเทคโนโลยี NB-IoT เพื่อสร้าง Smart City ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ นำร่องให้บริการแล้ว 15 โครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, บริษัท โครตรอน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ มีการใช้โซลูชั่นส์ Smart Cion Kiosk Machine เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง โดยเชื่อมต่อกับเครือข่าย AIS NB-IoT ช่วยแจ้งเตือนทันทีเมื่อเหรียญเต็ม จากจุดต่างๆ ทั่วประเทศ ใช้งานจริงแล้วใน 77 จังหวัด
httpv://youtu.be/N2H8KRpCk1k
httpv://youtu.be/lNWFHdTwXtI
ขณะที่ด้านภาครัฐและสถาบันการศึกษา มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเทคโนโลยี IoT เพื่อสร้างSmart Environment ในการตรวจวัดสภาพอากาศและบริหารจัดการน้ำ ใช้งานจริงแล้วที่เทศบาลนครหาดใหญ่ และจ.ภูเก็ต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการนำเทคโนโลยี IoT เพื่อสร้าง Smart Trash Bin แก้ไขปัญหาขยะล้นถัง และช่วยดูแลทัศนียภาพความสะอาดภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ตลอดจนการสร้างเครือข่ายพันธมิตร AIAP (AIS IoT Alliance Program) เพื่อรองรับการพัฒนา IoT ในประเทศ ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนใน IoT Ecosystem ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ระดับโลก กลุ่มเมคเกอร์ และสตาร์ทอัพกว่า 400 ราย ยืนยันความมุ่งมั่น นำเครือข่ายและบริการดิจิทัล IoT มายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยไปอีกขั้น
AIS ได้เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาเครือข่ายจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม อย่าง NB-IoT ซึ่งขณะนี้ได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และ eMTC – enhanced Machine-Type Communication ที่สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT เพื่อนำคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน
อาทิ eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่น Connected Car รวมถึงสามารถรับ/ส่ง ข้อความเสียงในอุปกรณ์ IoT ยุคใหม่ๆได้อีกด้วย ในขณะที่ NB-IoT จะเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์และสามารถสื่อสารได้ในระยะไกล โดยเครือข่าย eMTC จะเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ไตรมาส 2 และคาดว่าจะครอบคลุมทั่วประเทศได้ในไตรมาส 3 ปีนี้
ล่าสุด AIS ได้รับรางวัล 2018 Thailand IoT Solutions Provider of the Year ในงาน Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards 2018 โดยสิ่งที่ทำให้ AIS สามารถคว้ารางวัล 2018 Thailand IoT Solutions Provider of the Year มาได้เป็นผลมาจาก การนำ IoT Solution เข้ามาตอบโจทย์ในทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายในภาพรวม
ไม่เพียงเท่านี้ ยังสามารถคว้ารางวัล 2018 Thailand Cloud Services Innovative Company of the Year มาไว้ในมืออีกรางวัล โดยเป็นผลมาจากอัตราการเติบโตของการใช้งาน Cloud Service ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าผ่านโซลูชั่นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับรางวัล Frost & Sullivan ถือเป็นรางวัลที่ AIS ได้รับมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี แสดงให้เห็นถึง การพัฒนา ด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล