หลังจากที่ได้ยินว่าโครงการ “สานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว” จากไอเอส เปิดตัวหนังสั้น 3เรื่อง ตอนแรกคิดว่าคงจะเป็น หนังสั้นทั่วไปที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กร แต่หนังสั้นชุดนี้กลับมีความหมายมากกว่านั้น เอไอเอสได้ถ่ายทอดแวคิด “แรงบันดาลใจจากครอบครัว สร้างการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” แสดงให้เห็นพลังของแรงบันดาลใจจากครอบครัวผ่านเรื่องราวชีวิตจริงของเยาวชนในโครงการสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่ง 3 คนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากครอบครัว ทำให้เกิดการเรียนรู้ในแง่มุมต่างๆ มาขับเคลื่อนชีวิตจนประสบความสำเร็จในปัจจุบัน
โครงการสานรัก คนเก่งหัวใจแกร่งที่ได้ทำขึ้นเพื่อขยายผลเรื่องครอบครัวนี้มีมานานแล้ว นานจนสามารถส่งเสียให้น้องๆ สามารถเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยได้แล้วกว่า 100 คน และมีน้องๆ บางคน สามารถเรียนจนสอบชิงทุนและศึกษาจบในระดับด็อกเตอร์ หรือปริญญาเอกกันเลยทีเดียว ยอมรับว่ารู้สึกดีใจจริงๆ ที่มีโครงการดีๆ แบบนี้และปลื้มแทนเอไอเอสกับความสำเร็จที่ทางบริษัทและทีมงานได้ตั้งมั่น จัดทำ และสานต่อโครงการจนได้เห็นความสำเร็จของเด็กทั่วประเทศ ไม่เชื่อต้องคลิกชมสักเรื่อง แล้วลองบอกเราว่าคุณได้แรงบันดาลใจจากเรื่องไหนมากที่สุด
“ลองดู” หรือ “We can try”
httpv://youtu.be/5evijBBLU2Q
เรียนรู้จากการทดลอง ของจู้ น.ส.เนตรนภา แซ่หลี ที่มีแม่เป็นคนปลูกฝังวิธีการคิด การทดลองและลงมือทำ โดยไม่กลัวความล้มเหลว เริ่มต้นจากการทดลองปลูกถั่วงอกขาย ลองผิดลองถูก จนปัจจุบันน้องจู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์สมความตั้งใจ
“สับปะรด” หรือ “Pineapple”
httpv://youtu.be/UIHPIESyIXM
เรียนรู้จากจากการสังเกต ของนิล น.ส.อัจฉรา พูนสวัสดิ์ ที่แม่มีวิธีการสอนโดยให้น้องนิลเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักสังเกต ฝึกให้กล้าคิด กล้าทำ โดยมีแม่คอยดูและเป็นกำลังใจอยู่ห่างๆ ทำให้วันนี้นิลสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และได้เป็นคุณครูถ่ายทอดความรู้ให้เด็กๆต่อไป
“นางรำ” หรือ “Traditional Thai dance”
httpv://youtu.be/TssU_iQA0Bg
เรียนรู้จากการถ่ายทอดความรัก ของเล็ก น.ส.ระวีวรรณ เกลี้ยงทองคำ ที่ได้รับแรงบันดาลใจเรื่องการรำ ซึ่งถูกถ่ายทอดด้วยความรักจากแม่ที่ชื่นชอบและรักในงานนาฏศิลป์ไทยและส่งต่อให้เล็ก จนปัจจุบันประสบความสำเร็จในระดับปริญญาตรี และเป็นคุณครูสอนวิชานาฏศิลป์ตามต้องการ
เมื่อได้ชมหนังสั้นข้างต้นและมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส คุณวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ เพื่อทำความรู้จักกับ “โครงการสานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว”ให้มากขึ้น ทำให้เราได้รู้ว่าโครงการสานรักนั้นดำเนินโครงการมานานถึง 15 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2542 และเป็นโครงการที่เอไอเอสจัดทำขึ้นเพื่อต้องการมีส่วนช่วยกระตุ้นให้คนไทยให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว เพราะด้วยความเชื่อว่าครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมคน ดังนั้นถ้าครอบครัวแข็งแรง ประเทศไทยก็แข็งแรงด้วย
จุดเริ่มต้นจากความเชื่อมั่นว่า “ครอบครัว” เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่สังคมที่ดี
คุณวิไล พาเราย้อนอดีตกลับไป15 ปีเพื่อกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการสานรักว่ามาจากความต้องการคืนกำไรให้กับสังคม จนเกิดความคิดที่อยากจะทำโครงการสนับสนุนสถาบันครอบครัว “เมื่อย้อนกลับไป 15 ปีก่อน เราได้มองเห็นและพบว่าในสังคมไทยมีอัตราการเพิ่มของยาเสพติดและอาชญากรรมที่เกิดขึ้น นั้นเกิดขึ้นจากคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงเด็กวัยรุ่น เอไอเอสได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และเริ่มมองว่าถ้าบริษัทอยากจะเข้าไปแก้ไปปัญหาตรงนี้ เราต้องทำอย่างไรบ้าง
จากนั้นเราจึงเริ่มศึกษาถึงปัญหาและหาข้อมูลเพิ่มเติมจนพบว่ามีรายงานของกรมสุขภาพจิตที่อธิบายสาเหตุสำคัญของปัญหาเหล่านี้ว่ามาจากครอบครัว สภาพครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เด็กๆ ต้องอยู่กับพี่เลี้ยง อยู่กับเพื่อน หรืออยู่กับใครที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องตัวเอง จึงทำให้ความใกล้ชิดความผูกพันหายไป การปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลงทุกวัน ตรงนี้เองที่ทำให้เด็กสุขภาพไม่แข็งแรงทางด้านจิตใจ พอสุขภาพจิตใจไม่แข็งแรง โอกาสที่จะถูกชักจูงให้ไปติดยาเสพติดและไปก่ออาชญากรรมก็มีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราเห็นแล้วว่าต้นเหตุของปัญหาคือเรื่องนี้ เราจึงหยิบเรื่องประเด็นของครอบครัวมาเป็นแกนในการทำโครงการ‘สานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว’ให้เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมหลักของเอไอเอส
ภารกิจเพื่อสังคมของ “สานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว”
1. จุดประกายความคิดของคนในสังคม
ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่เอไอเอสจัดทำโครงการสานรัก สนับสนุนสถาบันครอบครัว นอกจากจะจัดกิจกรรมในหลายรูปแบบเพื่อเป็นสื่อกลางสร้างให้คนไทยทุกคนตระหนักในความสำคัญของครอบครัวแล้ว ในแต่ละปีเอไอเอสได้นำเสนอแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับครอบครัว เพื่อถ่ายทอดมุมมองที่เป็นประโยชน์ในการสร้างความรักและความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวมาตลอด โดยแนวคิดแต่ละปีจะสะท้อนภาพสังคมและต่อยอดจากแนวคิดเดิมให้มีพลังในการสื่อสารไปถึงครอบครัวมากยิ่งขึ้น คุณวิไลเล่าเสริมว่า “ปีนี้เราออกแนวคิดใหม่ “แรงบันดาลใจจากครอบครัว สร้างการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้พ่อแม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ครอบครัวถือเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดเช่นกันในการสร้างแรงบันดาลใจ และมีบทบาทในการกระตุ้นการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆ มาตั้งแต่แรกเกิด โดยมีพ่อแม่เป็นผู้เริ่มต้นสร้างการเรียนรู้ในหลากหลายวิธี ซึ่งพลังของการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ต่อไป”
2. ให้ความรู้กับสังคม
เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจแนวคิดที่เราต้องการสื่อสารถึงคนในสังคม เรายังสร้างองค์ความรู้ๆ อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสัมนาสานรักให้คุณพ่อคุณแม่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดแต่ละปีมาร่วมพูดคุย รวมถึงการจัดพิมพ์วารสารสานรัก สำหรับจัดส่งให้สมาชิกโครงการทุกคนและเผยแพร่ออนไลน์เพื่อให้ผู้ที่สนใจดาวน์โหลดไปอ่านฟรีด้วย
3. กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
เอไอเอสเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้ทุกคนในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันเพื่อสานสายใยแห่งความรัก ความผูกพันของครอบครัว ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นจึงมีการจัดกิจกรรมขึ้น คุณวิไลเล่าถึงกิจกรรมว่า “เรามีกิจกรรมการกุศลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีคือ เอไอเอส แฟมิลี่ วอล์ค แรลลี่ และเอไอเอส แฟมิลี่ แรลลี่ทั้งสองกิจกรรมนี้ เปิดให้ทุกครอบครัวมีโอกาสเข้าร่วมโดยไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าเอไอเอส ขอเพียงเข้ามาเป็นสมาชิกในโครงการสานรัก โดยเราจะนำรายได้ทั้งหมดไปทำบุญร่วมกันโดยบริจาคให้กับ มูลนิธิอานันทมหิดลและมูลนิธิสายใจไทย ซึ่งกิจกรรม 2 รายการนี้ ครอบครัวที่ชนะจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพฯ และได้ได้ร่วมเข้าเฝ้าเพื่อรับรางวัลจากพระหัตถ์ของท่านเลย และทั้งหมดนี้คือสามส่วนที่เราทำเกี่ยวกับสถาบันครอบครัวค่ะ”
จากประสบการณ์อันยาวนานของโครงการสานรัก ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวไทยมาโดยตลอด และสิ่งหนึ่งอยากจะฝากถึงทุกคนคืออยากให้ทุกๆ ครอบครัวให้ความสำคัญกับลูกหลาน เพราะต้นกำเนิดของการสร้างคนนั้นเริ่มต้นที่ครอบครัวเราจะสร้างคนไทยให้แข็งแรงได้ มันก็ต้องเริ่มต้นจากการสร้างครอบครัวไทยที่แข็งแรง โดยสร้างการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในครอบครัว เพราะพลังของการเรียนรู้จะสร้างอนาคตให้พวกเขาและก่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่างๆต่อไป” คุณวิไลกล่าวสรุป
ส่วน MarketingOops ขอจบด้วยคำว่า “แรงบันดาลใจจากครอบครัว สร้างการเรียนรู้ไม่รู้จบ”