กางกลยุทธ์ “บังก์เฮาส์” โดยแสนสิริ กับโมเดลบริหารโรงแรมให้เจ้าของกิจการ สร้างโอกาสใหม่หลังซบเซาช่วงโควิด

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซบเซามานานกว่า 2 ปีจากวิกฤตโควิด ซึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือธุรกิจโรงแรมและที่พัก ซึ่งทำให้หลายแห่งโดยเฉพาะกิจการเล็กๆ ในลักษณะแบบ Independent hotel ต้องปิดกิจการไปหลายที่ด้วยกัน และแม้จะพยายามปรับตัวพยุงกิจการด้วยการเปิดเป็นฮอสพิเทลก็ตามก็อาจจะยังไม่เพียงพอ

 

น่าจะเป็นข่าวดีของบรรดาเจ้าของกิจการโรงแรมหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะย่านเมืองรองทั้งหลายในการที่ “แสนสิริ” บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศจะขยายพอร์ตโฟลิโอกับแบรนด์โรงแรม Bunkhouse (บังก์เฮาส์) ใน 2 โมเดล ก็คือ 1) The Saint Collection ซึ่งเป็นโรงแรมระดับลักซ์ชัวรี และ 2) By Bunkhouse ซึ่งเป็นโรงแรมแบบบีสโปค ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ซึ่งทั้งสองโมเดลนี้จะถูกนำมา พัฒนาร่วมกับเจ้าของกิจการเพื่อทำให้ธุรกิจเติบโต ที่สำคัญคือยังมีการการันตีด้านผลกำไรเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของกิจการด้วย

 

“แสนสิริ” ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Standard International (สัดส่วน 62%) เผยสัญญาณธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากหลายปัจจัยบวก อาทิ มาตรการผ่อนคลายของการเดินทางเปิดรับนักท่องเที่ยวในแต่ละประเทศ ความเชื่อมั่นในธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากช่วงระบาดของโรคโควิด-19  ยอดผู้รับวัคซีนสูงขึ้น และยอดการได้วัคซีนกระตุ้นมากกว่า 1 เข็ม จึงเชื่อมั่นว่านับแต่นี้และอีก 3 ปีข้างหน้าธุรกิจการท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างก้าวกระโดอย่างแน่นอน

 

คุณโป้ง – บริพัตร หลุยเจริญ กรรมการผู้จัดการ Standard Asia กล่าวถึงทั้งแบรนด์ Bunkhouse ทั้งสองโมเดล ว่า ในการร่วมงานกับเจ้าของกิจการโรงแรงและที่พัก เราทำทั้งสองวิธี คือบางแห่งเราสนใจเองและเข้าไปดีลเอง หรือท่านเจ้าของกิจการมีความประสงค์อยากจะให้เราเป็นพาร์ทเนอร์ก็สามารถเข้ามาคุยเองได้เลย

 

“ถ้าโปรดักส์มันไฮเอนด์หน่อย ก็จะไปในเวย์ของ The Saint Collection Hotel แต่ถ้าโปรดักส์ไม่ไฮเอนด์เท่าก็จะไปในอีกเวย์ของ Bespoke hotel by Bunkhouse

 

สำหรับหลักเกณฑ์ที่มองว่าเข้าค่ายที่จะได้เป็นพาร์ทเนอร์กัน คุณโป้ง เผยว่า ในมุมของสินทรัพย์ (asset) สำหรับแบรนด์ The Saint Collection Hotel ไซส์ที่เรามองหาคือขนาดประมาณ  30  50  70 ห้อง บวกลบประมาณนี้ ซึ่งค่อนข้างจะยืดหยุ่ได้  เพราะว่าความไฮเอนด์ของเดอะเซนต์ฯ ไม่จำเป็นต้องใหญ่นัก ส่วน By Bunkhouse ต้องการไซส์ที่ใหญ่ขึ้นมาประมาณ 10  80  100 ประมาณนี้

การคัดเลือกโลเคชั่น 

ส่วนเรื่องโลเคชั่น คุณโป้ง ระบุว่า เน้นสถานที่ที่มีคาแร็คเตอร์ที่โดดเด่นของตัวเอง มี surrounding area ที่ไม่เงียบกริบ แต่ไม่ครึกโครม อาจจะมีกิจกรรมอยู่ประมาณหนึ่ง เช่น ถ้าเป็นกรุงเทพฯ ก็อาจจะเป็นย่านเยาวราชหรือติดริมแม่น้ำ จะมีเสน่ห์บางอย่าง ไม่จำเป็นต้องเป็นกลางเมืองอาจจะเป็นรีสอร์ทหรือบนเขาก็ได้ เรื่องของโลเคชั่นเราค่อนข้างไม่มีเกณฑ์ที่ตายตัว แต่อะไรที่เป็น Destination เราไปได้หมดเลย

Unique Selling Point อย่างหนึ่งของ Bunkhouse คือมันไม่มีอะไรตายตัวแน่นอน อย่างที่เห็นคือทุกอย่างต่างกันเยอะ เราคัสโทไมซ์ได้ทุกอย่าง  เพราะฉะนั้นเฟล็กซิบิลิตี้เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่เราทำได้”

นอกจากนี้ คุณโป้งยังระบุว่า สำหรับเมืองรองเราก็มองหาอยู่เช่นกัน ซึ่งคิดว่าน่าจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจฟื้นฟูการท่องเที่ยวในเมืองรองด้วย

การออกแบบและการดีไซน์ 

มุมของการดีไซน์เรื่องสถานที่ได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่ ตรงนี้เรามีทีมดีไซน์โปรระดับโลกมาช่วยดูแลให้อยู่แล้ว ซึ่งทั้ง คุณลิซ่า โบนิฟาซิโอ ประธานกรรมการ ฝ่ายบริหารจัดการ Bunkhouse และ คุณเทนาญ่า ฮิลลส์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายดีไซน์และเดเวลลอปเม้นต์ – Bunkhouse ได้ลงพื้นที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์อย่างเข้มข้นเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเธอได้รับแรงบันดาลใจมากมายจากงานฝีมือของไทยทั่วประเทศ ดังนั้น มั่นใจได้ว่าเราจะสามารถผสมผสาความเป็นไทยลงไปพร้อมกับทำให้ดูสากลมากขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นแมททีเรียลต่างๆ ที่ผสมลงไป อาทิ หวาย กระเบื้อง ลายผ้า ฯลน คือจะมีการใช้อะไรที่ดูเป็นงานคราฟท์ไทยสอดแทรกลงไป แต่ไม่ถึงขนาดว่าเป็นทรงไทยดู traditional ขนาดนั้น แต่รับรองว่าต้องสวยแน่นอน

 “สำหรับแสนสิริเราเป็นนักพัฒนาอสังหาฯ ชั้นนำอยู่แล้ว ดังนั้น เรื่องความเชี่ยวชาญในด้านการดีไซน์ไม่ต้องพูดถึงเราคือระดับโลก ไม่ว่าจะการหาข้าวของดีๆ หา sourcing ดีๆ เรามีความเชี่ยวชาญอย่างมาก เราคือ expertise ในเรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นจุดแข็งของเราที่ทำให้ที่ผ่ามาเจ้าของกิจการแฮปปี้ที่จะร่วมงานกัน เพราะว่ามันช่วยประหยัด cost ให้กับเขาได้ด้วย ซึ่งจุดนี้สำคัญมาก”

 

กลยุทธ์และการสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของกิจการ

นอกเหนือจากด้านดีไซน์ที่ทำให้ทั้งสองแบรนด์โดดเด่นแล้ว ในแง่ของความสำเร็จด้านธุรกิจ คุณโป้งยืนยันว่า เรามี 3 แกนหลักสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าของกิจการได้ว่า หากร่วมงานกับเราคุณจะได้ผลตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน

แกนแรก คือเรื่อง Financial return ซึ่งทุกๆ ปีเราจะมีการทำข้อตกลงในเรื่องบัดเจ็ทกับทางเจ้าของกิจการว่า จะใช้งบฯ ประมาณเท่าไหร่ และสิ่งที่เทิร์นกลับมา หรือ Revenue จะได้เท่าไหร่ ตรงนี้เรามีให้ ซึ่งจากผลงานที่ผ่านมาเราทำได้ถึงเป้าทุกครั้ง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าของกิจการแฮปปี้ที่จะทำกับเรา มากไปกว่านั้นหลายรายยังขอร่วมงานกับเราเพิ่ม อย่างต่ำต้องมี 2 พร็อพเพอร์ตี้ที่มาอยู่กับเรา เพราะจุดแข็งของเราตรงนี้ที่เราสตรองมากทำให้ติดใจ

แกนที่ 2 คือเรื่องของ การโอเปอร์เรชั่และการบริการที่ทำให้แขก (Guests) ประทับใจ ฟีดแบ็กที่ได้รับจากแขกต้องดี รีวิวที่ออกมาต้องดี โซเชียลมีเดียที่ออกไปต้องได้รับคำชื่นชม สิ่งนี้เรายืนยันว่าเราประสบความสำเร็จมาตลอด และ แกนที่ 3 เรื่องสุดท้ายคือ Media critic (คำวิจารณ์ของสื่อ/ มุมมองของสาธารณชน) ต้องเป็นบวก ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ของเราทั้ง 2 แบรนด์ได้รับคำชมและได้รับรางวัลการันตีมากมาย

มองเห็นโอกาสกับการลงทุนครั้งนี้

เมื่อถามถึงเหตุผลที่ The Standard โดยแสนสิริ เข้ามาเปิดตัว 2 แบรนด์นี้ในช่วงนี้มองเห็นโอกาสตรงนี้อย่างไรกับตลาดในเมืองไทย คุณโป้งตอบว่า แน่นอนคือเรามองเห็นโอกาสทางธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมาเราเห็นจุดอ่อนของการทำธุรกิจแบบ Independent Hotel คือโรงแรมแบบที่เจ้าของมาบริหารเองซึ่งไม่ใช่ Chain Hotels เพราะเมื่อวันที่ลูกค้าต่างชาติหายไป หรือบางคนเคยรับทัวร์จีนลงตลอด แต่พอมากันไม่ได้แล้ว โรงแรมก็เงียบทันที เขาก็ต้องไปหาลูกค้าใหม่ แต่จะหาจากไหนในเมื่อเขาไม่มีเครือข่ายต่างประเทศ แต่สำหรับเราแล้วเรามีเน็ตเวิร์คอยู่ทั่วโลก เราสามารถดึงแขกจากทั่วโลกให้คุณได้

“นี่คือตัวอย่างหลักเลยที่ว่าทำไมตรงนี้ถึงสำคัญมาก เพราะว่าเวลาที่มันมีวิกฤตปุ๊บมันจะโชว์จุดอ่อนทันที”

 

คู่แข่งทางธุรกิจ 

ถามต่อว่ามองอย่างไรกับธุรกิจในรูปแบบแชร์ริ่งแพล็ตฟรอ์มการเช่าที่พักถือว่าเป็นคู่แข่งของโรงแรมสไตล์บูธีคหรือไม่ คุณโป้งตอบว่า มันค่อนข้างมีจุดแตกต่างกัน เพราะลักษณะของเจ้าของกิจการที่ไปใช้บริการแพล็ตฟอร์ม ส่วนใหญ่เขาจะมีเอสเสทแค่ 1-2 ห้อง แต่สิ่งที่เรามองบิวดิ้งต้องมีห้องอย่างต่ำ 30 ห้องขึ้นไป รวมไปถึงถ้าจะว่าไปในแง่ของกฎหมายก็ยังมองว่าเมืองไทยก็ยังไม่ได้รับรองตรงจุดนี้มากนัก ดังนั้น เราก็ยังมองว่ามันต่างกันมาก

อย่างไรก็ตาม คนที่เรามองว่าเป็นคู่แข่งจริงๆ  คือพวก Independent Hotel Operator คนที่เป็นบริหารจัดการเอง แต่สำหรับเราแล้ว เรามีทั้งวาลู มีการเพิ่มเบเนฟิตต่างในการบริหารได้เยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีไซน์ เรื่องเซลล์ หรือเรื่องโอเปอร์เรชั่น ฯลฯ ซึ่งตรงจุดนี้เจ้าของกิจการขนาดเล็กบางรายไม่ได้ช่ำชองขนาดนั้น ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งขนาดนั้น เพราะเราเองก็ต้องพยายามดึงดูดเขามาเป็นพาร์ทเนอร์ด้วยเช่นกัน

โรงแรมภายใต้แบรนด์ THE SAINT COLLECTION

สำหรับคอนเซ็ปต์ของโรงแรม เน้นความหรูหราอย่างมีเอกลักษณ์: การประยุกต์ใช้ตึกเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หรือตึกใหม่ในย่านที่มีเอกลักษณ์น่าสนใจ รายล้อมไปด้วยสวนสีเขียวเพิ่มความรู้สึกเป็นส่วนตัวเมื่อเข้าพักใจกลางเมืองหรือเมืองที่มีเสน่ห์ไม่ว่าจะเป็นเมืองไหนก็ตาม

ด้าน ‘การออกแบบชั้นเลิศ’ นำเสนอดีไซน์ที่หรูหราแต่มีลูกเล่นและน่าตื่นตาตื่นใจกับรายละเอียดด้านดีไซน์ เช่นวอลเปเปอร์ งานคราฟต์ การใช้โทนสี หรือการผสมผสานด้านลักซัวรี่สไตล์ยุโรป

สร้างประสบการณ์ผ่อนคลายแบบลักซัวรี่ มาพร้อมบรรยากาศผ่อนคลายที่นักเดินทางท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินไปกับทุกรูปรสกลิ่นเสียงที่จับต้องได้ และความสะดวกสบายในการเข้าพักที่สะท้อนในทุกรายละเอียดด้านดีไซน์และการจัดวางอย่างดีโดยนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญ

ในส่วนของโลเกชั่นนั้น หัวใจคือการพักผ่อนไปกับเมืองที่มีเสน่ห์ชวนให้ท่องเที่ยว สถานที่ตั้งของโรงแรมจะอยู่ในเมืองที่โดดเด่นแต่มีจุดเด่นให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการ์ณพักผ่อนท่ามกลางความเงียบสงบห่างไกลจากความวุ่นวายของตัวเมือง การเฟ้นหาโลเกชั่นยังคำนึงราคาห้องพักที่น่าดึงดูดใจเมื่อเทียบกับโรมแรมอื่นในเมืองนั้นๆ

 

โรงแรมบีสโปค “BY BUNKHOUSE”

คือความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครสไตล์บีสโปค ทุกการสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์แตกต่างกัน และทุกโรงแรมถูกออกแบบขึ้นด้วยความหลงใหลในการดีไซน์เพื่อเน้นความพิเศษเฉพาะตัวของสถานที่ตั้งโรงแรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองนั้นๆ

เน้นสร้างขึ้นเพื่อคนท้องถิ่น ทั้งตัวโรงแรม รวมไปถึงห้องอาหารและบาร์ ถูกออกแบบขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของแขกในท้องถิ่นเป็นหลัก โรงแรมจึงมีความผูกพันใกล้ชิดกับแต่ละท้องที่ โดยมีการสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันธ์กับสถานที่ ดึงดูดแขกให้มาเข้าพักและพร้อมสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง

ความพิเศษที่ไม่เหมือนใครและมีที่เดียวในโลก ที่สำคัญมีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าของโรงแรม ที่มีความประสงค์เดียวกันที่ต้องการสร้างโรงแรมที่มีเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร

พื้นที่ส่วนกลางกับการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สร้างประสบการณ์ที่น่าหลงใหลให้กับโรงแรม เช่น  งานค็อกเทลในสวน งานอีเว้นต์เก๋ๆ อย่างงานมิวสิคเฟสติวัล หรือตลาดนัดชิวๆพร้อมเมนูอร่อยๆ หรือจะเป็นงานคราฟต์และงานอาร์ตจากคนในชุมชนนั้นๆ


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!