บันได 5 ขั้นสู่การใช้เงินอย่างชาญฉลาด

  • 3.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

5 วิธี การวางแผนการใช้เงินอย่างชาญฉลาด

คุณอยากมีชีวิตแบบไหน? ใช้เงินเกินตัวแถมตกเป็นเหยื่อในวงจรชักหน้าไม่ถึงหลัง หาได้เท่าไหร่ใช้หมดไม่เหลือ แถมยังหยิบยืมชาวบ้าน หรืออยากใช้ชีวิตแบบมั่งมีศรีสุข มีเงินใช้จ่ายแบบเหลือเก็บไปเป็นเงินออมและนำลงทุนได้ต่อยอดได้อีก

แน่อนว่า คงไม่มีใครเลือกเป็นแบบแรกเป็นแน่ แม้ว่าหลายคนอาจตกที่นั่งลำบาก เพราะขาดวินัยในการใช้เงินมาเนิ่นนาน แต่ชีวิตไม่สิ้นหวัง ถ้าลองปรับพฤติกรรมซะใหม่ และเปิดใจเรียนรู้ 5 วิธี การวางแผนการใช้เงินอย่างชาญฉลาด จะได้ไม่พลาดเป็นเหยื่ออีก!

  • บันไดขั้นแรก: รู้จักวางแผนการเงิน อันดับแรกต้องสำรวจตัวเองให้ถ้วนถี่ จะได้รู้ข้อจำกัดของตัวเอง กำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ และระบุระยะเวลาให้ชัด ๆ เช่น ต้องเก็บเงินให้ได้ xxx ภายใน 1 ปี หรือตั้งหลักมุ่งมั่นกันเงินออมไว้ก่อนอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ เดือน แล้วค่อยวางแผนกำหนดวงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น จากนั้นจึงนำเงินส่วนที่เหลือมาลงทุนด้วยวิธีต่าง ๆ และคะเนว่าจะได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินที่ต้องการ แต่ถ้าลองทำแล้ว ตัวเลขยังห่าง ให้ปรับแผนใหม่ เช่น ตัดค่าใช้จ่าย หรือลดเงินเป้าหมาย
  • บันไดขั้นที่ 2 : ออมก่อน-รวยก่อน คนรวยส่วนใหญ่จะแยกบัญชีเงินฝากเป็น 3 บัญชี จะได้จัดสรรเงินแต่ละก้อนให้เห็นชัดเจน ได้แก่ บัญชีใช้จ่ายเผื่อฉุกเฉิน เงินออม และเพื่อการลงทุน โดยมีเคล็ดลับการออมให้เลือก 2 แบบ คือ สำหรับคนที่มีวินัยในการออม ใช้วิธีออมแบบลบสิบ โดยหักเงิน 10% ของรายได้ทุกเดือนมาเป็นเงินออม ส่วนเหล่านักช้อป ต้องออมแบบเพิ่มสิบ หมายความว่า ทุกครั้งที่ซื้อของอะไรก็ตาม ให้เพิ่มเงินอีก 10% ของมูลค่าของชิ้นนั้นมาเป็นเงินออม
  • บันไดขั้นที่ 3: ให้เงินทำงานผ่านการลงทุน แต่ก่อนที่จะลงทุน ควรคำนวณเสียก่อนว่า ได้แบ่งเงินไว้สำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน และกันเงินไว้สำหรับสร้างหลักประกันเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำเงินที่เหลือมาลงทุนได้ ซึ่งประเภทของการลงทุนก็มีหลากหลาย เช่น หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ สลาก พันธบัตร ที่ต่างมีระดับความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละคนจะรับไหว
  • บันไดขั้นที่ 4: วางแผนประหยัดภาษี ปลายปีแบบนี้ต้องเร่งสรรหาสารพัดค่าลดหย่อน เช่น ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือบิดา-มารดา อายุ 60 ปีขึ้นไป เบี้ยประกันชีวิต เงินลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นต้น หรือถ้ารับจ๊อบควรวางแผนให้ดีว่า จะรับเงินเพื่อคำนวณเป็นเงินเดือน (ภงด.91) หรือรับเป็นงานเหมา ที่ต้องไปเสียภาษีเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจทั่วไป (ภงด.90) ลองคำนวณดูว่าเสียภาษีแบบใดจะประหยัดเงินมากกว่ากัน
  • บันไดขั้นที่ 5: ใช้เครดิตอย่างชาญฉลาด ทุกครั้งที่อยากซื้อของที่มีราคาสูง อย่างสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา โปรแกรมเพื่อความงาม ฯลฯ ลองมองหาโปรโมชั่นผ่อนชำระ 0% ที่บัตรเครดิตแต่ละธนาคารจัดโปรโมชั่นมาตอบสนองนักช้อปสมองใส แทนที่จะนำเงินสดทั้งหมดไปทุ่มจ่ายเป็นก้อนใหญ่ แต่สามารถผ่อนชำระกับบัตรเครดิตแบบสบายใจ สบายกระเป๋า อย่างโปรแกรม PayLite ของบัตรเครดิตซิตี้ และบัญชีซิตี้ เรดดี้เครดิตที่สามารถเลือกผ่อนชำระ 0% ได้นานสูงสุดถึง 36 เดือน เพียงเท่านี้ก็ได้ของถูกใจ แถมยังสามารถเก็บเงินสดไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก

ส่วนใครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้ และบัญชีซิตี้ เรดดี้เครดิต ต้องไม่พลาดแคมเปญ “ช้อป 10,000 คืน 1,000” ช้อปอะไรก็ได้ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วชำระสินค้าแบบแบ่งจ่ายรายเดือน Citi PayLite และนำเซลล์สลิปที่มีมูลค่า 10,000 บาทขึ้นไป มาแลกรับบัตรของขวัญเซ็นทรัล มูลค่า 1,000 บาท ได้ทันทีที่ บูธ Citi PayLite บริเวณ ลานอีเดน 2 เฉพาะวันเสาร์ที่ 2 ธ.ค.นี้ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เพียง 100 ท่านแรกเท่านั้น!! ว่าแล้วก็ลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนการใช้เงินให้เหมาะสมกับตัวเอง นอกจากจะมีเงินพอใช้แล้ว อนาคตเศรษฐีอาจรออยู่ไม่ไกลก็เป็นได้!


  • 3.1K
  •  
  •  
  •  
  •