เปิดธุรกิจร้านอาหารในเครือ CRG ปี 61 เพิ่มแบรนด์ไทย พร้อมลุยเดลิเวอรี่

  • 79
  •  
  •  
  •  
  •  

crg

ด้วยมูลค่าตลาด 400,000 ล้านบาท ทำให้ธุรกิจอาหารเป็นที่น่าจับตามอง และมีผู้เล่นหน้าใหม่-หน้าเดิมพร้อมลงสนามมากมาย ปีนี้ เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป หรือ CRG จึงประกาศกลยุทธ์ Change for Growth เพิ่มแบรนด์ในพอร์ต ตอกย้ำผู้นำธุรกิจฟู้ดเชนในไทย และพร้อมขยายสู่ต่างประเทศ

ล่าสุด CRG เผยผลประกอบการในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 10,987 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 กว่า 15% และปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 12,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11% และภายใน 5 ปี ตั้งเป้าไว้ที่ 22,000 ล้านบาท

ปัจจุบัน CRG มีแบรนด์ในเครือ 11 แบรนด์ รวม 902 สาขา ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น

796-1
• Mister Donut 338 สาขา ตั้งเป้าเพิ่ม 10%
• KFC 243 สาขา ตั้งเป้าเพิ่ม 10%
• Auntie Anne’s 151 สาขา ตั้งเป้าเพิ่ม 10%
• โอโตยะ 43 สาขา
• Pepper Lunch 32 สาขา
• อื่นๆ (Chabuton Ramen, Cold Stone Creamery, The Terrace, Yoshinoya, Tenya และ Katsuya) 95 สาขา

จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา หลายแบรนด์ที่ CRG ทำตลาดอยู่ถือว่าไปได้ดี มีอัตราการเติบโตที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นมิสเตอร์โดนัท มีอัตราเติบโต 17% ชาบูตง เติบโต 332% โอโตยะ เติบโต 267% เทนยะ เติบโต 368% คัตสึยะ เติบโต 259% โยชิโนยะ เติบโต 129%

795-1

เมื่อมีเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด แผนธุรกิจจึงต้องซัพพอร์ตเป้าหมายด้วย CRG ได้วางแผนไว้ 3 ส่วน เริ่มจากการเพิ่มแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ ในประเทศ เน้นร้านอาหารที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มาก เพื่อขยายฐานไปสู่ต่างประเทศ เดินเครื่องเจาะตลาด AEC โดยมีเวียดนามเป็นประเทศนำร่อง นำเสนออาหารไทย เพราะก่อนหน้ากลุ่มเซ็นทรัลได้เข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ห้างบิ๊กซี โรบินสัน จึงช่วยลดปัญหาเรื่องการหาโลเคชั่น และพร้อมบุกตลาดได้ทันที ในส่วนของประเทศฝั่งยุโรป CRG มีแผนเข้าไปร่วมทุนกับแบรนด์ใหญ่ ใช้โมเดลธุรกิจแบบ Asset Light

Change for Growth

001 ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) -700

สำหรับปี 2561 คุณณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า CRG ใช้กลยุทธ์หลัก Change for Growth ใน 3 คีย์หลัก

1. เพิ่มแบรนด์ใหม่ในประเทศ ซื้อแบรนด์ธุรกิจ แฟรนไชน์ และร่วมทุน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ได้ และมี CRG เป็นผู้สนับสนุนองค์ความรู้และสถานที่

2. ขยายธุรกิจในต่างประเทศต่อเนื่อง คล้ายๆ กับแผน 5 ปี CRG เตรียมรุกตลาดต่างประเทศทั้งกลุ่ม AEC, เอเชีย และยุโรป โดยเริ่มจากเวียดนาม เพราะเป็นประเทศที่มีประชากรเยอะ 90-100 ล้านคน

3. พัฒนาระบบ และ New DNA พัฒนา Central Kitchen เพื่อควบคุมต้นทุนและคุณภาพของอาหาร เปลี่ยน POS System ระบบคิดเงินหน้าร้าน และ Business Intelligent เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และสร้าง New DNA พนักงานยุค 4.0

ลุยตลาดเดลิเวอรี่

ต้องยอมรับว่าเวลานี้การทำตลาดแบบเดิมๆ อาจไม่ทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้อีกต่อไป นอกจากกลยุทธ์ 3 ข้อข้างต้นแล้ว CRG จึงมองเห็นโอกาสในธุรกิจเดลิเวอรี่ที่มีอัตราการเติบโต 12-15% ต่อปี โดยร่วมมือกับ Line Man, Food Panda, Uber Eats และ Grab Food เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค CRG ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์ม/เว็บไซต์ที่รวมรวมแบรนด์ต่างๆ ในเครือมาไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า คาดว่าจะเปิดตัวช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

787-1

ทั้งนี้ มูลค่าธุรกิจอาหารในบ้านเราอยู่ที่ 400,000 ล้านบาท โตเฉลี่ย 3-5% ในจำนวนนี้เป็นเซกเมนต์ฟู้ดเชนถึง 140,000 ล้านบาท CRG มีส่วนแบ่งในตลาดนี้ 8% หากถามว่าปีนี้ CRG มองธุรกิจไหนเป็นดาวเด่น คาเฟ่, Hotpot, QSR Chicken และอาหารญี่ปุ่น ถือเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง

และด้วยความที่มีแบรนด์อาหารญี่ปุ่นอยู่ในเครือเยอะ CRG จึงเปิดตัว “Food Heaven” ศูนย์รวมร้านอาหารญี่ปุ่น ได้แก่ ชาบูตง, Pepper Lunch, Yoshinoya และ Yoshinoya ไว้ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าเลือกทานได้ตามใจ สาขาแรกเปิดที่ เทสโก้ โลตัส บางใหญ่ บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้

790-1


  • 79
  •  
  •  
  •  
  •