ส่องเทรนด์ Home EV Charger พร้อม Checklist ก่อนเลือกซื้อ-ติดตั้งไว้ที่บ้านสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามือใหม่

  • 3.6K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ปัจจุบันคงไม่ต้องถามว่าเทรนด์ของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจะมาหรือไม่ เพราะแนวโน้มทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยเองบ่งชี้อย่างชัดเจนว่ากระแสรถขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ไฟฟ้า 100% หรือ Battery Electric Vehicle (BEV) รวมถึงรถยนต์ไฮบริดจ์แบบเสียบปลั๊ก หรือPlug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) นั้น “มาแน่” นั่นหมายถึงว่า ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะมีเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับเทรนด์ของการติดตั้ง EV Charger ที่ซื้อไปติดเองที่บ้านที่ตลาดกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อมๆกับความนิยมของรถ EV โดยในประเทศไทยมี Home EV Charger ให้เลือกจำนวนนับสิบแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์จากเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ จีน ซึ่งล่าสุดก็มีแบรนด์ของไทยเองที่บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ก็กระโดดเข้ามาในตลาดนี้แล้วผ่านแบรนด์ Ultra EV ด้วยเช่นกัน

 

 

เทรนด์ Home EV Charger ที่กำลังมาพร้อมความนิยมของรถยนต์ไฟฟ้า

ยังไงๆ รถยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้าก็ต้องมาแน่ๆ เพราะรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ครองตลาดโลกนับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 19 หรือเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนนั้นไม่ตอบโจทย์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอีกต่อไปโดยเฉพาะการแก้ปัญหา Climate Change ที่เป็น Mega Trend ในระดับโลก สำหรับในประเทศไทยนั้นศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี ประเมินว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (PHEV และ BEV) ของไทยในปี 2022 นั้นจะแตะ 63,600 คัน ในจำนวนนี้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ถึง 10,000 คัน หรือขยายตัวมากกว่า 500% จากปี 2021

ความนิยมของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เทรนด์การติดตั้ง Home EV Charger ก็เติบโตตามไปด้วยแม้ในไทยจะไม่มีตัวเลขของตลาด Home EV Charger ที่ชัดเจนแต่เทรนด์ในต่างประเทศเติบโตขึ้นอย่างอย่างก้าวกระโดด โดย Reuters รายงานว่าในยุโรปมีบริษัท Startup ที่จำหน่ายอุปกรณ์ Home EV Charger เพิ่มขึ้นทะลุ 100 บริษัทแล้ว ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาก็มีมากถึง 50 บริษัทโดยในบรรดาบริษัทเหล่านี้ก็ขายอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะด้วย ขณะที่ Juniper Research ประมาณการณ์ว่าจะมี Home EV Charger ถูกติดตั้งทั่วโลกราว 35 ล้านเครื่องภายในปี 2026 โดยหากนับในยุโรปเพียงอย่างเดียวจะมีเพิ่มมากถึง 56 ล้านเครื่องภายในปี 2035 ซึ่งแน่นอนว่าแนวโน้มดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน

 

 

สถานีชาร์จสาธารณะก็ขยายตัวต่อเนื่อง

สิ่งหนึ่งที่ส่งผลให้คนหันมาสนในรถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นก็คือการขยายตัวของสถานีชาร์จสาธารณะ ซึ่งล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้วางเป้าหมายไว้ว่า ประเทศไทยจะต้องมีสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มอีก 567 แห่ง เป็น 1,304 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศในปี 2030 ในจำนวนนั้นรวมไปถึงสถานีชาร์จของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ (OR) ที่ออกมาเปิดเผยว่า โออาร์ตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ภายใต้ EV Station PluZ ให้ได้ 450 แห่งจากปัจจุบัน 107 แห่งภายในปีนี้ และขยายเพิ่มให้ได้มากถึง 7,000 แห่งภายในปี 2573 โดยในปัจจุบัน EV Station PluZ ครอบคลุมการเดินทางทั่วประเทศไทย โดยอยู่บนเส้นทางหลักที่ใช้ในการเดินทางระหว่างภูมิภาค แหล่งท่องเที่ยว ชุมชน และพื้นที่อุตสาหกรรมด้วยระยะห่าง 50-100 กิโลเมตร รวมไปถึงเครือข่ายพื้นที่เชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งบริการสถานีชาร์จของโออาร์ นอกจากจะสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น EV Station PluZ แล้ว ยังมีบริการ FIT Auto ที่สามารถให้บริการซ่อมรถ EV ตามสถานีบริการน้ำมัน ครอบคลุมเส้นทางทั่วประเทศด้วย ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของ OR คือการสร้าง Seamless Mobility โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ

 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้ง EV Charger

สำหรับการติดตั้ง EV Charger นั้นแม้ว่าบางยี่ห้อทางค่ายรถจะแถมที่ชาร์จมาให้เลยอย่างแบรนด์ MG และ GWM แต่นั่นก็หมายความว่าหากอยากติดเพิ่มที่บ้านอีกหลัง ที่คอนโด หรือออฟฟิส ด้วยก็ต้องซื้อเพิ่ม ขณะที่บางค่ายก็ไม่ได้แถมมาให้โดยเฉพาะรถไฟฟ้าแบรนด์หรูที่มองว่าลูกค้าสามารถเลือกซื้อ EV Charger ให้ตรงความต้องการได้เอง ดังนั้นคนที่กำลังคิดจะซื้อรถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า หรือคนที่เพิ่งซื้อรถไฟฟ้าจึงมีสิ่งที่ควรรู้เอาไว้เพื่อเป็น Checklist ก่อนจะติดตั้ง EV Charger สำหรับชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

1.ตำแหน่งของพอร์ตชาร์จ – รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละแบรนด์จะมีตำแหน่งของพอร์ตเสียบชาร์จที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านซ้าย ด้านขวา หรือด้านหน้า ดังนั้นตำแหน่งของพอร์ตชาร์จจึงมีผลกับการพิจารณาจุดตั้งตั้ง EV Charger เช่นเดียวกันกับนิสัยในการจอดรถยนต์ในช่องจอดว่าชอบที่จะจอดแบบหันหน้าเข้าหรือหันหลังเข้าที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงระยะระหว่างพอร์ตชาร์จกับ EV Charger ที่ไม่ควรเกิน 5 เมตรเนื่องจากสายชาร์จของ EV Charger โดยทั่วไปจะยาว 5-7 เมตรเท่านั้น ส่วนตำแหน่งของ EV Charger ก็ไม่ควรไกลจากตู้เมนไฟฟ้าของบ้านมากนักเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟ

2.ชนิดของพอร์ตชาร์จ – เนื่องจากแต่ละแบรนด์จะมีพอร์ตชาร์จที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับรถยนต์น้ำมันที่ผู้ขับขี่ต้องรู้ว่าต้องเติมน้ำมันแบบไหน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีพอร์ตชาร์จให้มา 2 แบบคือ Type 2 สำหรับการชาร์จไฟกระแสสลับหรือ AC สำหรับชาร์จตามบ้านที่เป็นมาตรฐานของประเทศไทย และอีกแบบคือ CCS Combo 2 หรือ CCS2 ที่จะใช้ชาร์จไฟกระแสตรงสำหรับการชาร์จเร็วในตู้สาธารณะที่มีกำลังไฟ 50kW ขึ้นไป ส่วนพอร์ตชาร์จอีกแบบที่พบไม่บ่อยนักคือ CHAdeMO ที่พบในรถไฟฟ้าจากนิสสัน อย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่แล้วรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายในประเทศไทยจะมีหัวชาร์จแบบ Type 2 มาให้ทุกรุ่นอยู่แล้ว

3.ตรวจสอบกำลังไฟที่บ้าน – ก่อนจะติดตั้ง EV Charger จำเป็นจะต้องสังเกตที่มิเตอร์ไฟที่บ้านซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A ซึ่งเป็นกำลังไฟที่ไม่เพียงพอกับติดตั้ง EV Charger เนื่องจากอาจเกิดปัญหาไฟตกได้ ในกรณีที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟหลายชิ้นพร้อมกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า  ดังนั้นมาตรฐานขนาดมิเตอร์ที่ทางการไฟฟ้าฯแนะนำ คือ Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A ถึงจะเพียงพอ โดยมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนมิเตอร์อยู่ที่ 700 บาท สำหรับค่าไฟนั้นจะคิดตามค่าไฟต่อหน่วยตามปกติโดยค่าเฉลี่ยการชาร์จรถ EV ระยะเวลา 8 ชั่วโมงจะอยู่ที่ราว 250 บาทตามราคาค่าไฟในปัจจุบัน สำหรับรถที่ทำระยะได้ 350 กิโลเมตรต่อชาร์จ แต่หากจะประหยัดมากที่สุดก็ต้องติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าแบบ TOU (Time Of Use) จะทำให้ได้ค่าไฟที่ถูกลงมามากช่วง Off-Peak  โดยหากสนใจติดตั้งสามารถติดต่อกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงได้เลย

4.กำลังไฟ On Board Charger ของรถ – สิ่งสำคัญอีกสิ่งที่ต้องรู้ก็คือการชาร์จแบบ AC ที่บ้านนั้นจะเป็นการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับมาเป็นกระแสตรงผ่าน On Board Charger ของตัวรถ ดังนั้นก็ควรที่จะต้องดูที่รถแต่ละรุ่นว่ามีขนาดเท่าใดเพื่อที่จะเลือกกำลังไฟให้เหมาะสมกับ EV Charger โดยทั่วไป On Board Charger จะมีขนาดตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ดังนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อ EV Charger ที่มีจ่ายกำลังไฟเกินกว่าที่ตัว On Board Charger จะรับได้ยกเว้นว่าจะติดตั้งเพื่อรองรับการเปลี่ยนไปใช้รถที่รับกำลังไฟสูงในอนาคต

5.เลือกซื้อ EV Charger – หลังจากพิจารณากำลังไฟของ On Board Charger ที่ตัวรถแล้วก็ต้องเลือกซื้อ EV Charger ที่มีกำลังไฟสอดคล้องกัน โดยตามมาตรฐานแล้วในตลาดจะมีให้เลือกซื้อ 4ขนาดคือ 3.7kW, 7.4kW, 11kW และ 22kW มีราคาหลากหลายตั้งแต่ 15,000 บาทไปถึงหลักแสนกว่าบาทก็มีซึ่งกำลังไฟของ EV Charger ก็จะส่งผลในเรื่องของความเร็วในการชาร์จยิ่งกำลังไฟมากก็จะยิ่งชาร์จได้เร็วมากขึ้นนั่นเอง

6.Ultra EV แบรนด์ EV Charger ที่ไว้ใจได้ – หนึ่งในแบรนด์ที่ไว้ใจได้สำหรับคนไทยที่กำลังเลือกซื้อ EV Charger สำหรับติดเอาไว้ที่บ้านก็คือ Ultra EV แบรนด์ EV Charger ของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ที่มีธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตของคนยุคใหม่นอกจากจะขยายสถานี EV Station PluZ ทั่วประเทศไทยแล้ว ยังขยายตลาดไปถึงเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV Charger ด้วยเพื่อสอดรับกับแนวโน้มการเติบโตของปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

 

 

สำหรับแบรนด์ Ultra EV นั้นพัฒนา EV Charger มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมีการจัดจำหน่าย EV Charger รุ่นแรกอย่าง Gen-I ขนาด 3.7kW ไปเมื่อปี 2019 ก่อนที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยล่าสุดเตรียมปล่อย Gen-II ขนาด 7kW ที่สามารถให้กำลังไฟได้สูงขึ้นทำให้ชาร์จได้เร็วขึ้น และรองรับกับโหลดกำลังไฟของรถไฟฟ้าส่วนใหญ่ในยุคนี้ออกสู่ตลาด โดย Ultra EV นั้นสามารถใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภท PHEV และ BEV ใช้เวลาชาร์จไฟประมาณ 2 ชม. และ 4-7 ชม.ตามลำดับขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่รถยนไฟฟ้า หัวชาร์จเป็นแบบ AC Type 2 โดยราคาจำหน่ายในปัจจุบันอยู่ที่ 49,900 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว พร้อมกับการรับประกันเครื่องชาร์จระยะเวลา 1 ปีด้วย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://evstationpluz.pttor.com/news/62b04f994b9401dbd0ee101a

 

 

ทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่ต้องรู้เอาไว้เบื้องต้นก่อนที่จะติดตั้ง EV Charger สำหรับรถ PHEV หรือ EV ที่บ้านทั้งกรณีที่จะติดตั้งเป็นเครื่องแรกรวมถึงการติดตั้งในจุดที่ 2 โดยแบรนด์ Ultra EV ของโออาร์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีตลาดขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตรถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจะออกมาวิ่งยึดครองท้องถนนแทนที่รถยนต์สันดาปต่อไปอย่างแน่นอน

 


  • 3.6K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE