จากตู้ ATM เครื่องแรกถึงวันที่เราคุยกับหุ่นยนต์เหมือนเพื่อนสนิทอีกคน

  • 4.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

เรากดเงินจากตู้ ATM ครั้งแรกเมื่อไร? ….

จริงๆก็แทบจะไม่มีใครจำได้ หรือไม่ได้จำเลยด้วยซ้ำไป เพราะความสะดวกสบายในการใช้บริการทางการเงินโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงธนาคารได้กลายเป็นความเคยชินส่วนหนึ่งของผู้คนไปแล้วยิ่งมาระยะหลังแค่มีสมาร์ทโฟนติดตัว สารพัดธุรกรรมไม่ว่าจะโอน ถอน จ่ายหนี้ หรืออยากจะช้อปปิ้งข้ามโลกก็ทำได้ง่ายๆด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว และอนาคตอันใกล้ถึงใกล้มากนี้ เราจะสามารถใช้จ่ายด้วยเงินในโลกเสมือนที่มาจากโครงสร้างของสถาบันการเงินรูปแบบใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีล้ำยุคอย่าง Blockchain ซึ่งเป็นคอนเซปท์ใหม่ที่ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง น่าเชื่อถือ และมั่นใจไ้ด้ว่าธุรกรรมออนไลน์จะไม่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมได้ง่ายๆ

นวัตกรรมล้ำยุคเหล่านี้มาจากไหน

คำตอบส่วนหนึ่งและเป็นส่วนสำคัญเลยนั้นต้องยกเครดิตให้กับ “IBM” บริษัทในกลุ่มไอทีหนึ่งในไม่กี่รายของโลกที่อยู่มาเกินศตวรรษ และเป็นผู้คิดค้นริเริ่มเทคโนโลยีครั้งแรกของโลกมาแล้วหลายรายการ รวมถึงคอมพิวเตอร์ที่คนยุคนี้คุ้นเคย

IBM_6

และยังเป็นบริษัทแรกที่นำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เครื่อง Punched Card ที่ใช้ในยุคที่ไทยเพิ่งเริ่มทำสำรวจสำมะโนการเกษตร และประชากรเป็นครั้งแรก, เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก, ตู้ ATM เครื่องแรก และล่าสุดไม่นานมานี้เอง IBM ยังเป็นผู้ผลักดันเทคโนโลยี Blockchain เข้าสู่ตลาดไทยเป็นรายแรกๆอีกเช่นเดียวกัน

IBM_5

IBM_10

ซึ่งนอกจากการพลิกโฉมแวดวงบริการทางการเงินแล้ว เทคโนโลยี Blockchain ยังมีคุณประโยชน์สำหรับงานด้านอื่นๆอีก นั่นคือ “การเป็นแหล่งข้อมูลความจริงหนึ่งเดียวของการทำธุรกรรมของหลายๆ ส่วนงานในเครือข่ายธุรกิจ” ที่ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบได้จึงเป็นข้อมูลที่ธุรกิจสามารถไว้ใจได้และตรวจสอบย้อนหลังได้เสมอ

นอกจากเรื่องเงินๆ ทองๆ แล้ว ถ้าลองตามไปดูที่มาที่ไปของสิ่งรอบๆตัวจะพบว่า เทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้ เบื้องหลังล้วนมีชื่อของ Big Blue (ชื่อเล่นของ IBM) เข้าไปเกี่ยวข้องชนิดที่เรียกได้ว่า IBM is all around มาตั้งแต่ยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นของราคาแพงมากก

“I don’t think anybody’s just B2B or B2C anymore. You are B2I – business to individual.” Ginni Rometty, IBM CEO

รีวิว 65 ปี IBM ประเทศไทย

IBM_12

นั่งนับนิ้วดูแล้วปีนี้ IBM ในไทยจะอายุ 65 ปีเข้าไปแล้ว แม้ว่า 65 ซึ่งถ้าเทียบกับอายุขัยของคนแล้วก็น่าจะเข้าสู่วัยพักผ่อนหลังจากทำงานมาตลอดชีวิต แต่สำหรับ 65 ปีของ IBM ในประเทศไทยนั้นน่าจะเป็นเพียงแค่จุดสตาร์ทที่เตรียมจะปล่อยของใหม่ๆให้คนไทยได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ไปพร้อมๆกับตลาดโลก

ซึ่งเราขอใช้โอกาสนี้ลองมารีวิวกันหน่อยว่า IBM เข้ามาเปลี่ยนแปลงบ้านเราไปอย่างไรกันบ้าง

เริ่มตั้งแต่ การนำคอมพิวเตอร์ Mainframe และต้นตำหรับคอมพิวเตอร์พกพาเข้าสู่ตลาดไทย ที่กลายมาเป็นภาพจำของ IBM สำหรับคนจำนวนมาก เมื่อถามถึงแบรนด์คอมพิวเตอร์ Mainframe ซึ่งในประเทศไทย IBM Mainframe ถือเป็นระบบสำคัญที่อยู่เบื้องหลังระบบ Core banking ของธนาคารเกือบทุกแห่งในประเทศรองรับการฝาก ถอน โอน จ่ายเงิน ฯลฯ ของประชาชนในปัจจุบันแม้ว่าจะก้าวสู่ยุคดิจิทัล 4.0 แล้วก็ตาม

เปิดศักราชการใช้คอมพิวเตอร์

แต่เรื่องที่น่ารู้มากกว่ายี่ห้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ จริงๆแล้วคอมพิวเตอร์มันมาถึงเมืองไทยตอนไหน ?!

IBM_2

คำตอบคือ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 IBM และ US Operations Mission บริจาคคอมพิวเตอร์เครื่องแรกให้กับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดศักราชคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยอย่างแท้จริง

และหลังจากนั้นก็เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในด้านต่างๆ ซึ่งนอกจากการริเริ่มใช้กับการสำรวจสำมะโนการเกษตร และประชากรเป็นครั้งแรกของไทยดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของ IBM ยังเข้าไปมีบทบาทในแทบทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมทางการเงิน ซึ่งนอกจากตู้ ATM เครื่องแรกยี่ห้อ IBM แล้ว IBM ยังเป็นพันธมิตรริเริ่มการพัฒนาระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับกรมสรรพากร และยังร่วมพัฒนาพอร์ทัลออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ E-Government ของประเทศไทยเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

ในอุตสาหกรรมการสื่อสาร IBM ยังเป็นพันธมิตรรายแรกของ CAT Telecom เพื่อให้บริการด้านคลาวด์ (Infrastructure as a Service) และขยายขีดความสามารถในการให้บริการ Smarter City Platform เพื่อช่วยเมืองมากมายในประเทศไทยยกระดับการริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ขานรับนโยบาย Thailand 4.0 ที่กำลังเป็นหนึ่งใน Hot Issue ของประเทศเราช่วงนี้

IBM_7

และ IBM ยังได้นำเทคโนโลยีที่ชื่อว่า PAIRS (Physical Analytics Integrated Data and Repository Services) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านระบบคลาวด์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร และใช้สำหรับการวางแผนพัฒนาพืชเศรษฐกิจของไทย

ระบบหลังบ้าน 7-Eleven ก็ด้วย

IBM_1

บทบาทของ IBM ในประเทศไทยยังแผ่ขยายไปถึงเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เมื่อ “รีเทลลิงค์” บริษัทในกลุ่มซีพีออลล์ได้นำเทคโนโลยีบริหารจัดการทรัพย์สินแบบครบวงจร IBM Maximo Enterprise Asset Management เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการธุรกิจของลูกค้า ซึ่งรวมถึง “เซเว่น อีเลฟเว่น” ที่มีเครือข่ายร้านค้าจำนวนมากให้สามารถบริหาร วางแผนดูแล ตรวจสอบ และซ่อมแซมบำรุงรักษาอุปกรณ์หลากหลายรายการภายในร้านให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์เป็นครั้งแรก

โดยระบบบริหารจัดการทรัพย์สินของ IBM จะคอยมอนิเตอร์ และตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในร้าน และยังช่วยป้องกันการเกิดปัญหากับอุปกรณ์ต่างๆในร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่น่าจะช่วยตอบคำถามคาใจหลายๆคนว่า ทำไมร้านสะดวกซื้อถึงให้บริการได้แบบ 24 ชั่วโมง ไม่ต้องปิดบริการเพื่อซ่อมระบบ

ความใกล้ชิดของ IBM กับชีวิตผู้คนยังใกล้มากกว่าแค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อ หรือกดเงินจากตู้เท่านั้น เพราะ IBM เป็นหนึ่งในผู้ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีสแกนบาร์โค้ดที่ช่วยให้การช้อปสินค้าจากร้านค้าสะดวกสบายขึ้น ซึ่งในประเทศไทย สินค้าเกือบทุกชิ้นที่ซื้อในร้านค้าจะมีบาร์โค้ดติดอยู่

และทุกครั้งที่ได้ยินเสียงบี๊บขณะคิดเงินค่าสินค้า นั่นแปลว่าเรากำลังสัมผัสถึงเสี้ยวหนึ่งของเทคโนโลยี IBM อยู่ด้วยเช่นกัน

เพื่อนใหม่ชื่อ ‘Watson’

IBM_11

ส่วนเทคโนโลยี Flagship ของ IBM ในไทยปีนี้ หนึ่งในนั้นคือ Watson ที่อาศัยการทำงานของระบบ Cognitive Computing ที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีระบบนึกคิดคล้ายสมองคน และการโต้ตอบคำถามที่ซับซ้อนที่ถูกตั้งขึ้นในภาษาธรรมชาติได้และได้ถูกนำไปใช้เชิงพาณิชย์ในด้านต่างๆมากขึ้น โดยการนำมาประยุกต์กับหุ่นยนต์ซึ่ง Watson เคยมีประวัติครองแชมป์ในรายการเกมตอบปัญหาที่มีคนร่วมแข่งขันด้วยมาแล้ว ตลอดจนถึงการนำมาใช้เป็นหุ่นยนต์ต้อนรับตามพิพิธภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

รวมถึงในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดย “บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์” ร่วมกับ ConvoLab นำเทคโนโลยี IBM Watson มาประยุกต์เป็น AI chatbotพื่อให้บริการลูกค้าด้านนักลงทุนสัมพันธ์บนเว็บไซต์และ Facebook ของบริษัท

ทำหน้าที่เป็นพนักงานด่านหน้าคอยตอบคำถามและให้บริการลูกค้า ซึ่งผลลัพธ์คือ ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น และยังช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าได้มากขึ้น

นอกจากนี้ระดับความคุ้นเคยของ IBM Watson ในตลาดไทยยังเริ่มขยับเข้าสู่วงการแพทย์ โดยใช้เทคโนโลยี Watson เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รวมไปจนถึง ปตท. ที่นำ IBM Watson IoT มาใช้เป็นรายแรกของไทย นำแมชชีนเลิร์นนิ่งมาช่วยคาดการณ์และแจ้งเตือนสภาพเครื่องจักรของโรงแยกก๊าซล่วงหน้า ช่วยให้ ปตท. สามารถลดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลที่เกิดจากการรีเซ็ทการทำงานของชุดอุปกรณ์ Gas Turbine หลังจากเกิดเหตุหยุดทำงาน

ควอมตัมกำลังมา

แต่ที่น่าสนใจกว่าเรื่องราวที่ผ่านมา IBM ยังไม่หยุดพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งยังมีนวัตกรรมอีกหลายรายการกำลังจะพลิกโฉมใหม่ให้กับอุตสาหกรรม โดยหนึ่งในข่าวสารจากห้องทดลองของ IBM คือ การพัฒนาคอมพิวเตอร์ในระดับควอนตัมที่จะถือเป็นวิวัฒนาการสำคัญของคอมพิวเตอร์ในอีกยุคหนึ่ง โดยใช้คุณสมบัติของฟิสิกส์ควอนตัมเข้ามาใช้ในการประมวลผล

ซึ่งผลปลายทางที่จะเข้าใจได้ง่ายๆก็คือ โลกเราจะได้คอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลคำสั่งที่ซับซ้อนมากๆได้ ซึ่ง IBM เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการพัฒนาและวิจัยศาสตร์ด้านนี้ และมีพัฒนาการให้เห็นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน และแน่นอนว่า เทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จและใช้การได้ดีในตลาดโลกจะได้รับการนำมาเผยแพร่และประยุกต์ใช้ในประเทศ เพื่อสนับสนุนการก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างแน่นอน


  • 4.1K
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE