[บทความนี้เป็น Advertorial]
เชื่อว่าในช่วง 2 ปีที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับทุกธุรกิจ ยิ่งธุรกิจ SME ที่ทุนรอนมีน้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ๆ ต้องเผชิญกับสภาวะสภาพคล่องฝืดเคือง เงินทุนแต่ละวันค่อยๆ ร่อยหรอไปทุกที หนทางหนึ่งจะช่วยยืดอายุหรือต่อลมหายใจให้กับธุรกิจได้ก็คือการยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ
แต่ปัญหาสำคัญของธุรกิจ SME ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนเพื่อนำมาจัดการกับปัญหาของกิจการที่เกิดขึ้นเพื่อให้ฟันฝ่าวิกฤตโควิดนี้ไปให้ได้ ก็คือกังวลว่าจะโดนปฏิเสธจากแบงก์หรือสถาบันการเงิน หรือกลัวเรื่องความยุ่งยากซับซ้อน จึงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการกู้เงิน อาทิ จำเป็นต้องหาคนค้ำประกันหรือไม่ หรือบางธุรกิจสะดวกที่จะกู้แบบไม่มีหลักประกันมากกว่า ทั้งความไม่เข้าใจและกังวลกับความยุ่งยากต่างๆ นานา จนบางครั้งทำให้ตัดสินใจกู้เงินนอกระบบแทนซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากแทน แต่อันที่จริงแล้วหากธุรกิจเตรียมตัวให้พร้อมรับมือให้ดีก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย ดังนั้น เจ้าของธุรกิจ SME ควรจะต้องรู้อะไรก่อนบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินผ่านฉลุย ลองมาฟังข้อมูลทางนี้
4 เรื่องต้องรู้ เพื่อการขอสินเชื่อ
ถ้าคุณเป็นธุรกิจระดับ SME ที่ต้องการเงินทุนเพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของตัวเองก็ดี หรือเพื่อฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ เงินทุนที่จะพาไปสู้เป้าหมายจึงเป็นเรื่องจำเป็นดังนั้น การหาเงินทุนเพิ่มเติมด้วยการกู้เงินจากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่การจะกู้เงินสักครั้งไม่ใช่เรื่องที่จะตัดสินใจกันแบบง่ายๆ ดังนั้น มีคำแนะนำอยู่ 4 ข้อที่ผู้ประกอบการ SME ควรรู้ก่อนเพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
1.ศึกษาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาด
ศึกษาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆก่อน ซึ่งนับเป็นปัจจัยลำดับแรกๆ ที่ควรศึกษาให้รอบคอบ เพราะเงินที่ต้องใช้กู้เพื่อไปพัฒนาธุรกิจหรือใช้จ่ายในกิจการของคุณนั้นไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ เลย ดังนั้น ดอกเบี้ยที่แตกต่างกันเพียงหลักทศนิยม อาจหมายถึงรายจ่ายที่จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นก้อนใหญ่ในระยะยาว ผู้ประกอบการ SME จึงควร เปรียบเทียบ ศึกษาให้ดี เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่คุณสามารถรับได้
2.มองหาสถาบันการเงินที่เป็นคู่คิด ช่วยพัฒนาการทำธุรกิจ
ในการทำธุรกิจจะไม่เติบโตไปข้างหน้าหากคิดและทำอยู่คนเดียวคุณอาจจะต้องเหนื่อยมากหน่อย แต่จะดีกว่าไหมหากได้คู่คิดมาร่วมสร้างและต่อยอดความคิดต่างๆ ไปด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่งทำหน้าที่ในการคอยให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในแง่มุมต่างๆ รวมไปถึงการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้กลุ่มผู้ประกอบการ SME มากมาย ดังนั้น หากคุณต้องการเติบโตและก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง ก็ควรมองหาสถาบันการเงินที่ดีที่พร้อมช่วยเหลือในทุกช่วงเวลา เพื่อที่จะสามารถร่วมกันไปข้างหน้ากับการพัฒนาธุรกิจของคุณได้ด้วย
3.ผู้ค้ำประกัน/หลักทรัพย์ค้ำประกัน
การกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ สถาบันการเงินส่วนใหญ่มักจะขอให้ผู้กู้วางหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือต้องมีผู้ค้ำประกันเอาไว้ด้วย แต่ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือที่ยินดีให้ไม่ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันก็ได้ ซึ่งจะทำให้การกู้เงินของคุณสะดวกขึ้นง่ายขึ้น
4.ระยะเวลาการผ่อนชำระ
การศึกษาระยะเวลาในการผ่อนชำระ เช่น มีกำหนดระยะเวลา (Term loan) ให้ลูกค้าได้เลือกผ่อนชำระหรือไม่ สถาบันการเงินสามารถให้คุณได้สูงสุดภายในกี่ปี ดังนั้น สิ่งสำคัญคือคุณควรมองหาสถาบันการเงินที่ให้ระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหมาะสมกับความสามารถในการเงินคืนของคุณด้วย
ขั้นตอนการเตรียมธุรกิจ SME ให้ดีก่อนขอสินเชื่อ
และนอกจากข้อมูลที่ควรรู้ก่อนขอสินเชื่อแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลย ก็คือการเตรียมตัวให้กับธุรกิจของคุณเอง เรียกเล่นๆ ว่าต้องแต่งตัวให้ดูดีสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อประกอบการตัดสินใจให้กับสถาบันการเงินได้เกิดความมั่นใจเพื่ออนุมัติการขอสินเชื่อให้กับเราได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น เบื้องต้นธุรกิจ SME ของคุณต้องเตรียมตัวดังนี้
1.จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ถูกต้อง ก็เพื่อเป็นหลักฐานให้สถาบันการเงินได้ตรวจสอบว่า ธุรกิจของคุณมีแหล่งรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจที่ธนาคารจะใช้พิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อได้นั่นเอง
2.เดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
ข้อนี้สถาบันการเงินจะใช้ประกอบการพิจารณาร่วมกับการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หากธุรกิจของคุณมียอดเดินบัญชีบ่อยๆ ไม่มีการถอนเงินก้อนเดียวทั้งหมดหรือถอนเงินออกหมดในครั้งเดียว ก็จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้
3.มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี
การสร้างเครดิตที่ดีก็เหมือนการสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจของเรามีความน่าเชื่อถือ ดังนั้น หากคุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ไม่มีหนี้สินติดค้างรุงรัง โอกาสที่จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินทุนก็มีสูงมากเช่นกัน ดังนั้น การรักษาประวัติการผ่อนชำระให้ตรงตามเวลาเป็นเรื่องที่ทุกธุรกิจสมควรทำเป็นอย่างยิ่ง
4.วางแผนการชำระเงินให้ดี
สอดคล้องกับข้อก่อน คือเมื่อเรามีหนี้สินที่จะต้องชำระ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายใด การวางแผนการผ่อนชำระให้ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ และที่สำคัญเลยก็คือไม่ควรกู้ในวงเงินที่เกินความจำเป็น เพราะไม่ใช่แค่เงินต้นที่เราต้องส่งแต่อย่าลืมเรื่องของดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายด้วย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นคำแนะนำสำหรับ SME ที่ต้องการสร้างธุรกิจให้เติบโต หรือขยายธุรกิจของคุณให้ไปได้ไกลมากกว่า ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการ SME รายใดที่อยากได้เงินทุนสักก้อน ทาง ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ซึ่งทำงานร่วมกับนักธุรกิจ SME เป็นจำนวนมากเข้าใจดีถึงข้อจำกัดและความต้องการต่างๆ ของผู้ประกอบการ ดังนั้น จึงออกแบบผลิตภัณฑ์ สินเชื่อที่สามารถตอบโจทย์ SME ให้สามารถลุยธุรกิจต่อได้ ด้วยแนวคิดที่ให้สมัครง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก โดยมี 5 แพ็กเกจจัดไว้ให้เลือก ตามความเหมาะสมของธุรกิจในแบบของคุณ ดังนี้
1. KKP SME Freedom ทางเลือกที่ดีกว่ากับเงินทุนขยายธุรกิจ แบบไม่ต้องมีหลักประกัน
สมัครง่าย ไม่ต้องมีหลักประกัน (Clean Loan) วงเงินอนุมัติสูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อนสบายแบบลดต้นลดดอก และ ฟรี! ค่าธรรมเนียม บสย. (*เงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด)
2.KKP SME LIGHT สินเชื่อเพื่อคนค้าขาย หมดกังวลดอกเบี้ยรายวัน หมุนเงินไม่ทันเราช่วยได้
สำหรับผู้ที่ค้าขายรับแต่เงินสดก็สามารถกู้ได้ เพียงเปิดร้านมามากกว่า 1 ปี และอยากมีเงินทุนให้ลุยต่อได้ โดยไม่ต้องมีทะเบียนการค้า ไม่ต้องใช้หลักประกันก็กู้ได้ วงเงินอนุมัติสูงสุด 8 แสนบาท ผ่อนสบายนานสูงสุด 72 เดือน และที่สำคัญสมัครง่ายไม่ยุ่งยาก
3.KKP SME รถคูณสาม สู้ด้วยรถ โตไปด้วยกัน ใช้รถยนต์เป็นหลักประกัน
ใช้รถยนต์ในการขอสินเชื่อได้ถึง 5 คันต่อราย ผ่อนได้นาน วงเงินสูงสุดด้วยเงินทุน 5 เท่าของมูลค่าประเมินรถยนต์ วงเงินสูงสุด 7 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 60 เดือน และ ฟรี! ค่าธรรมเนียม บสย. (*เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
4.KKP SME คูณ3 ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ที่ให้วงเงินสูงสุด 3 เท่าของราคาประเมินหลักประกัน* วงเงินสินเชื่อสูงสุด 20 ล้านบาท พร้อมระยะเวลาการผ่อนสูงสุดถึง 20 ปี (*เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
5.KKP SME บัญชีเดียว ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน
ใช้อสังหาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินอนุมัติ สูงสุด 3 เท่าของราคาประเมินหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5% ต่อปี* วงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. (*เงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
ทั้งหมดนี้คือผลิตภัณฑ์สินเชื่อจาก KKP เพื่อ SME โดยออกแบบโอกาสให้ทุกเป้าหมายไปได้ไกลกว่าเดิม ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาเงินลงทุนเพื่อจะเติบโตในธุรกิจต่อไปหรือจะช่วยให้มีแรงฮึดสู้ได้ในสถานการณ์ที่หนักหน่วงอย่างนี้ ผู้สนใจขอสินเชื่อดังกล่าวสามารถสอบถามและดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://link.kkpfg.com/cAJ #ลงทุนถูกที่สร้างโอกาสที่ดีเสมอ
[บทความนี้เป็น Advertorial]