ผ่ากลยุทธ์ “MAGURO” สู่ผู้นำร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลีระดับ Premium-Mass สู่รายได้ทะลุ 1 พันล้านบาท

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

ตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลีเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสูง แต่สำหรับ บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAGURO กลับสามารถสู้ศึกจะก้าวขึ้นสู่ผู้นำธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลีในระดับพรีเมียม-แมสได้อย่างสบาย แถมยังสามารถสร้างรายได้ทะลุ 1,000 ล้านบาท จนสามารถวางแผนเตรียมเสนอขายหุ้น IPO ไตรมาส 2 แต่จะมาถึงระดับนี้ได้ต้องผ่านการวางแผนกลยุทธ์มาอย่างรัดกุม

 

4+1 ที่มาของ MAGURO

เมื่อย้อนอดีตไปช่วง 9 ปีที่ผ่านมา คุณเอกฤกษ์ แสงเสรีดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAGURO เล่าว่า จุดเริ่มต้นของ MAGURO เกิดจากกลุ่มเพื่อน 4 คน ที่มีความสนใจในอาหารญี่ปุ่นและเกาหลีจากการเดินทางไปทานอาหารต้นตำรับ จนเกิดเป็นธุรกิจร่วมกันของเพื่อนทั้ง 4 คน สำหรับ MAGURO สาขาแรกเกิดขึ้นที่โครงการ ชิค รีพับบลิค สาขาบางนา

โดย MAGURO เป็นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและซูชิ ที่มีการนำสไตล์การบริการของญี่ปุ่นจนเกิดเป็นปรัชญา “การให้มากกว่าที่ขอ (Give More)” ที่ถือเป็นส่วนสำคัญหลักในการสร้างการเติบโต ผ่านการมอบประสบการณ์ทีคุ้มค่า และยังได้ขยายกิจการจนมีร้านอาหารในเครือทั้งหมด 3 แบรนด์

– MAGURO ร้านอาหารญี่ปุ่นและซูชิที่มุ่งเน้นการใช้คุณภาพสูงจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 14 สาขา

SSAMTHING TOGETHER ร้านปิ้งย่างสไตล์เกาหลีระดับพรีเมียม จำนวน 6 สาขา

– HITORI SHABU ร้านชาบูและสุกี้ยากี้หม้อเดี่ยวสไตล์คันไซต้นตำรับ จำนวน 6 สาขา

ส่งผลให้ปัจจุบันร้านอาหารในเครือ MAGURO รวมทั้งสิ้น 26 สาขา ยิ่งไปกว่านี้ยังมีบริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) และรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ (Catering) อีกด้วย โดยสัดส่วนรายใหญ่แบ่งเป็น 62% จากร้าน MAGURO, 19.1% จากร้าน SSAMTHING TOGETHER และ 18.9% จากร้าน HITORI ส่งผลให้ในปี 2566 เครือ MAGURO สามารถสร้างรายได้อยู่ที่ 1,041.62 ล้านบาท

 

4 เสากลยุทธ์บน Data Driven

หนึ่งปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญของ MAGURO คือการใช้ Data Driven เข้ามาร่วมกับร้านอาหารเพื่อให้สามารถสร้าง Customer Experience โดยผ่านระบบ CRM โดยยึดหลัก “ป่าล้อมเมือง” ด้วยการขยายสาขาในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการวางกลยุทธ์ 4 เสาหลักในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ

– การขยายสาขาแลช่องทางให้บริการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Channel Expansion) ด้วยการใช้ Data ด้าน Lacation ในการคัดเลือกโครงการสาขาที่จะมีการเปิดใหม่ รวมไปถึงการขยายไปถึงหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด โดยสาขาใหม่จะเน้นการสร้างแบบ Stand Alone เพื่อลดการพึ่งพาจำนวนผู้ใช้บริการจากศูนย์การค้า

– การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลัก Give More (Research and Development) ใน่ส่วนการพัฒนาและวิจัยเป็นสิ่งที่ MAGURO มีความเชี่ยวชาญ โดยมุ่งเน้นเรื่องของนวัตกรรมและการนำเสนอเมนูใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์ (Creativity) นอกจากนี้ยังมีการลงทุนเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และการบริหารต้นทุนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย

– การมอบประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ (Distinctive Customer Experience) เป็นหนึ่งในความเชี่ยวชาญการคบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ ความสดและรสชาติของอาหาร รวมถึงการตกแต่งร้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ภายใต้การบริการแบบ Give More รวมถึงการใช้ระบบ CRM เข้ามาเก็บ Data เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าและนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการขายได้ตรงใจ และการสร้าง Talk of the Town และกระแส Viral บน Social Media

 – การหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโต (Diversification for Growth) เป็นหนึ่งในการลดความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้ภายใต้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง รวมไปถึงการเพิ่มประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะสมาชิกที่มีมากกว่า 1 แสนราย และยังเป็นการเสริมความแกร่งให้กับธุรกิจ

สำหรับการดำเนินการด้าน Data Driven จะผ่านระบบ CRM ของ MAGURO โดยมีจำนวนสมาชิกมากกว่า 150,000 คน ซึ่งมีการใช้บริการจากสมาชิกทำให้มีรายได้เฉพาะจากระบบสมาชิกคิดเป็น 54.36% จากรายได้รวม ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินด้าน Loyalty Program ในแบรนด์ต่างๆ ของบริษัทฯ

 

เตรียม IPO สู่การเติบโตอนาคต

ด้วยผลประกอบการที่สามารถสร้างรายได้รวมในปี 2566 ที่ 1,045.81 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น 57.06% และมีกำไรสุทธิ 72.48 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 131.12% ชี้ให้เห็นถึงผลการดำเนินการของธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโรคระบาดที่ MAGURO สามารถแก้ปัญหาและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการให้บริการผ่านช่องทาง Delivery

ด้วยแนวคิดการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง จำเป็นที่ต้องมีการระดมทุนเพื่อใช้ในการลงทุนด้านกาขยายสาขา รวมถึงต้องรองรับระบบหลังบ้านกัจำนวนสมาชิกที่จะมีเพิ่มขึ้นตามมา ทำให้ MAGURO มีการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 34,060,200 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 27.03%

สำหรับเงินที่ได้ MAGURO มีแผนจะใช้ใน

การขยายธุรกิจ ด้วยการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีก 11 สาขาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

– ปรับปรุงสาขาเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสาขาแรกๆ รวมถงการปรับปรุงครัวกลาง

– ติดตั้งและปรับปรุงระบบ IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและรองรับการขยายตัวของจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

เงินทุนหมุนเวียน สำหรับใช้ในการดำเนินงานต่างๆ  

นอกจากนี้ MAGURO ยังมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยเป็นธุรกิจไม่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย และมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) สูงถึง 26.52% ซึ่งการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ mai จะช่วยให้ MAGURO สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

โดยสรุป ปัจจุบัน MAGURO มีทุนจดทะเบียน 63 ล้านบาท มีการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 34,060,200 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 27.03% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ ประกอบด้วยหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 21,460,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 17.03% และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Holistic Impact Pte. Ltd. (“HOLISTIC IMPACT”) จำนวนไม่เกิน 12,600,000 หุ้น คิดเป็นไม่เกิน 10.00% 


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE