จับตา “Mir Payment” จากรัสเซีย อาจสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับ “การเงินแห่งอนาคต”

  • 247
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ความจริงแล้วระบบการชำระเงิน “Mir” (แปลว่า “โลก” และ “สันติภาพ” ในภาษารัสเซีย) ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 จากการที่ภายในชั่วข้ามคืนชาวรัสเซียหลายคนทั่วประเทศไม่สามารถใช้การ์ดที่เป็น Visa และ Mastercard ชำระเงินได้เลย เนื่องจากโดนสหรัฐฯสั่งระงับจากการที่รัสเซียมีข้อขัดแย้งใน “ไครเมีย” (Crimea)

ดังนั้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 รัสเซียจึงออกนโยบายและทุ่มเงินมหาศาล เพื่อที่จะให้ชาวรัสเซียที่ยังคงใช้ Visa และ Mastercard หันมาใช้ Mir ยกตัวอย่างเช่น รัสเซียออกกฎหมายในปี 2017 บังคับให้ธนาคารทำธุรกรรมและเงินเดือนเกี่ยวผู้รับบำนาญที่เป็นครูและทหาร ผ่านระแบบ Mir หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยให้จุด PoS ทุกที่มีตัวเลือกรับชำระผ่าน Mir และการตลาดอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมฟุตบอลแห่งชาติ หรือพวกโปรแกรม cashback ต่างๆ

ปัจจุบันเหตุการณ์จากข้อขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จนทำให้ Visa และ Mastercard “ถอนตัว” ออกจากรัสเซียเป็นทางการ ทำให้ความต้องการที่ต้องพึ่งใช้ระบบ Mir ในประเทศมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ

แต่การจะฉายภาพให้ชัดกว่านี้ จำเป็นต้องพูดถึงอีกระบบที่เกี่ยวข้องการ Mir ควบคู่กันไป ก็คือเครือข่ายการชำระเงินข้ามพรมแดนของรัสเซีย ที่เรียกว่า SPFS (System for Transfer of Financial Messages) เอาไว้มาต่อกรกับ SWIFT เนื่องจากระบบนี้กำเนิดจากกลุ่มธนาคารของสหรัฐฯและยูโรป ที่ต้องการเครือข่ายมาตรฐานในด้านการ “สื่อสาร” ในเชิงระบบการเงินโลก (ข้ามพรมแดน)

ระบบ SWIFT นั้นมีอำนาจอยู่ในมือย่างล้นหลาม เพราะเป็นเครือข่ายสถาบันการเงินมากกว่า 11,000 สถาบัน และครอบคลุมกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ทาง Forbes ได้นิยามว่า “การตัดธนาคารออกจาก SWIFT เปรียบเสมือนการตัดคนออกจากอินเตอร์เน็ท”

ปัจจุบันเริ่มมีบางธนาคารในรัสเซียโดนตัดออกจาก SWIFT แล้ว และท่าทีหลายๆ อย่าง จากนานาประเทศที่เป็นศูนย์อำนาจของ SWIFT ก็อาจมีแนวโน้มที่จะหนักขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่าคนอย่าง “วลาดิมีร์ ปูติน” คงจะไม่สบอารมณ์นัก เพราะโดนตัดขาดจาก Visa และ Mastercard ไปแล้ว ซ้ำเติมด้วยการมีบางธนาคารโดนตัดออกจาก SWIFT อีก นี่จึงเป็นที่มาของทั้งระบบชำระเงิน “Mir” ทดแทน Visa และ Mastercard กับเครื่องข่ายการสื่อสารทางการเงิน “SPFS” ที่เอาไว้ต่อกรกับ SWIFT

ถ้าหากว่ารัสเซียหันมาใช้ Mir แบบ 100% และในอนาคตโดนตัดออกจาก SWIFT ซึ่งเป็นเครือข่ายโลก ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน BRICS (กลุ่ม 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งได้เริ่มใช้ Mir และ SPFS อยู่แล้ว) จะทำอย่างไร?

คำตอบคือ ต้องคอยจับตาการเคลื่อนตัวของเงินตราในระดับโลก หรือ international monetary flow ว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต ทาง Forbes ได้วิเคราะห์ว่า เป็น “ฉากที่ควรกลัว” หากสิ่งนี้เกิดขึ้น (รวมถึงประเทศจีนด้วย) เพราะการที่โลกไร้ระบบที่เป็น “ศูนย์กลาง” ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน

 

อ้างอิง:
WSJ
Forbes
Eastasiaforum
Hankyoreh

 

อ่านบทความเกี่ยวกับ Mir Payment และการท่องเที่ยวในไทย


  • 247
  •  
  •  
  •  
  •  
sailwithme
Postera crescam laude