เปิดเมนูเคล็ดลับเด็ดต่อยอดร้านอาหาร ปั้นอย่างไรให้แตกสาขาได้

  • 62
  •  
  •  
  •  
  •  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

batch_01

คงไม่แปลกนักที่คนทำธุรกิจร้านอาหารหลายคนจะมีเป้าหมายในการขยับขยายร้านให้เติบโต แข็งแรง จนมีสาขาที่ 2 3 หรือ 4 เกิดขึ้นตามมาได้เพราะการขยับขยาย หรือมีสาขาเพิ่มนั้น เหมือนความสำเร็จอีกก้าวสำหรับธุรกิจที่จะทำให้เห็นการเพิ่มของยอดขาย และกำไรตามมาด้วย แต่เชื่อว่าหลายคนที่มีแพลนในการเพิ่มสาขายังมีคำถามที่ค้างคาใจต่าง ๆ นานาตามมาว่า ร้านเราควรเปิดสาขาเพิ่มแล้วหรือยัง ? ควรเปิดสาขาเองหรือทำระบบแฟรนไชส์ ? รวมถึงการหาเงินลงทุนจากที่ไหนเพื่อมาต่อยอดธุรกิจดังที่กล่าวมา ในงานเสวนา “Food Story ตอนที่ 3 ต่อยอดอย่างไรให้รุ่ง” โดย SCB SME ที่ SCB Business Center สาขาสยามสแควร์ ซอย 1 รวมคำตอบที่ช่วยให้คนทำร้านอาหารอย่างเรา ๆ มีแนวคิดในการตัดสินใจเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้

batch_02

ความพึงพอใจของลูกค้าคือหัวใจหลักของร้านอาหาร

ร้านอาหารไม่ได้ขายเพียงอาหารและความอร่อยเท่านั้น แต่รวมไปถึงงานบริการและการสร้างประสบการณ์ของอาหารให้กับลูกค้า ดังนั้นการทำให้ลูกค้าพึงพอใจจึงเป็นเป้าหมายหลักเสมือนมาตรฐานของร้านเลย วิธีการง่าย ๆ ที่ผู้ประกอบการสามารถที่จะรู้ความพึงพอใจของลูกค้าได้ คือการพูดคุยซักถามลูกค้าหลังทานอาหารเสร็จ หากทางร้านรู้ว่าลูกค้ารู้สึกไม่พอใจกับอาหารหรือบริการที่ได้รับ ร้านต้องรีบแก้ไขทันทีก่อนลูกค้าจะออกจากร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดบอกต่อในสิ่งที่อาจกระทบต่อร้าน และส่งผลกระจายออกไปในวงกว้างซึ่งทำให้แก้ไขได้ยาก

batch_03

สร้างมาตรฐานที่สาขาแรก แล้วต่อยอดสาขาถัดไป

คนทำร้านอาหาร ก็มุ่งหวังอยากให้ร้านเติบโต ขยายสาขาเพิ่มขึ้น แต่เมื่อไหร่ล่ะ ? ที่เราจะพร้อมขยายร้าน คำตอบคือ เมื่อเราสร้างมาตรฐานทั้งเรื่องอาหารและการบริการแล้ว การจะขยายสาขาต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้น เพราะอย่างน้อยก็มีร้านแรกเป็นตัวหลักเหมือน prototype

การขยายสาขาของร้านอาหารนั้น สามารถทำได้ทั้งแบบที่ขยายสาขาด้วยตัวเราเองและทำระบบแฟรนไชส์ ซึ่งการทำแบบแฟรนไชส์เจ้าของจำเป็นต้องวางระบบและสร้างมาตรฐานให้เป็นสากล ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) รับรู้ เข้าใจ และทำได้จริง จึงจะส่งต่ออาหารและการบริการได้เหมือนแบรนด์ทำเอง รวมทั้งต้องวางมาตรฐานการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่จะมาร่วมธุรกิจกับเราด้วย

พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสอย่างรวดเร็ว

batch_04

แน่นอนว่าการทำร้านอาหารนั้นอาจต้องมีวิกฤติเกิดขึ้นมาบ้าง คนบ่นเรื่องรสชาติอาหารบ้าง รอคิวนานบ้าง เสิร์ฟอาหารผิดบ้าง เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในร้านอาหาร ซึ่งเรื่องราวแบบนี้กระจายไปได้ไวมาก ๆ โดยเฉพาะในโลกโซเชียลมีเดีย เว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์ เจ้าของร้านอาหารควรต้องตามข่าวเหล่านี้ให้ทัน และหาวิธีบริหารจัดการให้เร็ว หรือที่เรียกว่า Crisis Management ยิ่งพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยทุ่นเวลารวบรวมเสียงสะท้อนที่ลูกค้าพูดถึงแบรนด์ทั้งหมดในช่องทางต่าง ๆ เรียกว่า Social Listening Tools ที่ช่วยเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารเข้าใจความคิดและความต้องการของผู้บริโภค ให้ตอบสนองลูกค้าได้พึงพอใจมากยิ่งขึ้น

Food Delivery Application ตัวช่วยลดต้นทุน Fixed Cost

batch_05

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่าน Application ก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี สร้างฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปร้าน ขณะที่รู้สถานะคนส่งอาหารว่าถึงไหนแล้ว รวมทั้งออเดอร์ถูกต้องครบถ้วน การตอบสนองความต้องการลูกค้านี้เอง ส่งผลให้ทางร้านอาหารมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องขยายร้าน เพิ่มที่นั่ง หรือขยายสาขา บางร้านไม่มีหน้าร้านก็ขายอาหารได้

batch_06

งบการเงินเป็นพื้นฐาน ให้ร้านอาหารต่อยอดไปได้ไกล

งบการเงินเป็นพื้นฐานสำคัญของกิจการ การจัดทำงบการเงินให้ชัดเจนตามผลการดำเนินงานจริง เจ้าของร้านอาหารก็จะใช้ข้อมูลงบการเงินในการวิเคราะห์ได้ถูกต้องแม่นยำ และวางแผนปรับปรุงกิจการได้ถูกทางยิ่งขึ้น เมื่อกิจการดีแล้ว ก็จะสะท้อนกลับมายังงบการเงินเช่นกัน

เจ้าของร้านอาหารสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนยื่นกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร อย่าง SCB SME ที่พร้อมจะสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารด้วยสินเชื่อสำหรับเรื่องต่าง ๆ เช่น สำหรับหมุนเวียนให้ร้านอาหารมีสภาพคล่องดีขึ้น และเงินกู้ระยะยาว ลงทุนขยายสาขาหรือปรับปรุงร้านอาหารด้วย รวมถึงโซลูชั่นตัวช่วยทางธุรกิจจากพาร์ทเนอร์ของธนาคาร และบริการอื่น ๆ รองรับการเติบโตของร้านอาหารอีกด้วย

จะเรื่องไหน ๆ เกี่ยวกับร้านอาหารแค่มาที่ SCB Business Center ใกล้บ้าน ทุกอย่างก็เป็นเรื่องง่าย…

 

[ข่าวประชาสัมพันธ์]


  • 62
  •  
  •  
  •  
  •