ความเป็นสากลไม่ใช่แค่เรื่องภาษา ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด เดินหน้าสู่ภารกิจใหญ่ ปั้นบัณฑิตตอบโจทย์ Workforce 4.0

  • 10.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

Stamford_1

หากจะชวนคุณย้อนเวลาไปเมื่อครั้งเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ยังจำได้ไหม ทำไมเลือกสถาบันแห่งนั้น?

เพราะหลายคนมองว่ามหาวิทยาลัยเปรียบเหมือนใบเบิกทางแรกของชีวิต สู่โอกาสที่รออยู่เบื้องหน้าล้วนเกิดขึ้นจากสังคมการทำงาน แม้ว่านั่นจะเป็นความคิดที่ถูกต้อง แต่ก็แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากสิ่งที่ มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมและคัดกรองไว้รองรับนักเรียน นักศึกษานั้น ต้องมีมากกว่าหลักสูตรคุณภาพ ประกอบกับวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวและแน่นอนว่า ทุกองค์กรล้วนต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพ ก้าวทันเทคโนโลยี และมีประสบการณ์พร้อมเข้าสู่สังคมการทำงานได้โดยไม่มีข้อแม้ว่าเป็นนักศึกษาจบใหม่

23 ปี ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ในการเป็นสถาบันการศึกษาที่มอบความรู้และเตรียมพร้อมทักษะแก่ผู้เรียน สู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในสังคมการทำงาน ด้วยความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้การพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การให้นักศึกษาฝึกงานเพื่อสร้างทักษะในกระบวนการเรียนรู้งานสายต่างๆ เตรียมความพร้อมสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพแก่องค์กร

ภารกิจสร้างบัณฑิตคุณภาพ กับภาพสังคมนานาชาติ ตอบโจทย์อุตสาหกรรมทั่วโลก

Stamford_2

ในฐานะ CEO ของลอรีเอทประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “คุณทิม บิวโลว” ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานมหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอทประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม เป็นผู้ขยายภาพความสำเร็จ ให้ฟังว่า ปัจจุบันแสตมฟอร์ดเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท และหลักสูตรระยะสั้นสำหรับคนทำงาน มีจำนวนนักศึกษากว่า 4,000 คน จากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก พร้อมด้วยคณาจารย์ 70% ที่มาจากนานาชาติ ทำให้แสตมฟอร์ด กลายเป็นสังคมนานาชาติอย่างแท้จริง

“สิ่งที่สะท้อนความสำเร็จด้านคุณภาพของบัณฑิตจากแสตมฟอร์ด คือ ผลสำรวจการจ้างงานปี 2560 ซึ่งระบุว่าบัณฑิตจบใหม่ของเรากว่า 74% ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยของตลาดแรงงาน ขณะที่ 35% ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายได้งานก่อนเรียนจบ สิ่งเหล่านี้ตอกย้ำความสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการจากบุคลากรในองค์กร ทั้งทักษะความเป็นลูกจ้างยุคใหม่ ทักษะการสื่อสาร ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ กล้าแสดงความเห็น และวิสัยทัศน์ที่เป็นสากล สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความโดดเด่นของบัณฑิตของเรา”

จากภาพความสำเร็จของนักศึกษาที่เราให้ความสำคัญ สะท้อนวิสัยทัศน์ของ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดว่าเราต้องการสร้างสังคมที่ก้าวหน้าเพื่อตอบแทนสังคม ทั้งประเทศไทยและระดับนานาชาติเนื่องจากเรามีนักศึกษาจากทั่วโลก ทำให้นักศึกษามีทักษะจากการเรียนและการฝึกงานที่เป็นหลักสูตรบังคับก่อนจบการศึกษา เพื่อทำให้พวกเขามีงานทำอย่างรวดเร็วและเป็นคนคุณภาพสำหรับภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จึงสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่กระบวนการรับนักศึกษา การเรียนการสอน การกำหนดหลักสูตรซึ่งมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ มาทำงานร่วมกับคณาจารย์ การส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานกับองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ และการวางแผนสร้างเครือข่ายศิษย์เก่าเพื่อสร้างความมั่นคงให้นักศึกษารุ่นต่อไป

ผู้ประกอบการต้องการบุคลากรที่มี “ศักยภาพ-เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร”

Stamford_3

คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้อธิบายว่า บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งมีโรงงานกว่า 30 แห่งใน 14  ประเทศทั่วโลก ถือเป็นจุดที่สอดคล้องกับ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดที่มีความหลากหลายของผู้เรียนภายใต้ภาพ Global Learning Classroom เพื่อปลูกสร้างความพร้อมในการทำงานกับองค์กรนานาชาติ ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยจากทั้งเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม รวมถึงอนาคตทางธุรกิจของเราที่มองถึง 4 แกนหลักยานยนต์แห่งอนาคต คือ Autonomous, Connectivity, Electric และ Sharing Services ซึ่งเป็นทิศทางในการปรับภาพลักษณ์ตามตลาดที่เปลี่ยนแปลงเร็ว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่บัณฑิตยุคใหม่ต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวให้ได้

องค์กรคาดหวัง 4 บุคลิกคนรุ่นใหม่ ใครปรับตัวก่อนได้เปรียบ!

Stamford_4

คุณนรุตม์ บุญประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายสรรหาและว่าจ้าง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จ้างงานบัณฑิต ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ชี้ให้เห็นภาพว่า ทักษะและสิ่งที่ผู้ประกอบการคาดหวังจากบัณฑิตยุคนี้คือความเข้าใจทางเทคโนโลยีและเทรนด์ธุรกิจที่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับภาคธุรกิจในยุคดิจิทัลเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ AI และ Machine Learning เช่นเดียวกับยูนิลีเวอร์ที่นำ AI เขามาใช้ในหลายกระบวนการ ทั้งการคัดสรรบุคลากรและกระบวนการทำงาน ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เทรนด์การจ้างงานขององค์กรมีการปรับลดตำแหน่งที่ใช้บุคลากรลงเนื่องจากมีการแทนที่ด้วยเทคโนโลยี ทำให้สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการจากบัณฑิตจบใหม่ คือ 1.ความรู้ด้านธุรกิจ ซึ่งหมายถึงการทำงานได้หลากหลายและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ 2.มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะปัจจุบันมีข้อมูลมหาศาลเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ 3.เข้าใจและใช้เทคโนโลยีได้อย่างเชี่ยวชาญ ทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน 4.การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ได้โดยง่าย ซึ่งจากโอกาสในการจ้างงานบัณฑิตจาก ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดพบว่ามีความโดดเด่นด้านภาษา มีความสามารถในการทำงานร่วมกับคนหลากหลายเชื้อชาติได้อย่างกลมกลืน ภายใต้ภาพการทำงานอย่างผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่ใช่เพียงนักศึกษาจบใหม่

ควรเรียนรู้ทุกสายงาน เพื่อค้นหาตัวเอง

Stamford_5

คุณมิเคเล โทเมอา เลขาธิการหอการค้าไทย-อิตาเลี่ยน ได้เปิดเผยมุมมองของบัณฑิตยุคใหม่ว่า จากที่หอการค้าไทย-อิตาเลี่ยนได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากแสตมฟอร์ดเข้าฝึกงานอยู่สม่ำเสมอนั้น พบว่านักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมีศักยภาพที่ดี สามารถปรับตัวเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้อย่างรวดเร็ว และยังมีทักษะด้านภาษาที่ดีอีกด้วย

โดยในปัจจุบันนั้น ภาคธุรกิจได้ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น การมีความเข้าใจในทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงทักษะการสื่อสารผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งออนไลน์มีเดีย และออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำงานของโลกยุคใหม่ที่นักศึกษาควรเรียนรู้

ในการฝึกงานกับเรานั้น นักศึกษาจะได้พัฒนาหลายทักษะร่วมกัน ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์, การทำงานเป็นทีม, การฝึกเจรจาด้านธุรกิจการค้า, การประสานงานจากกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการสนับสนุนบริษัทสมาชิกหอการค้าที่ครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ เป็นต้น

ตั้งเป้าลดช่องว่างศักยภาพการศึกษา สร้างประโยชน์สู่สังคม

Stamford_6

อาจารย์สาวิตรี สันติพิริยพร ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการอาชีพและความสัมพันธ์ภาคอุตสาหรรม มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ได้ขยายความเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ ถือเป็นปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะนี้ เนื่องจากนักศึกษากำลังจะกลายเป็นบุคลากรที่ออกสู่โลกปัจจุบันและธุรกิจ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

“เพราะการยกระดับการศึกษาถือเป็นหน้าที่ของเรา เช่นเดียวกับความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเราหวังจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมการศึกษาในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการพัฒนา ถือเป็นความท้าทายในการลดช่องว่างด้านศักยภาพการศึกษาทั่วโลก ขณะเดียวกัน บัณฑิตก็จะสามารถพัฒนาสังคมของตนเองได้ทั้งในประเทศไทยและนานาชาติด้วย”

สำหรับความร่วมมือกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น ปัจจุบันเรามีความร่วมมือที่หลากหลาย ตั้งแต่การร่วมจัดเวิร์คช้อป การทำกิจกรรมอื่นๆ และพัฒนาหลักสูตรร่วมกันให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือแม้แต่การเข้าร่วมโครงการฝึกงาน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้เรามีพาร์ทเนอร์กว่า 300 บริษัท ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

Stamford_7

นอกจากนี้ ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด ยังได้จัดงาน Stamford Networking Night ร่วมกับคณาจารย์ นักศึกษา และตัวแทนพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมกว่า 40 บริษัท เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านวิชาการและด้านธุรกิจ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สร้างเครือข่ายในการฝึกงานและสมัครงาน พร้อมยกระดับการศึกษาไทยด้วยการเชื่อมโยงภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยต่อไป

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Stamford International University ได้ที่ www.stamford.edu


  • 10.3K
  •  
  •  
  •  
  •