“ไทคอน” เดินหน้ารุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม ชูกลยุทธ์ Total Dimension ทุ่มงบลงทุน 10,000 ล้านบาท พร้อมขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในอาเซียนภายใน 3 ปี

  • 121
  •  
  •  
  •  
  •  

 

2-(2)

ปัจจุบันไทคอนพื้นที่ในการให้บริการกว่า 2.7 ล้านตารางเมตรทั่วประเทศ โดยในพื้นที่ EEC มีพื้นที่ให้บริการ 3,500 ไร่ และมีกว่า 500 อาคารที่พร้อมให้บริการ อัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy rate) ประมาณกว่า 70% เหลือที่ดินพร้อมพัฒนาอีก 1,500 ไร่ และยังมีพื้นที่ของกลุ่ม TCC ที่สามารถเข้าไปพัฒนาร่วมกันได้อีก

ตั้งเป้ามีพื้นที่บริหารจัดการกว่า 3.5 ล้านตารางเมตร ภายในปี 2020 ปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าที่ใช้บริการประกอบด้วยโลจิสติกส์ 33% ยานยนต์ 18% อิเล็กทรอนิกส์ 13% FMCG 8% และอื่นๆ 28% สัดส่วนลูกค้าต่างประเทศจะเป็นญี่ปุ่น 38% ไทย 18% เยอรมัน 17% สิงคโปร์ 5% และอื่นๆ 22%

4 (2)-700x420

“โรดแมปใน 3 ปีข้างหน้าเพื่อเป็นผู้นำในอาเซียน เรามีปรัชญาผู้สร้างสรรค์ประสบการณ์เพื่อลูกค้า (Delivering Valuable Experiences) โดยจะทุ่มทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ภายใต้ Total Dimension ขับเคลื่อนองค์กรทุกมิติใน 4 ด้าน เจาะตลาดด้วยจุดแข็งเรื่องการบริการครบวงจร และเปิดธุรกิจใหม่ขยายฐานลูกค้า การสร้างนวัตกรรมองค์กรและผลิตภัณฑ์ ขยายพื้นที่ยุทธศาสตร์ผลักดันธุรกิจให้เติบโต และวางรากฐานการเงินที่แข็งแกร่ง ส่วนกำไรสุทธิปี 2560 ก็เติบโตขึ้น 73% จากปีที่ผ่านมา”

คุณวีรพันธ์ พูลเกษ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) (TICON) กล่าวว่า มีอายุ 28 ปี มีธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าทันสมัยในระดับสากล ทั้งรูปแบบ Ready-Built สร้างตาม Built-to-Suit ของลูกค้า อาทิ แอมเวย์ วัตสัน ลอรีอัล เนสท์เล่ย์ ดีเอชแอล ดีเคเอสเอช ลาซาด้า แมคโคร ฟอร์ด มิตซูบิชิ บีเอ็มดับเบิ้ลยู ไทยเบฟเวอเรจ บิ๊กซี เบอร์ลี่ ยุคเกอร์  เป็นต้น มีสัดส่วนการตลาดกว่า 48% หรือ 2.7 ล้านตารางเมตร

นอกจากนี้ยังจัดตั้งทรัสต์เพื่อการลงทุนชื่อทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไทคอน หรือกอง TREIT ที่เป็นส่วนสำคัญทำให้ไทคอนขยายธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง ปีที่ผ่านมาถือมีความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ จากการเข้ามาถือหุ้นของ บริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยต์ ลิมิเต็ด และเปลี่ยนเป็นบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ธุรกิจหลักมีทั้งพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ ทั้งเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า ถือเป็นการปรับโมเดลธุรกิจไทคอนครั้งสำคัญ มีการปรับโครงสร้างทางการเงินจากเงินเพิ่มทุนกว่า 13,000 ล้านบาท มีผลประกอบการรวมกว่า 2,086 ล้านบาท ยอดกำไรสุทธิ 482 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 73% จากปี 2559

ไทคอนยังได้ร่วมกับบริษัท เซอร์ยา ซีเมสตา อินเตอร์นูซ่า จำกัด (มหาชน) หรือ SSIA บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของอินโดนีเซีย ดำเนินธุรกิจพัฒนาโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าในอินโดนีเซีย โดยมีแบรนด์ชั้นนำของโลกทั้งยูนิลีเวอร์  ยามาฮ่า อายิโนะโมะโต๊ะและหัวเว่ยเข้ามาเป็นลูกค้า ทำให้มีผู้เช่าคลังสินค้าเต็มกว่า 100,000 ตารางเมตร

1520346418407-600x800

ปีที่ผ่านมาไทคอนได้มาตรฐาน LEED® Building (Leadership in Energy and Environmental Design) ระดับโกลด์ และมาตรฐาน EDGE  (Excellence in Design for Greater Efficiencies) โครงการ TPARK บางพลี 4 มาตรฐานLEED ระดับซิลเวอร์ให้กับคลังสินค้าแบบ Built-to-Suit ของแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกบนพื้นที่โครงการ TPARK บางนา และมีแผนเตรียมลงทุนเพิ่มเติม พัฒนาการใช้แผง Solar Cell ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุนให้กับลูกค้าและบริษัทด้วย

แนวโน้มการเติบโตในธุรกิจ New S-Curve การเติบโตแบบก้าวกระโดดของอี-คอมเมิร์ซ จะนำไปสู่ความต้องการด้านการจัดเก็บและกระจายสินค้า ปัจจัยนี้จะทำให้มีความต้องการโรงงานและคลังสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ไทคอนทุ่มงบลงทุน 10,000 ล้านบาท เพื่อส่งมอบสินค้า โซลูชั่น และบริการ ให้ตรงกับความต้องการด้วยนโยบายขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกันร่วมกับพันธมิตร เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0

3-700x420

คุณโสภณ ราชรักษา ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) มองว่า โรดแมปใน  3 ปีของไทคอนจะเดินด้วยกลยุทธ์ Total Dimension รุกทั้ง 4 ด้านคือ

1. จุดแข็งด้านบริการครบวงจรและเปิดธุรกิจใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้า ทั้ง Ready-Built, Built-to-Suit และเพิ่มสัดส่วนในกลุ่ม Built-to-Suit มากเป็น 100,000 ตารางเมตรต่อปี ใช้รูปแบบการทำงานแบบ Co-creation ให้ตอบโจทย์ธุรกิจลูกค้าอย่างตรงจุด
จุดแข็งด้านนี้จะเป็นการขยายฐานลูกค้า ผ่านเครือข่ายของกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ FPL รวมทั้งการจับมือกับกับกลุ่มพันธมิตรในระดับสากล เพื่อเปิดตัวธุรกิจใหม่ที่สนับสนุนการเติบโตของตลาดอี-คอมเมิร์ซ รวมทั้งอุตสาหกรรมในกลุ่ม New S-Curve ที่ถือว่าจะเป็นก้าวที่สำคัญของการขยายธุรกิจ

2. จุดแข็งในการสร้างนวัตกรรมให้ทั้งองค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ เพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ด้ฝวยเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมจุดแข็งของบริษัทที่มีอาคารทั้งแบบ Ready-Built และ Built-to-Suit สร้างเป็นโครงข่าย Production & Logistics Footprints ตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่

3. ผลักดันธุรกิจให้เติบโต โดยตั้งเป้าเพิ่มอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy rate) เป็น 85% ภายในปี 2563 จากที่มีอยู่ 69% ในปัจจุบัน โดยเตรียมวางแผนขยายพื้นที่เพิ่มเติมในอีอีซี ร่วมกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเปิดคลังที่ดินร่วมพัฒนาศักยภาพรองรับดีมานด์จากญี่ปุ่น จีน และยุโรป ส่วนในต่างประเทศยังคงโฟกัสกับตลาดอินโดนีเซีย ที่มีแนวโน้มยังเติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งตลาดกลุ่มอาเซียนโดยจะขยายตัวตามการขยายธุรกิจของกลุ่มเฟรเซอร์สที่มีเครือข่ายธุรกิจในหลายประเทศ

4. เน้นวางรากฐานการเงินเพื่อสร้างสมดุลการบริหารจัดการรายได้ จากปีที่แล้วไทคอนมีการวางฐานทางการเงินให้แข็งแกร่ง จากการเพิ่มทุนของกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ สร้างสมดุลในโครงสร้างรายได้จากทรัพย์สิน (Recurring Income) และเชื่อมั่นใน TREIT เพื่อเพิ่มศักยภาพเติบโตผ่านการขายทรัพย์สินแบบครบวงจรรวมทั้งรายได้อื่นๆ เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว


  • 121
  •  
  •  
  •  
  •