เมื่อ “รถซาเล้ง” ถูกแปลงโฉมเป็น “ยานพาหนะของฮีโร่กอบกู้โลก” ปลุกจิตสำนึกสังคมในการคัดแยกขยะและรีไซเคิล

  • 26.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%87-toy-700

ทราบหรือไม่ว่า มนุษย์ทั่วโลกผลิตขยะได้ถึง 1,300 ล้านตันต่อปี นั่นหมายความว่า เราผลิตขยะวันละ 1 กิโลกรัมต่อคน จากการเก็บข้อมูลของธนาคารโลก ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ปริมาณขยะจะสูงถึง 2,200 ล้านตัน หรือ 1.4 กิโลกรัมต่อคน

สำหรับในประเทศไทย ภาพที่เห็นกันชินตามากที่สุดคงหนีไม่พ้นภาพ “กองขยะที่สุมกันอยู่ข้างทาง” แม้จะมีถังขยะที่แบ่งประเภทขยะตั้งอยู่ คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าทิ้งลงถังไหนก็ได้ เพราะอย่างน้อยก็ทิ้งลงถังขยะ

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-real-recycler-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%87-%e0%b9%80

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Creative Center for Eco-design) ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับสาเหตุที่การแยกขยะในประเทศที่กำลังพัฒนายังคงไม่ก้าวหน้าว่า “คนไทยยังมีความเชื่อผิดๆ ว่าการคัดแยกขยะในครัวเรือนไม่มีประโยชน์ เพราะคิดว่ารถขยะเทศบาลนำขยะไปรวมกันในรถ ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานของรัฐก็มีกระบวนการคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพมากพอ”

%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%87-bumblebee_before

ทั้งนี้ ขยะส่วนใหญ่ของประเทศมาจากขยะในชุมชนเมือง เพราะคนในเมืองทิ้งขยะกันวันละเกือบ 2 กิโลกรัมต่อคน โดยผู้ที่เข้ามาช่วยจัดการปัญหาขยะก็คือ คนเก็บของเก่า หรือ ซาเล้ง นักรีไซเคิลตัวจริง ผู้ที่มาพร้อมกับรถซาเล้งคู่ใจ วิ่งไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ ทำหน้าที่คัดแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงกระบวนการรีไซเคิล ทว่า คนกลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นคนที่มีคุณภาพชีวิตต่ำ หรือเป็นพลเมืองชั้นสอง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นต้องจ่ายค่ากำจัดขยะในราคาแพง การมีพวกเขาจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้ และยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการคัดแยกขยะของประเทศ

%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa

เมื่อทราบปัญหาแล้ว เอ็ม บี เค กรุ๊ป จึงร่วมมือกับ ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรุงเทพมหานคร จัดโครงการ “REAL RECYCLER รักษ์โลกจริง เลิกทิ้งเลิกเท” พลิกโฉมรถซาเล้งจากชุมชนคนเก็บของเก่านำมาปรับปรุงใหม่ให้สวยงาม แข็งแรง ทนทาน เหมาะสมกับการบรรทุกขยะ เพื่อเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของอาชีพซาเล้ง และกระตุ้นให้คนทั่วไปรู้สึกว่าการคัดแยกขยะเป็นเรื่องใกล้ตัว

%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%87-bumblebee

หลังจากเปิดตัวโครงการ รถซาเล้งทั้ง 12 คัน ที่ผ่านการตกแต่งใหม่จะได้นำออกไปใช้งานจริง เช่น บัมเบิ้ลบีซาเล้ง ที่ทำด้วยโครงเหล็กสีเหลืองที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรถหุ่นยนต์จากภาพยนตร์ Transformers ออกแบบโดย นางสาวสิรินทร์ เจียมพิรุฬห์กิจ และ นายอานนท์ พุ่มอิน และ BAMBINO ซาเล้งที่ตกแต่งด้วยไม้ไผ่ ออกแบบโดย นางสาววริศรา สันตโยดม และ นายกฤษฏ์สกนธ์ ทนังผล

%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%87-bambino

นอกจากแปลงโฉมซาเล้งแล้ว เอ็ม บี เค กรุ๊ป ยังจัดทำคลิปวิดีโอ ‘ทิ้งไว้ให้ใคร’ ที่สร้างขึ้นจากชีวิตจริงของ “ป้าสมพร” นักเก็บขยะมืออาชีพตัวจริง ของที่ใครมองว่าเป็นขยะ ป้าสมพรกลับเห็นคุณค่าที่ใครก็คาดไม่ถึง แม้จะเรียนมาน้อย แต่ป้ามีสองมือที่ไม่เคยอยู่นิ่ง กับหนึ่งสมองที่อัดแน่นไปด้วยความรู้เรื่องขยะ มาติดตามเรื่องราวของป้าสมพรว่า กว่าจะก้าวมาเป็นซาเล้งมืออาชีพได้ หนทางไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

ทิ้งไว้ให้ใคร…REAL RECYCLER

httpv://youtu.be/U9Ht1zc8Zj0

ในปีนี้ ซาเล้งทั้ง 12 คัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เอ็ม บี เค กรุ๊ป ตั้งใจให้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อปลุกกระแสสังคมให้เห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะ และนำกับมารีไซเคิลเพื่อใช้ใหม่ อีกทั้งยังเปลี่ยนภาพลักษณ์ของคนเก็บของเก่าหรือซาเล้งให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น สร้างความภูมิใจให้อาชีพคนเก็บขยะในฐานะของนักรีไซเคิลตัวจริง และเป็นฮีโร่กอบกู้โลก โดยใช้รถซาเล้งเป็นสื่อกลางสร้างสรรค์และเป็นผลงานศิลปะที่ชวนมอง

%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%8b%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%87-%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad


  • 26.5K
  •  
  •  
  •  
  •