‘ผักไทย’ ต้องไม่แพ้ชาติใดในโลก Tesco Lotus เสริมมั่งคั่งเกษตรกรไทยสู่ ‘ครัวอินทรีย์’

  • 95
  •  
  •  
  •  
  •  

ด้วยเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาแรง และไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย แต่เป็นระดับทั่วโลก ขณะที่ ‘ไทย’ ในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่ดั้งเดิม รากฐานประเทศเกือบครึ่งหนึ่งยังคงเป็นเกษตรกร ดังนั้น การกระจายความมั่งคั่งทางรายได้ไม่ให้กระจุกตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคสายเขียวที่นับวันยิ่งมีจำนวนมากขึ้น ก็มุ่งให้ความสนใจไปที่ ผักปลอดภัย’ ที่ราคาเอื้อมถึงได้แถมต้องเป็นมิตรกับทุกๆ circle การผลิต

Tesco Lotus ห้างค้าปลีกรายใหญ่แห่งหนึ่งของไทย ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรให้ยกระดับสู่ ตลาดนำการผลิต โดย Tesco Lotus ได้ริเริ่มดำเนินโครงการรับซื้อผักโดยตรงจากเกษตรกร (direct sourcing) ซึ่งไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ตั้งแต่ปี 2553 จนครบทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศไทยแล้ว

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวไว้ว่า นโยบายตลาดนำการผลิตสินค้าเกษตร มีขึ้นเพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทย และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร เช่น ปัญหาผลผลิตล้นตลาด และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

 ตั้งเป้าขยายโครงการช่วยเหลือเกษตรกร 600 คน สู่ 1,000 คนปีนี้

นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท Tesco Lotus กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2553 ที่โครงการริเริ่มขึ้น เราได้มีการเพิ่มปริมาณที่รับซื้อสินค้าเกษตรจากเกษตรกรมากขึ้นทุกๆ ปี เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรทั่วประเทศมีรายได้ที่เป็นธรรมและมั่นคง ด้วยการประกันราคาสินค้าที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

นอกจากนี้ Tesco Lotus ยังจะสามารถส่งมอบผักสดคุณภาพสูง มีความปลอดภัย ส่งตรงถึงมือลูกค้าได้ทั่วประเทศทุกวัน ทั้งนี้ ห้างค้าปลีกแห่งนี้ตั้งใจที่จะขยายโครงการดังกล่าวจากจำนวนเกษตรกร 600 ราย เป็น 1,000 รายภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่การรับซื้อสินค้าเกษตรโดยตรงจากทั้ง 4 ภูมิภาค เป็นปริมาณรวมกว่า 270 ตัน/เดือน โดยแบ่งเป็นสัดส่วนจากเกษตรแปลงใหญ่ในแต่ละภูมิภาคดังนี้

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ปริมาณรับซื้อ 70 ตัน/เดือน เพื่อจำหน่ายใน Tesco Lotus 120 สาขาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาคใต้ กลุ่มแปลงใหญ่ผักบางท่าข้าม อำเภอพูนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณรับซื้อ 97 ตัน/เดือน เพื่อจำหน่ายใน Tesco Lotus 55 สาขาทั่วภาคใต้
  • ภาคกลาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูร่วมใจพัฒนา ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณรับซื้อ 72 ตัน/เดือน เพื่อจำหน่ายใน Tesco Lotus 54 สาขาทั่วภาคกลาง
  • ภาคเหนือ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดภัย ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ปริมาณรับซื้อ 35 ตัน/เดือน เพื่อจำหน่ายใน Tesco Lotus 120 สาขาทั่วภาคเหนือ

นอกเหนือจากการเชื่อมโยงตลาดกับการผลิตแล้ว Tesco Lotus ได้โฟกัสไปที่การยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร เพื่อผลักดันผักปลอดภัยให้ได้ตามมาตรฐาน GAP ที่ครอบคลุมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี

 เทคโนโลยีมีส่วนช่วยคุมราคาต้นทุนการผลิต

Tesco Lotus ได้มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือเหล่าเกษตรกรเพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ โดยในเบื้องต้นได้มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการคำนวณและประมวลผล เกี่ยวกับดีมานด์ของตลาดในเวลานั้นๆ เพื่อช่วยเกษตรกรให้สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องได้กับความต้องการได้ ทั้งยังคงระดับคุณภาพตามมาตรฐานไว้เช่นเดิม โดยกระบวนการเหล่านี้มีส่วนช่วยแก้ปัญหา supply ล้นเกิน demand ของผู้บริโภค อันก่อให้เกิดปัญหา ‘food waste’ ในที่สุด อีกทั้งยังสามารถช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาผลผลิตได้อีกด้วย

 

ยึดคอนเซ็ปต์รับซื้อตรง ยกระดับจาก ผักปลอดภัยสู่ ผักอินทรีย์

นางสาวพรเพ็ญ นาถพิริยรัตน์ รองประธานกรรมการฝ่ายกำกับดูแลคุณภาพสินค้า Tesco Lotus กล่าวเพิ่มว่า การรับซื้อตรงจากเกษตรกรเป็นนโยบายหลักของ Tesco Lotus มานานแล้ว ซึ่งขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ที่เรารับซื้อจะเป็นประเภท ‘ผักใบ’ แต่เราก็เริ่มขยายต่อโครงการไปที่ ‘ผักหัว’ มากขึ้น เช่น แตงกวา, มะนาว, แตงล้าน, ซึ่งยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูง

ขณะที่ตอนนี้เรามี ‘ฟักทองพันธุ์ทองอำไพ’ สายพันธุ์ที่ดีที่สุดและได้รับความนิยมที่สุดของไทย จากกลุ่มชมรมส่งเสริมพัฒนาอาชีพอิสระคนพิการ มีพื้นที่ปลูกฟักทองรวมกว่า 90 ไร่ ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยสามารถส่งขายฟักทองให้กับ Tesco Lotus ได้ประมาณ 2 ตัน/สัปดาห์ ทั้งยังมีแผนจะขยายการปลูกเพิ่มและให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มคนพิการ และชาติพันธุ์ต่อไป

นางสาวพรเพ็ญ ได้กล่าวเพิ่มว่า ในยุคแห่ง security ที่ค่อนข้างสูง คอนเซ็ปต์ผักปลอดภัยอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไปในอนาคต โดยทาง Tesco Lotus มีแผนแบบ long term เพื่อยกระดับแปลงผักใหญ่ให้เป็นแบบ ‘เกษตรอินทรีย์’ แต่ยังต้องใช้เวลาในการพลิกฟื้นคุณภาพดินให้ไม่มีสารเคมีตกค้างแบบ 100% ซึ่งจะใช้เวลานานถึง 10 ปีกว่าจะเห็นผลชัดเจน

และสำหรับการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร เช่น การดัดแปลง หรือ ตกแต่งข้ามพันธุกรรมให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ เหมือนกับประเทศอื่นทำ เราก็มีความคาดหวังว่ามันจะเกิดขึ้นในไทย เพียงแต่ต้องหวังพึ่งกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ ณ ปัจจุบันถือว่าเกษตรกรรมของไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ค่อยๆ เปลี่ยนจากการใช้สารเคมีสู่ผักปลอดภัย และกลายเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีราคาย่อมเยาในที่สุด อันนี้คือ เป้าหมายสูงสุดของ Tesco Lotus

“ที่สำคัญ Tesco Lotus สนใจเกี่ยวกับการนำผักหัว เช่น ฟักทอง มาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า เรามองว่า ประเทศไทยเก่งในเรื่องการแปรรูปสินค้า ดังนั้น ตอนนี้ที่คิดเล่นๆ ไว้ก็อาจจะลองนำฟักทองมาทำเป็นเนื้อขนมปัง เพราะเทรนด์คนรักสุขภาพกำลังมา นางสาวพรเพ็ญ กล่าวปิดท้าย


  • 95
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE