“บ้านปลาจากท่อส่งน้ำจาก เอสซีจี เคมิคอลส์” จะเปลี่ยนแปลงอนาคตประมงพื้นบ้านไทยได้อย่างไร?

  • 9.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

R75_0913_2-700

ทราบหรือไม่ว่า พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเล และกำลังเสื่อมโทรมลงทุกวัน ปลาในท้องทะเลก็ค่อยลดลงเรื่อยๆ และยังส่งผลต่อวิถีชีวิตของ “ชาวประมงพื้นบ้าน” กลุ่มคนที่ทำหน้าที่สืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ใช้ชีวิตเรียบง่าย กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ด้วยการจับปลาอย่างพอเพียง ควบคู่กับการอนุรักษ์ท้องทะเลและสัตว์ทะเล

ก่อนที่ทุกอย่างจะสูญหายไป กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านจึงได้หันมารวมตัวกันฟื้นฟูท้องทะเลให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการกำหนด “พื้นที่อนุรักษ์” เพื่อสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก ร่วมใจกันดูแลไม่จับปลาบริเวณนี้ โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สร้างบ้านปลาจำลองแบบต่างๆ เช่น บ้านปลาจากทางมะพร้าว หรือที่เรียกว่า “ซั้งกอ” ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ แต่ก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รับรู้ถึงปัญหาดังกล่าว และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ ด้วยการออกแบบบ้านปลาที่ทำจากท่อส่งน้ำดื่ม ที่เหลือจากกระบวนการทดสอบขึ้นรูป ตามแนวคิด Waste to value ที่นำมาพัฒนาจนออกมาเป็น “โครงการบ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์” เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มทดลองจัดวางในทะเลครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 ในจังหวัดระยอง จนถึงวันนี้ได้วางบ้านปลาไปแล้วกว่า 1,100 หลัง

cats

โดยบ้านปลาจำลองที่นำมาใช้นั้น พัฒนามาจากวิธีการทำงานของกลุ่มประมงพื้นบ้าน จากดีไซน์แรกที่เป็น “ทรงสี่เหลี่ยม” โดยมีแนวคิดจากการสร้างช่องว่างจำนวนมากจากท่อ เพื่อให้สัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ จะได้อาศัย แต่ด้วยโครงสร้างที่ใหญ่เกินความจำเป็นจึงเปลี่ยนมาเป็น “ทรงสามเหลี่ยม” ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ลดปัญหาอวนขาดง่าย และยังคำนึงถึงพฤติกรรมของสัตว์น้ำที่ต้องการที่อยู่อาศัยและหลบภัย รวมถึงเป็นแหล่งฟักไข่ของปลาต่างๆ ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดของลูกปลาทั้งหลาย ทั้งนี้ วัสดุท่อ PE100 ที่นำมาใช้เป็นเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงชนิด High Density Polyethylene Pipe มีจุดเด่นในเรื่องความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานนาน ไม่มีสารปนเปื้อน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ผ่านการทดสอบจากสถาบันชั้นนำจากต่างประเทศ ซึ่งมักนำไปผลิตเป็นท่อส่งน้ำดื่ม และท่อที่ใช้ในเหมืองแร่ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอน

1-1

2

บ้านปลาจากท่อส่งน้ำจะเปลี่ยนแปลงอนาคตประมงพื้นบ้านไทยได้อย่างไร?

บ้านปลาจากท่อส่งน้ำนี้ นอกจากจะสร้างความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลกว่า 120 สายพันธุ์แล้ว ยังเป็นเสมือนคลังทรัพยากรในทะเลที่ช่วยให้ชาวประมงพื้นบ้านทำมาหากินสร้างรายได้ให้ตนเอง และต่อยอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ หลังจากวางบ้านปลาเรียบร้อยแล้ว ชุมชนต้องช่วยกันดูแลเพื่อเพิ่มจำนวนปลาในพื้นที่ทะเลชายฝั่ง ด้วยการกำหนดพื้นที่วางบ้านปลาให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ทำให้เกิดเป็นชุมชนที่พึ่งพาตัวเองได้ และกำหนดพื้นที่วางบ้านปลาให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากหน่วยงานราชการอย่างสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ระยอง (สบทช.ที่ 1 ระยอง) และกลุ่มประมงในท้องถิ่น ร่วมกันติดตามผลและเก็บข้อมูลทุก 3 เดือน ข้อมูลที่ได้นั้นจะนำมาพิจารณาการจัดวางหมู่บ้านปลา เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชนประมงพื้นบ้านบริเวณพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

4

โครงการบ้านปลาของเอสซีจี เคมิคอลส์ ถือเป็นตัวอย่างของการทำ CSR ที่สร้างความยั่งยืนให้ชุมชนได้อย่างแท้จริง ผ่านการร่วมแรงร่วมใจของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ชุมชน หน่วยงานราชการ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ และจิตอาสาที่เข้าร่วมโครงการฯ อีกทั้งยังกระตุ้นให้บุคคลทั่วไปรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน ถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ทั้งการเพิ่มปริมาณและความหลากหลายของสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่ง และการสร้างรายได้ให้กลุ่มประมงพื้นบ้านไทย

สำหรับเป้าหมายต่อไป เอสซีจี เคมิคอลส์ มีแผนงานขยายโครงการบ้านปลาไปสู่จังหวัดจันทบุรีและตราด จำนวนอีก 1,100 หลัง เพื่อให้ครอบคลุมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกทั้งหมด

5

D002_new


  • 9.1K
  •  
  •  
  •  
  •