• Home
    • News
    • Ad Campaign
    • Media & Advertising
    • Insight
    • Exclusive
    • Startups & SME
    • Digital Life
  • Jobs
    • Jobs List
    • Jobs Package
    • วิธีลงประกาศ
    • วิธีสมัคร company package
    • วิธีชำระ
    • Help
  • facebook.com
  • youtube.com
  • twitter.com
  • line.me
  • instagram.com
  • tiktok.com
  • rss
Marketing Oops!

Marketing Oops!

Digital | Creative | Advertising | Campaign | Strategy
Marketing Oops!
  • News
    • Viral update
    • Biz & Marketing
    • Brand Movement
    • Agency
    • eCommerce
    • CSR
    • Seminar and Event
    • Jobs update
    • PR News
  • Creative Ad
    • Thai Ad
    • Global Ad
    • Video Ad
    • Campaign Case
    • Design
    • Award
  • Media
    • Traditional media
    • Digital media
    • Social media
    • Mobile
  • Insight
    • Industry Insight
    • Media insight
    • Consumer insight
    • Mobile insight
    • Fast fact
    • Research
    • Stat/Top rank
    • Infographic
  • Exclusive
    • Insider
    • Trending
    • Campaign Case
    • Business case
    • Interview
    • Opinion
    • Career
    • Marketing How To
  • Startups & SME
    • Startups
    • Marketing for SME
    • Inspiration
  • Digital Life
  • Podcast
    • China Market Insights
    • Influencer Marketing
    • MarTech
    • Brand Life
    • The Untold Insights
    • Oops! Unbox Idea
    • When Brand Chemistry Clicks
Biz & Marketing news News

ข้อเท็จจริงคืออะไร ? กรณี Facebook สอย “12 บัญชี และ 10 เพจในไทย” ข้อหาอำพรางตัวตน ปลุกปั่น สร้างความแตกแยก

July 26, 2019 digi sloth
4,976
  • 925
  •  
  •  
  •  
  •  

เป็นข่าวกันสดๆ ร้อนๆ กรณีทีมงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของเฟซบุ๊คตรวจพบพฤติกรรมผิดปกติ และ “สั่งปิด” 12 แอคเคานท์ และ 10 เพจที่เปิดในประเทศไทย ด้วยข้อหามีพฤติกรรมอำพรางตัวตน ทำงานเป็นเครือข่าย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ปลุกปั่น และสร้างความแตกแยก 

ทั้งนี้ ในช่วงแรกของการเป็นข่าว ยังไม่มีการเปิดเผยชื่อเพจ และแอคเคานท์ที่ถูกดึงลง จนทำให้หลายฝ่ายลากเข้ามาสู่ดราม่าการเมืองไทย 

แต่ถ้ามองให้ลึกกว่านั้น ที่น่าสนใจ คือ ไม่ใช่เฉพาะแค่แอคเคานท์ที่เปิดในไทยเท่านั้นที่ถูกลงดาบในครั้งนี้ เพราะในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ทางเฟซบุ๊คได้ลงดาบกับแอคเคานท์ “ล็อตใหญ่” ในประเทศอื่นด้วย

โดยสรุปตัวเลขจำนวนแอคเคานท์ที่ถูก “ดึงลง” ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 294 แอคเคานท์, 1509 เพจ, 32 กลุ่ม และอีก 5 อินสตาแกรมแอคเคานท์ ใน 4 ประเทศ คือ ไทย, รัสเซีย, ยูเครน และ ฮอนดูรัส

จากการชี้แจงของ คุณนาธาเนียล ไกลเชอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายความปลอดภัยไซเบอร์ของ Facebook สำนักงานใหญ่ ผ่านวิดีโอคอลล์กับผู้สื่อข่าวในประเทศไทยรวมถึง Marketing Oops! เขาอธิบายว่า เหตุการณ์ที่ตรวจจับทั้ง 4 เครือข่ายนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกัน เพียงแต่มี “พฤติกรรม” คล้ายกันในเรื่องการอำพราง “ปลอมแปลงตัวตน” และมีการทำงานอย่างเป็น “เครือข่าย” เพื่อ “วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง” โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ในทางเทคนิคของเฟซบุ๊ค เรียกว่า Coordinated Inauthentic Behavior หรือ “CIB” 

“เราทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจจับ และยับยั้งกิจกรรมในลักษณะนี้ เนื่องจากเราไม่ต้องการให้บริการของเราถูกใช้ในทางไม่ถูกต้องหรือหลอกลวงผู้อื่น จึงเป็นเหตุผลให้เราทำการลบเพจและแอคเคานท์รวมถึงกลุ่มที่ต้องสงสัยเหล่านี้” คุณนาธาเนียล กล่าว

เขาอธิบายถึงวิธีการทำงานของทีมงานว่า จะใช้ระบบตรวจจับอัตโนมัติ เพื่อสอดส่องแอคเคานท์ที่ปลอมแปลงตัวตน ตรวจดูความผิดปกติ และจะส่งข้อมูลมายังทีมงานให้ทำการสืบสวนสอบสวนต่อในเชิงลึก โดยจะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเคสนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ บริษัท องค์กรที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงเอ็นจีโอ เพื่อหาเบาะแสเพิ่มเติม 

เขายืนยันว่า เพจหรือแอคเคานท์ทั้งหมดที่ถูกปิด ไม่ได้เป็นเพราะ “เนื้อหา” ที่โพสต์ขึ้นไป แต่เป็นเพราะ “พฤติกรรม” ที่ผิดปกติ 

สำหรับ เพจ และ แอคเคานท์ในไทย ซึ่งถูกสั่งปิดไปทั้งสิ้น 12 แอคเคานท์ และ  10 เพจ เมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น พบการโยงใยเป็นเครือข่าย โดยมีเป้าหมายในไทยและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

เครือข่ายนี้ เริ่มตั้งแต่การสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอม และมีการซื้อบูสต์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม (Engagement) มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ (โพสต์เป็นภาษาอังกฤษ) รวมถึงนำทางคนอ่านหรือผู้ติดตามไปสู่ “เว็บไซต์หนึ่ง” ที่แสร้งทำเป็นเว็บข่าวเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
ตัวอย่างเพจที่เปิดในประเทศไทย ซึ่งเข้าข่ายปลอมแปลงตัวตน และนำเสนอเนื้อหาสร้างความแตกแยก หรือ CIB (Photo credit : facebook newsroom)

จากการเปิดเผยบน facebook newsroom ที่เฟซบุ๊คใช้เพื่อนำเสนอข่าวสารนั้น ได้ให้ข้อมูลว่า เครือข่ายเล็กๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนผู้ติดตามรวมกันราว 38,000 แอคเคานท์นี้ จะมีการนำเสนอเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ บางโพสต์จะติดแฮชแท็ก #Thailand และมีการแชร์เรื่องราวและความคิดเห็นที่สร้างความแตกแยกเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเมืองไทย ปัญหาของคู่ขัดแย้งระหว่างประเทศอื่นๆ  เช่น จีน-อเมริกา รายงานเหตุการณ์การประท้วงในฮ่องกง รวมถึงมีเนื้อหาวิพากษ์กลุ่มแอคทิวิสต์ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย 

แต่อย่างที่บอกในข้างต้น คือ ประเด็นของการตรวจจับไม่ใช่ “เนื้อหา” ที่โพสต์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ส่อให้เห็นการโยงใยเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

ตัวอย่างเพจที่เปิดในประเทศไทย ซึ่งเข้าข่ายปลอมแปลงตัวตน และนำเสนอเนื้อหาสร้างความแตกแยก หรือ CIB (Photo credit : facebook newsroom)

สำหรับเคสของไทย เมื่อสืบสวนลงลึก ก็ได้สาวไปถึง “บุคคล” ที่มีตัวตนจริงในที่สุด ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีถิ่นฐานในประเทศไทยจริง และมีความเชื่อมโยงกับ “New Eastern Outlook” วารสารที่ทางเฟซบุ๊คอ้างว่า ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณโดยรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในมอสโคว

ยิ่งเมื่อดูเปรียบเทียบกับอีก 3 เหตุการณ์ที่ คุณนาธาเนียล ได้นำมาเปิดเผยพร้อมกันนี้ ซึ่งประกอบด้วย

  • การตรวจจับและทำการลบ “18 บัญชี, 9 เพจ และ 3 กลุ่ม” ที่มีพฤติกรรม CIB ที่มีต้นกำเนิดในรัสเซีย และมีเป้าหมายโฟกัสไปที่ประเทศยูเครน

สำหรับกลุ่มนี้ ผู้คนที่อยู่เบื้องหลังการกระทำนี้ได้สร้างตัวตนปลอมๆ ขึ้นมา ทั้งตัวตนที่ไม่มีอยู่จริง ไปจนถึงการนำผู้ที่เสียชีวิตแล้วมาสร้างแอคเคานท์ขึ้นใหม่ โดยทีมงานตรวจพบว่า เหล่าแอคเคานท์ปลอมๆ เหล่านี้ได้โพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและข่าวสารในประเทศยูเครน โฟกัสที่ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณรัฐบาลยูเครน

นอกจากนี้ยังพบว่า เครือข่ายนี้พยายามสร้างความนิยมให้กับเนื้อหา (มีการซื้อบูสต์โพสต์) และเช่นกัน คือ “นำทางผู้คนไปสู่เว็บไซต์ที่อยู่นอกเฟซบุ๊ค” โดยช่วงเวลาที่ตรวจพบ เป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งในประเทศยูเครน 

เพจหนึ่งที่สร้างขึ้นในรัสเซีย โพสต์ข่าวที่มีเนื้อหาใจความว่า “พิธีกรชาวยูเครน จัดรายการโดยแต่งตัวเป็นฮิตเลอร์” (Photo credit : facebook newsroom)
  • การตรวจจับและทำการลบ “83 บัญชี, 2 เพจ, 29 กลุ่มในเฟซบุ๊ค และอีก 5 แอคเคานท์อินสตาแกรม”​ ที่มีต้นกำเนิดในรัสเซีย และภูมิภาคลูฮันสก์ในประเทศยูเครน โดยมีเป้าหมายโฟกัสไปที่ยูเครน 

เครือข่ายที่ตรวจพบนี้ เป็นการใช้บัญชีปลอมเพื่อเลียนแบบตัวตนของสมาชิกภายในกองทัพทหารในประเทศยูเครน จัดการกลุ่มบนแพลตฟอร์มโดยแสร้งทำเป็นชุมชนทหารจริงๆ และเช่นเคย คือ “นำทางไปสู่เว็บไซต์นอกเฟซบุ๊ค”

เครือข่ายนี้ เน้นการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศยูเครนและภูมิภาคลูฮันสก์ โดยผู้ดูแลเพจและเจ้าของบัญชีผู้ใช้มักจะโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับข่าวการเมืองและข่าวท้องถิ่นบ่อยครั้ง รวมถึงประเด็นความขัดแย้งด้านกองทัพทหารในภูมิภาคตะวันออกของประเทศยูเครน บุคคลที่มีชื่อเสียง และนักการเมืองชาวยูเครน เป็นต้น

  • การตรวจจับและทำการลบ “181 บัญชี และ 1,488 เพจ” ที่มีต้นกำเนิดในประเทศฮอนดูรัส และมีกลุ่มเป้าหมายในประเทศ

สำหรับเครือข่ายนี้ ได้มีการใช้บัญชีปลอมและสร้างเพจที่มีหน้าตาเหมือนโปรไฟล์ผู้ใช้งานทั่วไป โดยใช้ชื่อปลอมและภาพสต็อก เพื่อแสดงความคิดเห็นและกระจายเนื้อหาที่ “สนับสนุนประธานาธิบดีของประเทศ” 

ถึงแม้ว่าคนที่อยู่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าวจะพยายามปกปิดตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา แต่การตรวจสอบของทีมงานเฟซบุ๊ค ได้ค้นพบว่าการกระทำบางส่วนได้มีความเชื่อมโยงกับบุคคลที่ดูแลโซเชียลมีเดียให้กับประธานาธิบดีของฮอนดูรัส

ตัวอย่างโพสต์อวยประธานาธิบดีฮอนดูรัส จากแอคเคานท์ปลอมๆ ที่ถูกเฟซบุ๊คสั่งปิดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (Photo Credit : facebook newsroom)

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว น่าจะพอชัดเจน และหายดราม่ากันขึ้นมาได้ว่า เพจหรือแอคเคานท์ที่ถูกปิดไป ไม่ได้มีเป้าหมายโดยตรงกับการเมืองไทยเป็นหลัก โดยถึงแม้ คุณนาธาเนียล จะไม่ได้ชี้ชัดว่า ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน แต่ถ้า “ตั้งใจอ่าน” ก็น่าจะพบความเชื่อมโยงด้วยตัวเองได้อย่างแน่นอน!


  • 925
  •  
  •  
  •  
  •  

Related posts:

Apple-Google-Amazon Top 3 แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุด ปี 2018
  • TAGS
  • election
  • facebook
  • fake account
  • fake news
  • politic
  • propaganda
  • terrorist propaganda
  • การเมือง
  • ข่าวลวง
  • เฟซบุ๊ค
  • แอคเคานท์ปลอม
digi sloth

LATEST STORIES

เมื่อวันที่โลกของเรายุ่งเหยิง แต่ต้องทำแคมเปญให้อิมแพค! จะคว้าหัวใจลูกค้าได้อย่างไร GrabAds เผยทางออก

July 3, 2025

แคมเปญ Subway x Happy Gilmore 2 ไม่แค่ใส่โลโก้แบรนด์ในหนัง แต่สร้างประสบการณ์ที่ต่อยอดออกมานอกจอภาพยนตร์!

July 2, 2025

สรุปดราม่า! มหากาพย์ เที่ยวไทยคนละครึ่ง งงทั้งผู้บริโภค ผู้ประกอบการ มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

July 2, 2025

เปิดวาร์ป! SAMA Garden คอมมูนิตี้สีเขียวแห่งใหม่ย่านบางนา สัมผัสธรรมชาติตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง

July 2, 2025

สไปโนซอรัสบุกเจ้าพระยา! Universal สาดไอเดียโปรโมท Jurassic World Rebirth ตีโจทย์การตลาด Local ผสานพลัง Soft Power ตอกย้ำ ‘ไทย’ โลเคชั่นสำคัญ

July 2, 2025

เจาะลึก ‘Pet Parent’ โอกาสทางธุรกิจที่เป็นมากกว่า ‘เทรนด์ชั่วคราว’ – เมื่อเราอดได้ แต่ลูกต้องอยู่สบายที่สุด!

July 2, 2025

SNOWY JOURNEY STORE x อาสาพาไปหลง ออกเดินทางด้วยใจ แล้วจะหลง (รัก) สิ่งเล็กๆ ตลอดทาง

July 2, 2025
VIEW MORE

MarketingOops!JOBS

View More

TRENDING STORIES

จากความใส่ใจสู่รางวัลแห่งความเป็นเลิศ: กลยุทธ์สร้างความเชื่อมั่นของ 17 ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า ปี 2024

June 18, 2025
5,712

ดูโฮมเปิดเกมรุกสู่ผู้นำ! เปิดตัว “ราคาส่ง ครบ จบ ทุกเรื่องบ้าน” แคมเปญใหม่ที่ตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาดสินค้าก่อสร้าง ซ่อมแซม และตกแต่ง กว่า 4 ทศวรรษ

June 15, 2025
2,953

จาก “บัณฑิต” สู่ “ผู้นำรุ่นใหม่” พลังใหม่ขับเคลื่อน “Sea ประเทศไทย” ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านแพลตฟอร์ม

June 16, 2025
2,901

‘กสิกรไทย’ กับบทบาท ‘Progressive Enabler’ ที่ไม่เคยหยุดเดิน สู่ภารกิจผลักดันทุกเรื่องการเงินของคนไทยให้ไปได้อีก

June 17, 2025
1,607

KBTG สร้างประวัติศาสตร์ดัน Future You คว้ารางวัล World Changing Ideas Awards 2025 จาก Fast Company

June 26, 2025
1,567

รอเพื่อน รอแฟน รอเคลมนาน? วิริยะประกันภัย เจาะกลุ่ม GEN ใหม่ เสนอคุณภาพบริการ ผ่านเนื้อหาแนวสนุก อมยิ้ม ชวนติดตาม

June 26, 2025
1,225

IKEA โชว์ปฏิวัติบรรจุภัณฑ์ จากถุงน็อตพลาสติกสู่กระดาษเพื่อโลก

June 18, 2025
951
VIEW MORE

BUSINESS CASE

ถอดรหัส 4Cs กลยุทธ์มัดใจลูกค้าผ่านการสร้าง “ภาพจำ” ให้แบรนด์

July 2, 2025

ดิอาจิโอ ประกาศแชมป์ Diageo World Class Thailand 2025 สุดยอดบาร์เทนเดอร์ ตัวแทนประเทศไทย ลุยเวทีโลกที่แคนาดา

July 1, 2025

From Lab to Life เมื่อ IBM ใช้ AI ออกแบบโลกใบใหม่ของธุรกิจ 

July 1, 2025

JOURNAL เปิดเกมรุกตลาดบอดี้ออยล์ ทุ่ม 50 ล้าน ดึง “พีพี–กฤษฏ์” เป็นเสียงใหม่ของแบรนด์ พร้อมเป้าหมาย 500 ล้านในปี 2568

June 24, 2025

กลยุทธ์ 9 ปี เส้นทางการ “ปลดล็อกมูลค่า” ของดุสิตธานีภายใต้การนำของ ศุภจี สุธรรมพันธุ์

June 16, 2025
View More

PR NEWS

ทีทีบี เปิดหลักสูตร LEAN รุ่นที่ 20 หนุนธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค เสริมแกร่งธุรกิจด้วย AI และ ESG

July 2, 2025

ลักชัวรี่ กรุ๊ป โดย แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวรายงาน ‘The Intentional Traveler’ เผยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูงใน 7 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก

July 2, 2025

BigPay เจาะลึก 15 พฤติกรรมเดินทางคนกรุงเทพฯ จับมือ BEM ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองด้วยการแตะจ่ายสุดคุ้ม

July 2, 2025

7 ปีแห่งการสร้างคน “ฟู้ดแพชชั่น” ปั้นมาตรฐานศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์การเรียน พร้อมยกระดับธุรกิจสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง   

July 2, 2025

ยิบอินซอยชูจุดแข็ง Systems Integrator ที่เข้าใจธุรกิจไทย รุกตลาดคลาวด์ขึ้นแท่น Master Dealer ของ AIS Cloud

July 1, 2025
View More
Marketing Oops! Facebook
  • facebook.com
  • youtube.com
  • twitter.com
  • line.me
  • instagram.com
  • tiktok.com
  • rss

MARKETING OOPS!

Advertise with us   |   Contact Us

MarketingOops.com was launched in Nov 2008, The number 1 leading digital media and advertising 's publisher in Thailand, to report on an emerging media and digital marketing industry.
The web site covers digital marketing, trends advertising, campaign creative ideas, media, mobile and technology.

Our Partners

Marketing Oops! | © Copyright All right reserved | Discliamer & Policy
Top
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรายอมรับเรียนรู้เพิ่มเติม