“เฟอร์รารี่” ถูกฟ้อง หลังพยายามเทคโอเวอร์ ‘เฟซบุ๊ก แฟนเพจ’ จากพ่อลูกชาวสวิส

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ไม่จำเป็นต้องจบด้านการตลาดโดยตรงก็คงรู้ดีว่าการใช้โซเชียลมีเดีย มีความสำคัญในการสร้างแบรนด์อย่างมากในปัจจุบัน และการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของเว็บเฟซบุ๊กแฟนเพจก็ดูเหมือนว่ากำลังนำเราไปสู่การเผชิญหน้ากับข้อพิพาททางกฏหมายมากขึ้น

ตัวอย่างล่าสุดเกิดขึ้นกับ รถสปอร์ตอิตาลีชื่อดัง “เฟอร์รารี่” ยานพาหนะที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเร็วและความหรูหรา โดนคุณพ่อชาวสวิสและลูกชายฟ้องเฟซบุ๊กและเฟอร์รารี่หลังจากเอาพวกเขาออกจากการเป็นผู้ดูแลเฟอร์รารี่แฟนเพจยอดนิยม

ferrari HILI

“โอลิเวอร์ และ แซมมี่ วาเซม” สองพ่อลูกอ้างว่า พวกเขาดูแลแฟนเพจมาอย่างดี จนกระทั่งมันได้รับความนิยมสูงสุด เป็นเฟซบุ๊กแฟนเพจของเฟอร์ร่ารี่ที่คึกคึกมาก ซึ่งพวกเขาสร้างมันขึ้นมาตั้งแต่ปี 2008 ทั้งนี้ ในคำร้องยังอธิบายว่า แซมมี่ วาเซม เองก็เป็นคนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักแข่งรถฟอร์มูล่าวันอีกด้วย นอกจากนี้ ในปี 2009 แฟนเพจเฟอร์รารี่ที่เขาสร้างมีแฟนๆ แล้วมากกว่า 5 แสนคน

ในเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกันนั้น โอลิเวอร์ วาเซม ได้รับอีเมล์จากพนักงานของ เฟอร์รารี่ ซึ่งระบุว่า “ในทางกฎหมายบังคับให้เรา (เฟอร์รารี่) มีสิทธิ์เข้าดูแลและบริหารเพจอย่างเป็นทางการ” พร้อมกับมีคำสัญญาด้วยว่า “อย่างไรก็ตาม เราจะสงวนสิทธิ์และเพิ่มบทบาทของคุณให้มากขึ้นในเว็บและในชุมชนเพจเฟอร์รารี่แห่งนี้ด้วย”

นอกจากนี้ คำร้องยังอ้างว่า ทางสำนักงานพาณิชย์ออนไลน์ของเฟอร์รารี่ ยังยืนยันถึงความเป็นพาร์ทเนอร์ชิพ ด้วยการเขียนอีเมล์แยกออกมาอีกว่า “เพจของคุณสามารถกลายมาเป็น Official Page และสามารถร่วมมือกับเราในการจัดการดูแลได้อีกด้วย”

ทั้งนี้ จากปี 2009 ถึงปี 2012 แฟนเพจเฟอร์รารี่มีแฟนทั้งสิ้น 9 ล้านคน จากนั้นก็แยกมาทำเพจฟอร์มูล่าวันอีก โดยมีจำนวนแฟนราว 2 แสนคน

ด้านพ่อลูกวาเซม กล่าวว่า เฟอร์รารี่ได้ไปขอความช่วยเหลือจากเฟซบุ๊ก พร้อมกับถูกยุยงให้แตกหักกับครอบครัววาเซม ทำให้ดีลของเค้าค้างเติ่งตั้งแต่ปี 2009 และไม่เคยพูดว่าจะทำการส่งมอบเพจให้แต่อย่างใด พวกเค้าจึงคัดค้าน ซึ่งตอนนี้มูลค่าเพจสูงมากขึ้นและเฟอร์รารี่ เฟซบุ๊กเพจตอนนี้มีแฟนแล้วมากกว่า 16 ล้านคน

“เฟอร์รารี่ต้องการมัน” พ่อลูกวาเซมแถลงในคำคัดค้าน และระบุว่า “ดังนั้น กับเฟซบุ๊กซึ่งเปี่ยมไปด้วความรอบรู้ แข็งแกร่ง และเป็นผู้ช่วยเหลือเฟอร์รารี่ให้ทำสิ่งนี้ เพราะว่าพวกเขาทั้งสองก็ได้ผลประโยชน์ร่วมกันจากสิ่งที่พวกเราวาเซมสร้างด้วย”

วันที่ 31 กรกฎาคม ปี 2012 พ่อลูกวาเซม ได้รับการแจ้งว่าพวกเขาถูกลดความสำคัญลงจาก
co-administrators มาเป็นเพียง “content creators” ซึ่งในวันเดียวกันนั้น โอลิเวอร์ได้เขียนจดหมายไปยัง คลอดิโอ รุสโซ่ พนักงานของเฟอร์รารี่ว่าต้องการตำแหน่งเดิมคืน พวกเขาไม่เห็นด้วย และดำเนินเรื่องขึ้นสู่ศาล

ferrari1

การดำเนินทางการกฎหมายครั้งแรกของพ่อลูกวาเซมกับเฟอร์รารี่นั้นเริ่มต้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013 กับศาลที่สวิส หลังจากนั้นเพียงแค่ 4 วัน เฟอร์รารี่ก็เอาคืนด้วยการฟ้องไปยังศาลที่อิตาลี โดยอ้างว่าพ่อลูกวาเซมได้ละเมิดเครื่องหมายทางการค้าของบริษัท แม้ว่าตัวเฟอร์รารี่เองจะเคยขอให้วาเซมใช้โลโก้เฟอร์รารี่

ต่อมาไม่นาน วาเซมก็ไม่สามารถเข้าถึงเพจฟอร์มูล่าวันได้ และแม้ว่าตำแหน่งเล็กๆ ในการเป็น ‘content creator’ ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน เท่านั้นยังไม่พอตามที่ “แซมมี่ วาเซม” อ้างเขาสูญเสียเพจส่วนตัวของตัวเอง (ในฐานะที่เป็นผู้ใฝ่ฝันอยากจะขี่ฟอร์มูล่าวัน) ไปด้วย โดยปราศจาการการติดต่อจากเฟอร์รารี่แม้แต่น้อย

พ่อลูกวาเซมส่งจดหมายไปถามทางเฟซบุ๊ก เพื่ออธิบายถึงสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกครั้งนี้ และรู้สึกว่าเรื่องเริ่มจะแม่งๆ เข้าไปทุกที ด้านทนายของเฟซบุ๊กได้เรียกทนายของทางวาเซมไปอธิบายว่า ทั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจฟอร์มูล่าวันและเฟซบุ๊กแฟนเพจส่วนตัวของแซมมี่ ถูกแฮกเกอร์เจาะเข้าไปในระบบ โดยสิทธิ์ทั้งหมดจะได้รับการคืนให้ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013

จากนั้นราวๆ สองเดือน เฟอร์รารี่อ้างว่าเพจฟอร์มูล่าวันละเมิดลิขสิขธิ์ทางปัญญา และไม่นานเฟซบุ๊กเพจนั้นก็ไม่เคลื่อนไหวอีกครั้ง

ในคดีนี้ยังเน้นย้ำประเด็นมูลค่าของเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยอ้างอิงจากข้อมูลการศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อปี 2013 ที่ระบุว่า เฟซบุ๊กเพจทั่วไปมูลค่าของ ‘fan’ จะอยู่ที่ 174 ดอลล่าร์ แต่ถ้าเป็นบริษัทรถยนต์แบบ luxury automobile มูลค่าของ ‘fan’ จะมีอัพขึ้นไปอีกมากกว่า 1 พันดอลล่าร์

ทั้งนี้ ทางวาเซมต้องการส่วนแบ่งรายได้ อย่างน้อย 50% ของมูลค่าของเฟอร์รารี่แฟนเพจและฟอร์มูล่าวัน รวมทั้งต้องการตำแหน่ง co-administrators ของเพจคืนมาด้วย

กรณีของเฟอร์รารี่นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเคสเดียว ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็มีลักษณะการฟ้องร้องคล้ายกัน โดยเกิดขึ้นกับ Ikea แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชื่อดัง เป็นการฟ้องร้องเพื่อขอสิทธิ์เทคโอเวอร์เหนือเว็บ Ikeafans.com มาดูแลเอง.

แหล่งที่มา

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!