ส่องวัฒนธรรม ‘การใช้จ่าย’ ในช่วงเทศกาลปีใหม่-คริสต์มาสทั่วโลกเป็นอย่างไร?

  • 134
  •  
  •  
  •  
  •  

ส่องวัฒนธรรม ‘การใช้จ่าย’ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทั่วโลกเป็นอย่างไร?

สุขสันต์วันตรุษจีน- วัฒนธรรม ‘การใช้จ่าย’ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทั่วโลก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ ใช้จ่ายเข้มข้น เป็นอย่างไร ใช้ไปกับเรื่องใดมากที่สุด!อ่านทั้งหมด http://bit.ly/2utxjEo#ปีใหม่#MarketingOops*************************Oops! Podcast 👉 http://bit.ly/2kMq3PTเร็วกว่า มากกว่า อ่านได้ที่เว็บ www.marketingoops.comติดตาม LINE Official Account ค้นหา 👉 Marketing Oops! หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40marketingoopsIG: www.instagram.com/ig_marketingoops/

โพสต์โดย Marketing Oops! เมื่อ วันพุธที่ 22 มกราคม 2020

เทศกาลปีใหม่คืองานรื่นเริงที่ทำให้อบอุ่นหัวใจ feel good ต่อทุกคน และถึงแม้ว่าเทศกาลวันสำคัญของทั่วโลกนั้นอาจจะเกิดขึ้นในวันเวลาที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลนั้นแทบไม่ต่างกันเลย บ้างก็ทุ่มเงินไปที่เทศกาลคริสต์มาส บ้างก็ทุ่มเงินไปที่เทศกาลวันปีใหม่ ในวันนี้อยากจะลองพาย้อนรอยไปตลอดช่วงปี 2019 ว่าแต่ละประเทศนั้นเขามีวัฒนธรรมการใช้จ่ายกันอย่างไรบ้าง

 

  • ญี่ปุ่น’ นิยมให้เงินขวัญถุงมากที่สุดในวันปีใหม่

เทศกาลวันปีใหม่ของประเทศญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ‘Shōgatsu’ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันที่ชาวญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินมากที่สุดเมื่อเทียบกับเทศกาลอื่น

หากมองดีๆ จะเห็นว่าญี่ปุ่นก็มีความเหมือนกับคนไทยอยู่หลายอย่าง เช่น ในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นชาวญี่ปุ่นยังคงเดินทางไปสักการะที่ศาลเจ้าหรือวัด เพื่อทำการ Hatsumōde หรือ การเข้าวัดครั้งแรกของปีใหม่เสริมสิริมงคลให้กับตัวเองซึ่งไม่ต่างกับคนไทยเลย

และที่น่าสนใจ คือ ของขวัญที่ชาวญี่ปุ่นนิยมให้กันและกันมากที่สุดในวันปีใหม่ ก็คือ ‘Otoshidama’ หรือ เงินขวัญถุง โดยผลสำรวจของ Meikō Network Japan ชี้ว่า 38.8% ของผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่น ให้เงินขวัญถุงประมาณ 3,000 เยน (ราว 830 บาท) สำหรับเด็กวัยประถม 4-6 และ 44.4% ให้เงินขวัญถุงประมาณ 5,000 เยน (ราว 1,395 บาท) กับเด็กช่วงวัยมัธยมตอนต้น ทั้งยังระบุเพิ่มด้วยว่า 71.9% ของเงินที่เด็กๆ ได้รับนั้นส่วนใหญ่นำไปซื้อของเล่นและวิดีโอเกมมากกว่าเก็บออม

ส่วนของขวัญที่กลุ่มวัย 20 ปีขึ้นไปนิยมซื้อให้กันมากที่สุด ก็คือ ช็อกโกแลต ยิ่งเป็นรูปร่างน่ารักๆ รูปสัตว์ต่างๆ ยิ่งได้รับความนิยม ส่วนของขวัญที่นิยมเป็นอันดับต้นๆ ตลอดกาล ได้แก่ หนังสือการ์ตูน และ วิดีโอเกม ซึ่งงบประมาณที่ตั้งเป้าไว้สำหรับของขวัญอยู่ที่ 2,000-50,000 เยน (ราว 545-13,819 บาท)

  • วันตุรษจีนใช้จ่ายคึกคักที่สุดใน จีน

เทศกาลปีใหม่ของจีน หรือ ‘วันตรุษจีน’ เราน่าจะดูคุ้นเคยมากที่สุดเพราะมีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ในไทยมาตั้งแต่นมนาน งานวิจัยของ Hurun Research Institute ในเรื่อง ‘China HNWI Gifting White Paper’ ระบุถึงพฤติกรรมของคนจีนว่ามีความน่าสนใจเพราะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ใช้จ่ายอู้ฟู่มากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนประชากรที่มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก และสัดส่วนผู้ที่มีกำลังซื้อก็มีจำนวนมากขึ้นตาม

โดยผลสำรวจชี้ว่า ในปี 2019 มีชาวจีนมากกว่า 50% ที่ใช้จ่ายในวันตรุษจีนเฉลี่ยต่อหัวประมาณ 5,000 หยวน (ราว 21,875 บาท) ซึ่งจำนวนเงินที่ใช้จ่ายนั้นมีจุดประสงค์หลักๆ สำหรับการซื้อของขวัญให้ผู้อื่น และใช้เงินในการปรนเปรอซื้อความสุขให้ตัวเอง ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่อดีต ที่ชื่อว่า ‘Xiao que xin’ นั่นก็คือ การปรนเปรอความสุขเล็กๆ น้อยๆ ให้ตัวเอง ทั้งนี้ ในการสำรวจยังชี้ด้วยว่า นับตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบันสัดส่วนที่ชาวจีนซื้อของขวัญเพื่อเติมความสุขให้กับตัวเองนั้นมีมากขึ้น

ขณะที่ในปี 2019 มีจำนวนคนจีนถึง 67% ที่ปรนเปรอความสุขให้กับตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของขวัญให้ตัวเอง และการซื้อคอร์สดูแลตัวเอง เมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ของขวัญที่ชาวจีนนิยมเลือกซื้อให้กับคนอื่นส่วนใหญ่ยังคงพิจารณาตาม ราคา ความคุ้มค่า และแบรนด์สินค้า ก่อนเสมอ อีกทั้งข้อมูลของผลสำรวจที่น่าสนใจชี้ว่า ในปีที่ผ่านมาสินค้า luxury ต่างๆ ได้กลายมาเป็น 1 ใน 10 ตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับชาวจีนด้วย

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองแม้ว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าในอดีต แต่หากเทียบกับสินค้าอื่นๆ ที่ยังคง popular ตลอดกาลอย่างสินค้า 6 อย่าง ได้แก่ แอลกอฮอล์, ยาสูบ, ชา, ผลไม้, ลูกอม และซองเงินสีแดง เรียกว่ายังไม่มีใครโค่นสินค้าสุด classic เหล่านี้ได้

ส่วน ซองเงินสีแดง ที่บ่งบอกถึงความโชคดี มีลาภ และความปรารถนาดีถึงผู้ได้รับ จำนวนเงินในซองมักจะแบ่งตามอายุของผู้รับ โดยจะอยู่ที่ระหว่าง 100-2,000 หยวน (ราว 437-8,740 บาท)

  • วันปีใหม่ เกาหลีใต้เงินสะพัดที่สุดเน้นใส่เสื้อผ้าตัวใหม่

ในช่วงเทศกาล Seollal หรือ วันปีใหม่ของเกาหลีใต้ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก ตามธรรมเนียมของชาวเกาหลีใต้ เป็นอีกประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับไทย และอีกหลายๆ ประเทศในเอเชีย โดยจะนิยมเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดเพื่อไปเยี่ยมครอบครัว และไหว้บรรพบุรุษทั้งที่มีชีวิตอยู่ และที่ล่วงเลยจากไปแล้ว ตามธรรมเนียมการก้มกราบ ‘seh bae’ นั่นคือ การโค้งคำนับผู้อาวุโส/ผู้ที่ล่วงลับจนถึงพื้น ส่วนตอนเย็นก็มีงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริงกับครอบครัว

แต่ที่น่าสนใจคือ ชาวเกาหลีใต้ค่อนข้างเคร่งครัดทำตามธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะการใส่เสื้อผ้าตัวใหม่เพื่อต้อนรับศักราชใหม่ หรือใส่ชุดประจำชาติ ‘hanbok’ กันทั้งครอบครัว

รายงานของ Korea Herald ชี้ว่า ในปี 2019 ชาวเกาหลีใต้ใช้จ่ายเงินเฉลี่ยต่อคนราวๆ 500,000 วอน (ราว 12,989 บาท) ขณะที่ เงินสด เป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้ใหญ่ให้กับเด็ก แต่ส่วนใหญ่แล้วชาวเกาหลีใต้ยังคงนิยมซื้อของขวัญให้กันมากกว่า โดยตั้ง budget ไว้ประมาณ 100,000 วอนขึ้นไป (ราว 2,578 บาท)

สำหรับของขวัญที่ชาวโสมขาวนิยมซื้อให้กัน กลับไม่ใช่ช็อกโกแลตเหมือนกับหลายๆ ประเทศเอเชียแต่อย่างใด แต่กลับเป็น ของใช้ประจำวัน/อาหารประเภทต่างๆ เซอร์ไพรส์สุดๆ ไปเลย โดยในรายงานระบุว่า ชาวเกาหลีใต้ค่อนข้างใส่ใจกับสุขภาพมากๆ และมีความเชื่อว่าบ้านไหนที่มีข้าวสารอาหารแห้งหรือพวกของใช้จำเป็นภายในบ้านต่างๆ อย่างไม่ขาดแคลน ถือว่าเป็นการเข้าสู่ปีใหม่ที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง (ส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวกับเมื่อในอดีตที่เกาหลีเคยถูกบุกครองโดยญี่ปุ่น เป็นเหตุให้ 2 ประเทศเพื่อนบ้านยังคงไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันมากนักในปัจจุบัน)

ของขวัญ 4 อย่างที่ชาวเกาหลีใต้มักซื้อให้กันตลอดกาล ได้แก่ 1.ชุดอาบน้ำ 2.กระเช้าผลไม้สด/อบแห้ง 3.ชุดเนื้อวัว Hanwoo เป็นวัวที่เพาะพันธุ์และผลิตในเกาหลีใต้เท่านั้น ซึ่งมีราคาแพงมากกว่าเนื้อวัวนำเข้าเรียกว่าเป็นเนื้อวัวเกรดพรีเมี่ยมที่สุดของเกาหลีใต้ และ 4.ชุดอาหารแห้ง เช่น ปลาแห้งเกรดพรีเมี่ยม ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเคียงประจำชาติคนเกาหลี

www.usatoday.com
  •  ‘สหรัฐ’ นักช้อปมือเติบที่สุด 2 ปีติด

ใครจะเชื่อว่าชาวอเมริกันเป็นผู้บริโภคที่ใช้เงินเก่งสุดๆ หมดเงินไปกับเทศกาลไม่รู้เท่าไหร่แล้ว การสำรวจของ Gallup pollsters ชี้ว่า “คริสต์มาส” เป็นเทศกาลที่ชาวอเมริกันหมดเงินไปเยอะที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วชาวอเมริกันใช้จ่ายในวันคริสต์มาสราว 942 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ราว 28,512 บาท) ในปี 2019 เทียบกับปี 2018 เฉลี่ยคนละ 885 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 26,786 บาท) ถือว่าเป็นชาติที่ใช้จ่ายสูงสุดเมื่อเทียบกับชาติอื่นในโลก นับเป็นปีที่ 2 ติดกันแล้ว ตามผลสำรวจของ Gallup pollsters

ส่วนใหญ่ชาวอเมริกันจะหมดเงินไปกับ “ของขวัญ” มากกว่าค่าใช้จ่ายในการตกแต่งต้นคริสต์มาส เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศที่ใช้จ่ายมากที่สุดในวันคริสต์มาส เช่น อังกฤษ และ เยอรมนี โดยงบประมาณในใจสำหรับมูลค่าของขวัญอยู่ที่ระหว่าง 57 ถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐทีเดียว (ระหว่าง 1,725- 30,270 บาท) นับว่าเป็นมูลค่าของขวัญที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

โดยสินค้ายอดนิยมที่มักจะเลือกซื้อให้กันในวันคริสต์มาส ได้แก่ ช็อกโกแลต, เงินสด, หนังสือ และ ไอโฟน

นอกจากนี้ยังมีตัวเลขยืนยันว่า ในภาพรวมชาวอเมริกันใช้จ่ายสำหรับเทศกาลนี้ในปี 2019 ทั้งหมดมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมากกว่า 60% ชาวอเมริกันเลือกซื้อของขวัญทางออนไลน์ เทียบกับปีก่อนหน้านั้นอยู่ที่ 45%

  •  ‘สหราชอาณาจักร’ (UK) โฟกัส family time วันคริสต์มาส

ด้วยพฤติกรรมของชาว UK ที่ค่อนข้างสนิทกับครอบครัว และมีธรรมเนียมที่ใกล้ชิดมากกว่าเมื่อเทียบกับชาวตะวันตก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลจึงมักหมดไปกับการสร้างบรรยากาศโดยรอบให้ดูคึกคักและอบอุ่นหัวใจ เช่น การตกแต่งต้นคริสต์มาส และสังสรรค์มื้อค่ำอย่างอลังการกับครอบครัวบนโต๊ะอาหาร มากกว่าทุ่มเงินไปกับของขวัญ

ทั้งนี้ การสำรวจของ Deloitte forecasts ระบุถึงพฤติกรรมของนักช้อปชาว UK ในช่วงคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดเมื่อเทียบกับเทศกาลอื่น โดยเฉลี่ยแล้วในปี 2019 ชาว UK ใช้จ่ายต่อหัวราว 569 ปอนด์/คน (ราว 22,495 บาท) แต่ที่น่าตกใจคือ มีมากกว่า 50% ของชาว UK ที่จำราคาของขวัญที่เพิ่งซื้อไม่ได้ หลังจากที่พวกเขาซื้อของขวัญเพียง 2 นาที และมีเพียง 16% ที่จำราคาแบบเป๊ะๆ ได้

ส่วนของขวัญที่ได้รับความนิยมซื้อให้กันมากที่สุด 3 อย่างแรก ได้แก่ ช็อกโกแลต, หนังสือ และ น้ำหอม/เครื่องสำอางค์ และสำหรับการให้ของขวัญเป็น ‘เงินสด’ นับว่าได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกันติดอยู่ในลิสต์ Top10 ของการสำรวจครั้งนี้

REUTERS
  •  ‘สงกรานต์เทศกาลใช้จ่ายมากสุดใน ไทย

ไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ค่อนข้างเปิดรับเอาวัฒนธรรมและธรรมเนียมต่างๆ จากทั่วโลกเข้ามามากมาย แต่ยังไงๆ เทศกาลวันปีใหม่ของไทย ‘วันสงกรานต์’ ยังคงเป็นวันสำคัญที่มีการจับจ่ายใช้สอยมากที่สุดอยู่ดี

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ชี้ว่า ในวันสงกรานต์ชาวไทยหมดเงินไปกับหลายๆ อย่าง ตั้งแต่การทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระตามธรรมเนียมซึ่งใช้เงินสูงสุดที่ 10,000 บาท/ครั้ง ไปจนถึงการสังสรรค์ และใช้เงินสำหรับการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ถึง 92% ที่ใช้เงินเฉลี่ยไม่เกิน 5,000 บาท/คน

ขณะที่ ข้อมูลของ Priceza ชี้ว่า ในปี 2019 สินค้าประเภท ‘เสื้อผ้าแฟชั่น’ โดยเฉพาะผู้หญิงขายดีที่สุด โดยมีสัดส่วนการขายถึง 24% ของสินค้าทั้งหมด ตามด้วยผลิตภณฑ์เสริมความงามและดูแลสุขภาพ ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับสินค้าที่นิยมซื้อมาเป็นของขวัญให้กันในช่วงวันสงกรานต์ ได้แก่ เงินสด, กระเช้าผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ เช่น แบรนด์หรือรังนก และ กระเช้าผลไม้สด ซึ่งเป็น 3 อันดับแรกๆ ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดตลอดกาล


  • 134
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE