ใครคิดจะทำงานสตาร์ทอัพฟัง! 6 เหตุผลว่าทำไมงานในสตาร์ทอัพมันไม่สวยหรูอย่างที่คิด?

  • 631
  •  
  •  
  •  
  •  

อีกครั้งที่จะมีบัณฑิตหน้าใหม่เริ่มทยอยหางานทำ หาที่ฝึกงานหรือเตรียมตัวเรียนต่อในวุฒิที่สูงขึ้น กระแสสตาร์ทอัพที่ถูกพูดถึงเรื่อยๆในบ้านเราทำให้เด็กจบการศึกษาใหม่ๆอยากมองหางานทำในสตาร์ทอัพ อย่างที่อเมริกาก็มีเด็กจบใหม่มองหางานทำที่สตาร์ทอัพมากกว่าบริษัทใหญ่ๆอยู่ร้อยละ 30 ตามผลสำรวจของ Accenture เมื่อปี 2016

แต่รู้หรือไม่ว่าการทำงานที่สตาร์ทอัพมันไม่ได้สวยหรูและเท่อย่างที่คาดหวังไว้ คุณอาจจะได้ทำงานในองค์กรที่ไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไหร่ มีอิสระมากกว่า แต่ทุกอย่างมีข้อเสียหมด

และนี่คือความท้าทาย 6 ข้อที่รอคุณอยู่ จนอาจจะทำให้คุณไม่อยากทำงานสตาร์ทอัพอีกเลย

shutterstock_390755965

1. เงินเดือนและผลประโยชน์เอาแน่เอานอนไม่ได้

ฉะนั้นหลังจากที่คุณได้งานในสตาร์ทอัพ ควรต่อรองผลตอบแทนในช่วงที่เราทำงานอยู่ ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่ได้ทุนเยอะ ก็ยิ่งต่อรองผลตอบแทนได้มากขึ้น แล้วแต่ตำแหน่งที่คุณสมัครด้วย แต่ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่ต้องควักเงินตัวเองมาลงทุน (Bootstapping) ก็จะต่อรองได้น้อยหน่อย ส่วนเงินเดือนก็จะเอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่เหมือนบริษัทใหญ่ๆ ไม่มีมาตรฐานว่าเงินเดือนสตาร์ทอัพต้องอยู่ที่เท่าไหร่ ส่วนผลประโยชน์อย่างประกันสุขภาพกับทันตกรรม สตาร์ทอัพหลายเจ้าก็อาจจะไม่ได้มีให้ แต่ถ้าคุณอยากทำงานสตาร์ทอัพจริงๆ คุณก็มองข้ามเรื่องพวกนี้ไปได้เลย

 

2. วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่ว่าก็พัฒนามาจากวิธีที่คนในทีมติดต่อสื่อสารโต้ตอบกับอีกคนว่าแต่ละวันเขาทำกันอย่างไร วิธีการจัดการเรื่องราวต่างๆในสตาร์ทอัพตามปรกติ วิธีที่ทำงานร่วมกัน ถ้าเป็บบริษัทใหญ่ คุณแค่เข้าไปทำงานในวัฒนธรรมที่มันมีอยู่แล้ว มีแนวปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณเป็นพนักงาน 20 คนแรกในสตาร์ทอัพ คุณนั่นแหละที่เป็นคนพัฒนาวัฒนธรรมในองค์กรขึ้นมา ฉะนั้นลืมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ไปได้เลย ยิ่งคุณได้งานสตาร์ทอัพเป็นงานแรก ก็ขอให้ระวัง และถ้าสตาร์ทอัพมัอัตราการละออกสูงละก็ วัฒนธรรมในสตาร์ทอัพจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หาความแน่นอนไม่ได้จริงๆ

 

3. ไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่มีหัวหน้างานชัดเจน

เด็กจบใหม่ที่เพิ่งทำงานในสตาร์ทอัพอาจจะมาจากสิ่งแวดล้อมในรั้วของการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนและสม่ำเสมอ มีพ่อแม่ มีอาจารย์คอยชี้ทางให้ แต่พอมาทำงานในสตาร์ทอัพ ทุกอย่างจะพลิกหมด เป้าหมายก็ไม่ชัดเจน เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ไม่มีใครมาคุมงาน ไม่มีใครมาประเมินว่าเราทำงานเป็นอย่างไรบ้าง คุณอาจจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่รับมือได้ยาก ยิ่งถ้าคุณเป็นเด็กใหม่ไฟแรง ที่คอยหาวิธีปรับปรุงการทำงานของตัวเองอยู่ตลอด สตาร์ทอัพอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่น่าสนใจ คุณจะหาทางปรับปรุงการทำงานของตัวเองแบบสะเปะสะปะ ไม่มีอะไรมาวัดชัดเจนว่าคุณทำงานสำเร็จ

ส่วนใครอยู่ภายใต้คำสั่งใครนั้น สตาร์ทอัพก็ไม่มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนและเปลี่ยนอยู่ตลอด ไม่มีใครบอกคุณได้ว่าใครต้องทำตามใคร ยิ่งผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพและนักลงทุนกดดันตัวสตาร์ทอัพ ทำให้เป้าหมายเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คุณต้องเตรียมใจที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หาความแน่นอนไม่ได้ด้วย

บางสตาร์ทอัพ คุณทำงานโดยไม่มีหัวหน้าด้วยซ้ำ คุณน่ะแหละที่เป็นหัวหน้างานเอง คุณอาจจะรู้สึกดีแต่คุณเองก็อยากได้ใครสักคนมาช่วยติวช่วยสอนงาน จัดการความสำคัญกับงาน เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเติบโตขึ้นเช่นกัน

 

shutterstock_482235484

 

4. ถูกกดดันให้ทำงานตลอดเวลา

ถ้าคุณทำงานสตาร์ทอัพ คุณจะได้รู้สึกเหมือนกับคุณมีเดทลายต้องปั่นงานทุกอาทิตย์ คุณไม่ใช่แค่ทำงานได้ใกล้ชิดกับคนก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ไล่ล่าความฝัน (และรับความเสี่ยงทางการเงินมากกว่าคุณ) แต่คูรอาจจะต้องทำงานกับรุ่นพี่ที่อายุมากกว่าคุณนิดหน่อย ตราบใดที่คุณยังทำงานกับสตาร์ทอัพ คุณจะได้ข้อความส่งในอีเมล ในแชทแอปฯตลอดเวลา คอยบอกว่าคุณต้องทำอะไรบ้างแม้แต่ตอนที่คุณนอนอยู่ ทุกคนมอบหมายงานให้คุณทำแทน และคาดหวังว่าคุณต้องทำให้เสร็จทันเวลา โอยไม่สนว่าคุณจะบ่นอะไรหรือมีคำถามอะไร ถ้าคุณไม่ได้ “Stand by” ขนาดนั้น แนะนำให้คุณหางานในองค์กรใหญ่ที่มีตารางเวลาแน่นอนดีกว่า

 

5. ทรัพยากรก็ไม่ค่อยจะมี

ไม่เหมือนทำงานกับองค์กรใหญ่ๆที่มีแผนกทรัพยากรบุคคล แผนกเทคโนโลยี แผนกการตลาด ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณจะทำงานอย่างไร คุณแค่ของบอบรมจากสตาร์ทอัพ เข้าสัมมนา เข้าเวิร์คช็อป ดู Youtube  ดูเว็บไซต์ที่สอนคุณฟรีๆ พัฒนาทักษะเอาเอง เวลาคุณทำงานกับสตาร์ทอัพ คุณน่ะแหละที่เป็นแผนก คุณทั้งจ้างงาน ทำงานตลาด วางกลยุทธ์ ทำสื่อสังคมออนไลน์ ทำมันทุกอย่าง บางครั้งก็ไม่มีใครมาคอยช่วยคุณทำงาน แต่บางคนอาจจะชอบเพราะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็ไม่ว่ากันอยู่แล้ว แต่ระวังหัวชนฝาละกัน

 

6. การเงินไม่มั่นคง

คุณจะทำอย่างไรถ้าตอนแรกคุณได้งานดี เงินดี แต่อีกปีสองปี นักลงทุนเขาถอนทุนขึ้นมา คุณจะตั้งตัวไม่ทันเอา ต่อให้คุณทำงานหนักขนาดไหน ต่อให้สตาร์ทอัพที่คุณทำงานด้วยมันมั่งคงขนาดไหน ถ้าคุณไม่ตอบโจทย์เป้าหมายของสตาร์ทอัพ ไม่มีทักษาะที่จำเป็น สตาร์ทอัพก็พร้อมจะเอาคุณออกได้ทันที อย่าถือเป็นเรื่องส่วนตัวเลย เขาแค่ไม่มีเงินจ้างคุณ และไม่อยากเสียเวลากับคนที่ไม่ทำให้สตาร์ทอัพก้าวไปข้างหน้า ถ้าอยากทำงานสตาร์ทอัพก็ทำใจกับเรื่องนี้ด้วย

 

อ่านครบ 6 ข้อแล้วยังอยากทำงานสตาร์ทอัพอยู่หรือไม่? ถ้าคิดว่ารับได้หมด ยินดีต้อนรับสู่โลกของสตาร์ทอัพที่มีแต่ความไม่แน่นอน พลาดเมื่อไหร่ก็ขอให้เป็นรสชาติของชีวิตละกัน

shutterstock_563602192

แหล่งที่มา

https://hbr.org/2017/05/6-things-new-grads-should-know-before-joining-a-startup


  • 631
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th