ตอบชัดๆ! กับ 13 ข้อสงสัยคาใจเกี่ยวกับการลงทุนในสตาร์ทอัพ

  • 267
  •  
  •  
  •  
  •  

หากใครติดตามข่าวสารของสตาร์ทอัพที่หาทุนได้เท่านั้น มีมูลค่าเท่านี้จากรอบ Series A หรือ Series B แล้วอาจจะงงว่ามันหมายความว่าอย่างไร ยิ่งเราไม่ได้รู้เรื่องการเงินยิ่งไม่เข้าใจใหญ่

แต่การหาทุนของสตาร์ทอัพเป็นเรื่องจำเป็น และเราในฐานนะสตาร์ทอัพหรือคนที่สนใจจะทิ้งตัวทำสตาร์ทอัพ จะละเลยประเด็นนี้ไปไม่ได้ มาดู 13 ข้อสงสัยคาใจเกี่ยวกับการลงทุนในสตาร์ทอัพกัน

Analyzing financia data

1. ทำไมสตาร์ทอัพต้องหาเงิน?

นักลงทุนเอาเงินใส่เข้าไปในสตาร์ทอัพเพื่อเป็นหุ้นส่วน หวังว่าราคารหุ้นจะเพิ่มขึ้นตามสตาร์ทอัพกลายเป็ยบริษัททใหญ่ๆต่อไป

 

2. สตาร์ทอัพต้องเอาเงินคือนักลงทุนหรือไม่?

ไม่ต้อง แต่ถ้าสตาร์ทอัพเจ๊ง นักลงทุนก็เสียเงินไปเปล่าๆ แต่ถ้าสตาร์ทอัพอยู่รอด เป็นบริษัทมหาชน ก็ทำเงินได้เยอะ

 

3. ทำไมสตาร์ทอัพไม่กู้เงินเลยล่ะ?

ธุรกิจที่ยังไม่แข็งแรงจะกู้ก็ยากทุกที และคนที่ให้กู้ก็ไม่ได้หุ้นส่วนจากสตาร์ทอัพด้วย ธนาคารแค่หวังว่าสตาร์ทอัพจะเอาเงินมาคืนพร้อมดอกเบี้ยแค่นั้นแหละ แต่เราก็ยังเห็นสตาร์ทอัพที่กู้เงินก็อยู่ แม้แต่สตาร์ทอัพที่ชนะได้ทุนจากรอบหาทุน บางกรณีธนาคารก็ถืออหุ้นของสตาร์ทอัพเจ้านั้นนิดๆหน่อยๆด้วย

 

4. แล้วที่พูดถึงมูลค่าเนี่ย มันคืออะไร? แล้วตัวเลขเอามาจากไหน?

มูลค่าที่ว่าก็คือค่าของตัวบริษัทนั้นๆ ซึ่งที่มาของตัวเลขนั้นซับซ้อนจริงๆ โดยเฉพาะมูลค่าของสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มกิจการ สตาร์ทอัพหล่ยๆเจ้าระดมทุนได้ก่อนที่จะมีรายได้เสียอีก ฉะนั้นมันก็เป็นเพียงแค่พนันกันว่าสตาร์ทอัพที่ว่าจะเติบโตขยายใหญ่ขึ้นสักวัน

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่รู้ที่มาของตัวเลขนั้นเลย เพราะตัวเลขก็มาจากการประมาณการจากขนาดของตลาดที่สตาร์ทอัพนั้นมีสินค้าและบริการนั้นอยู่ เมื่อสตาร์ทอัพนั้นโตขึ้น ก็เอารายได้ อัตราการเติบโต ความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ เช่นเอาเข้าตลาดหุ้น มาใช้ประมาณการมูลค่าของตัวบริษัท

 

5. แล้วสตาร์ทอัพต้องมัมูลค่าสูงๆเท่าที่เป็นไปได้หรือเปล่า?

ไม่จำเป็น เพราะยิ่งมูลค่าสูง หุ้นก็ต้องเยอะขึ้นหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าสตาร์ทอัพหาเงินได้ 500 ล้านเหรียญ ขายหุ้นไป 200 ล้านเหรียญ หมายความว่านักลงทุนที่ซื้อหุ้นที่มีมูลค่าสูงกว่าก็เสียเงินไป และอาจเป็นข่าวร้ายสำหรับพนักงานที่มีการชดเชยทุนหากทำงานให้กับสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงขึ้น

 

6. แล้วการหาทุนแต่ละรอบมีความหมายอย่างไรกับพนักงานประจำในสตาร์ทอัพนั้น?

สตาร์ทอัพมักจะล่อพนักงานด้วยแพคเกจสวัสดิการและเงินชดเชยดีๆ ถ้าสตาร์ทอัพโตขึ้นกลายเป็นบริษัทมหาชน หุ้นก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีพนักงานทำงานกับสตาร์ทอัพในช่วงต้นๆของกิจการ มูลค่าของหุ้นและทุนก็เติบโตไปด้วยกัน ตอนแรกสตาร์ทอัพก็ให้เงินกับพนักงาน จนกว่าบริษัทจะประกาศขายหุ้นรอบแรก แต่แล้วสตาร์ทอัพหลายๆที่ก็อนุญาตให้พนักงานได้ขายหุ้นของตัวเองในรอบต่อไป และหุ้นที่ถูกขายก็มีมูลค่าหุ้นล่าลุด

แต่ถ้าสตาร์ทอัพเกิดไปไม่รอด พนักงานก็จะไม่ได้เงินสักบาทจากหุ้นเลย

 

7. Seed Round? Series A? หมายความว่าอย่างไร?

คำพวกนี้ไว้เรียกลำดับขั้นของการลงทุนในสตาร์ทอัพ Seed Round คือการระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพระยะแรก และรอบต่อไปคือ Series A ในแต่ละรอบก็จะมีนักลงทุนที่มีความสามารถต่างกันและมีชื่อเรียกต่างกันเช่น “seed-stage funds” หรือ “late-stage funds.”

 

8. Angel Investor และ Venture Capitalist ต่างกันอย่างไร?

Angel Investor เอาเงินตัวเองลงทุน ส่วน Venture Capitalist (VC) บริหารจัดการกองทุน และทุนอื่นๆที่มาจากสถาบันทางการเงิน บุคคลทั่วไป เงินบำนาญ เงินทุนจากมหาวิทยาลัย เป็นต้น

VC ก็จะประมาณการวงจรอายุของกองทุนสัก 10 ปีและหวังผลตอบแทนหลังจากครบรอบอายุผ่านไป นักลงทุนจะลงทุนในหลายๆสตาร์ทอัพ รู้ดีว่าหลายๆเจ้าต้องไปไม่รอด แต่หวังว่าจะมีสตาร์ทอัพเจ้าสองเจ้าที่ดีที่สุดจะทำงเงินคืนทุนที่เสียและให้ผลตอบแทนกลับมา

 

9. สตาร์ทอัพเอาเงินไปทำอะไร

เอาไปเร่งให้กิจการโตขึ้น เช่นจ้างคนเพิ่ม ทำการขายและการตลาดเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายในการผลิต เรื่องปรกติของธุรกิจ

 

10. สตาร์ทอัพต้องหาทุนบ่อยแค่ไหน?

สตาร์ทอัพหลายเจ้าก็หาทุนทุกปีสองปี แล้วแต่ว่าเงินในธนาคารมีอยู่เท่าไหร่ อยากได้เงินอีกเท่าไหร่ นักลงทุนอีกกี่คนที่อยากลงทุนกับคุณ หลายสตาร์ทอัพหาทุนได้ก่อนที่จะต้องการเงินเสียอีก แบบนั้นจะทำให้เกิดปัญหาตามมาแน่ๆ

 

11. เราจะได้นักลงทุนได้อย่างไร?

มีข้อเสนอธุรกิจดีๆแน่นๆไม่พอ ต้องมี “Connection” ด้วย เพราะปกตินักลงทุนก็ต้องเจอกับการนำเสนอจากสตาร์ทอัพทุกวันแทบล้นอินบ๊อกซ์อยู่แล้ว ทางทีดีที่สุดคือจะต้องมีใครสักคนที่แนะนำคุณให้นักลงทุนรู้จัก นักลงทุนไม่ได้ลงทุนในตัวสินค้าหรือบริการ แต่เขาลงทุนใน “ตัวคุณ” คุณที่จะทำไอเดียธุรกิจที่คุณคิดให้เป็นจริงให้ได้ ไม่ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

ฉะนั้นหยุดส่งข้อความไปหานักลงทุนได้แล้ว ออกไปตามงานอีเวนต์ของวงการสินค้าและบริการที่สตาร์ทอัพของเราเกี่ยวข้อง ไปกระซับมิตรกับทุกคนซะ

 

12. แล้วจะเลือกนักลงทุนยังไงดี?

หลังจากที่กิจการได้รับความสนใจได้ในระดันหนึ่ง สตาร์ทอัพก็ต้องเลือกนักลงทุน ซึ่งชื่อเสียงของตัวนักร่วมลงทุนเองก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เราเลือกนักลงทุนที่ดีได้ นักลงทุนที่น่าเชื่อถือก็สามารถทำให้สตารทอัพของเราน่าเชื่อถือได้เช่นกัน ช่วยให้ธุรกิจของเราหาพาร์ทเนอร์ได้ง่ายขึ้น จ้างคนได้ง่ายขึ้นด้วย เลือกนักลงทุนที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่กิจการของเราอยู่ นักลงทุนพวกนี้จะช่วยแกไขปัญหาและแนะนำสตาร์ทอัพของเราสู่สาธารณะได้

 

13. หาเงินได้เป็นล้านๆ แปลว่าประสบความสำเร็จใช่หรือไม่?

บางทีก็ไม่ใช่ สตาร์ทอัพหาเงินได้เป็นพันๆล้านก็มี สตาร์ทอัพหลายๆเจ้าก็ทำแบบนั้นไม่ได้และต้องปิดกิจการไป คนที่ฉลาดและขยันๆมีไอเดียดีๆ จะกล้าชนความท้าทายทกุอย่างที่ขวางหน้า ถ้าเราตามนวัฒกรรมบนโลกนี้ไม่ค่อยทัน โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ๆตัดสินใจที่จะมาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของคุณ แต่ถ้าคุณมีไอเดียดีๆ อย่าได้กลัวไป พนันกันสักตั้งไปเลย

Looking at data

แหล่งที่มา

WTF is a funding round?


  • 267
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th