เรารู้อะไรเกี่ยวกับสตาร์ทอัพบ้างล่ะ ไม่ใช่ทีมของเรา ไม่ใช่สินค้าของเรา ไม่ใช่คู่แข่งของเราด้วย จริงๆเรารู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจของเรานั้น “แข็งแรง”?
เรามีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ข้อมูลแบบไหนล่ะ? ปัญหาคือเรามีข้อมูลอยู่เยอะเกินไป ถ้าใช้ข้อมูลมาวัดคำนวนค่าของตัวชี้วัดผิดจะทำให้ธุรกิจของเราตกอยู่ในอันตรายมากกว่า
แบบนี้ไม่วัดเลยดีกว่า
อย่างไรก็ตาม หากเพิ่งเริ่มทำสตาร์ทอัพ ข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์กับเรามาก ถ้าเราใช้เป็น รู้จักตัวชี้วัดดีพอ และโฟกัสกัตัวชี้วัดสำคัญๆ เพราะบางตัวก็ให้ภาพรวมของสตาร์ทอัพของเราเสียดีเกินไปจนไม่น่าเชื่อ มองโลกในแง่ดีมันก็ดี แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าไม่มีสตาร์ทอัพที่ไหนมีแต่ข้อดี เราต้องมองด้านอื่นๆอย่างต้นทุนของกิจการด้วย
ฉะนั้นหากเรากำลังทำสตาร์ทอัพ ขอให้เราจับตา 5 ตัวชี้วัดสำหรับสตาร์ทอัพตามนี้เลย
1. “ค่าใช้จ่ายต่อเดือน” ที่ยังไม่มีรายรับ (Burn rate):ไม่ว่าจะเป็นต่ออาทิตย์หรือแต่เดือน เช่นเงินเดือน ค่าเช่า และค่าใช้จ่ายอำนวยความสะดวกอื่นๆ หาก Burn Rate สูงแปลว่า บริษัทปรับตัวตามตลาดได้ช้าลง เปลี่ยนแปลงยาก ปลดคนออกยาก อยู่กินเงินเดือนไปเรื่อยๆ แก้ปัญหาด้วยการจ้างคนเข้ามาเพิ่ม ไม่ดีต่อบริษัทในระยะยาว เพราะบริษัทต้องมีเงินเข้ามาบ้างเพื่อดำเนินกิจการต่อไป ไม่ใช่ใช้เงินที่มีอยู่แล้วอย่างเดียว
2. งานระหว่างกระบวนการ(Work in Progress): สำคัญมากสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ในภาคบริการ ซึ่ง WIP จะสรุปรายได้ที่สตาร์ทอัพจะได้ตั้งแต่งเริ่มเปลี่ยนวัตถุดิบ เข้ากระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป ช่วยให้เราจำกัดปริมาณงานที่ทำได้ในเวลาหนึ่งๆจะช่วยให้งานเสร็จมากขึ้น วางแผนการใช้เงินทุนและขยายการดำเนินการด้วย ปรกติแล้ว WIP จะดูกันทุกอาทิตย์ สะท้อนว่ากิจการของเรายังปลอดภัยดีอยู่หรือไม่ ตราบเท่าที่มีกระแสเงินสดอยู่
3. กระแสเงินสด (Cashflow): กระแสเงินสดจะช่วยให้เราเข้าใจดุลเงินสดของกิจการ เนื่องจากเงินสดมีสภาพคล่องสูงสุด ขอให้ดูกระแสเงินสดสุทธิ (กระแสเงินสดรับ ลบ กระแสเงินสดจ่าย) หากละเลยการพิจารณาปัญหาในขณะที่กระแสเงินสดของธุรกิจกำลังติดลบอยู่ เราก็จะไม่รู้ว่าเงินสดไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย นั่นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การดำเนินกิจการหยุดชะงัก หากรู้ล่วงหน้า เราก็จะได้เตรียมเงินสดไว้ใช้จ่ายนั่นเอง
4. Marketing Funnel: ทำให้เราเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ลูกค้ารับรู้การมีตัวตนของแบรนด์ของสินค้าไปจนถึงการใช้และมีความเห็นเกี่ยวกับสินค้า กิจการสามารถเน้นและพัฒนาเนื้อหาและทรัพยากรป้อนช่องทางที่ลูกค้าเห็นหรือรับรู้สินค้าของเราได้ ถ้าใช้ Marketing Funnel ดีๆเราสามารถทำนายพฤติกรรมของลูกค้าไว้ล่วงหน้าได้ไม่ยาก
5. รายได้และกำไรที่ขั้นต้น (Revenue and margin): สำหรับสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่ม อย่าเพิ่งโฟกัสไปที่ไม่ใช่กำไรขาดทุน ทั้งนี้เพราะว่ากว่าเราจะคืนทุนก็อีกนาน ฉะนั้นต่อให้ตัวเลขบอกว่าสตาร์ทอัพของเราขาดทุน ก็อย่างเพิ่งใจเสีย โฟกัสไปกับมาร์จิ้นดีกว่า ซึ่งมาร์จิ้นเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ ขอให้ควบคุมต้นทุนและราคาไว้เพิ่อทำกำไรสูงสุด
Source: Copyright © MarketingOops.com