7 สาเหตุง่ายๆดับอนาคตแอปพลิเคชั่นมือถือของสตาร์ทอัพหน้าใหม่

  • 100
  •  
  •  
  •  
  •  

เทคโนโลยีเป็นของคู่กันกับสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทดีไวซ์ ฉะนั้นสตาร์ทอัพน้อยใหญ่จึงหันมาพัฒนาแอปพลิเคชั่นหวังจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและทำรายได้ไปพร้อมๆกัน แต่ความจริงคือไม่ใช่เราคนเดียวที่สนใจในการพัฒนาและขายแอปพลิเคชั่น การแข่งขันในวงการนี้จึงสูงขึ้นเรื่อยๆ

เราจึงไม่อยากให้คุณประมาทพลาดท่าคู่แข่งในเรื่องง่ายๆ เลยขอบอก 7 สาเหตุง่ายๆที่สามารถดับอนาคตของแอปพลิเคชั่นมือถือที่คุณภูมิใจสุดๆ

 

1. พัฒนาแอปฯแบบผิดๆ

เราต้องติดสินใจว่าจะทำแอปฯแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นแอปฯซึ่งโหลดได้จาก App Store หรือ Google Play (แบบ Native), แบบ Mobile Friendly ที่เปิดจากบราวเซอร์บนมือถืออย่าง Safari หรือ Chrome หรือแบบที่ผสมกันทั้งสองอย่าง (แบบผสม)

การพัฒนาแอปฯแบบNative แม้มีต้นทุนสูงแต่ก็มอบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานได้ดีกว่า ใช้ ง่ายและเร็วกว่าแบบผสม แต่การพัฒนาแอปฯแบบผสมจะมีต้นทุนที่ประหยัดกว่าแบบ Native

แต่การทำแอปฯแบบ Native ก็ใช่ว่าจะดีสำหรับทุกๆสตาร์ทอัพ เพราะว่ากันตามตรงแล้ว รูปแบบการพัฒนาแอปฯจะมีผลกระทบในงานส่วนอื่นๆของสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะการทำการตลาดให้กับแอปฯ

spotify-newlook-iphone-artist-outdoor

ฉะนั้นลองตอบตัวเองให้ชัดเจนว่างบตอนนี้มีอยู่เท่าไร่ มีตารางงานและกำหนดการหรือไม่ แอปฯของเรามีฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับระบบปฎิบัติการ OS หรือไม่ และมีอะไรบ้าง ประสบการณ์แบบไหนที่อยากให้ผู้ใช้แอปฯของเราพอใจ

 

2. แอปฯมีฟีเจอร์มากเกินจำเป็น

เพราะเราชอบคิดว่ายิ่งมีฟีเจอร์เยอะยิ่งดี สตาร์ทอัพหลายเจ้าจึงประสบปัญหามานักต่อนักแล้ว

ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะคนชอบใช้แอปฯง่ายๆ เร็ว และสะดวก ถ้าเจอแอปฯที่ยัดฟีเจอร์ 20 กว่าตัว แอปฯนั่นจะยุ่งยากสำหรับผู้ใช้แอปฯทันที และไม่ใช่ทุกคนหรอกที่อัพเดทฮาร์ดแวร์ตลอดเวลา ทำให้แอปฯของเราทำงานช้าลงและกลายเป็นแค่ไอคอนรกหน้าจอไปเลย

logo2

ฉะนั้นขอใส่ฟีเจอร์ในแอปที่จำเป็นจริงๆ ออกแบบแอปให้เรียบง่าย สะอาดตา เอาเวลาเหลือๆไปพัฒนาการใช้งานในแอปฯเพิ่มประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีกว่า อย่าเสียเงินเสียเวลายัดฟีเจอร์เพิ่มอีกเลย

 

3. ลืมคิดถึงแพลตฟอร์มที่แอปฯไปอยู่

ระบบปฏิบัติการ iOS อาจจะนิยมในอเมริกา แต่ Android ก็ใช้ทั่วโลกเช่นเดียวกัน นักพัฒนาแอปฯส่วนมากมักเลือกพัฒนาบน iOS เพราะเชื่อว่าแอปฯบน iOS ทำรายได้ง่ายๆในแอป สโตรอย่างเดียว แต่การทำแอปฯบนแพลตฟอร์มเดียวทำให้เราเสียโอกาสเข้าหาผู้ใช้งานหน้าใหม่จำนวนมากอย่างน่าเสียดาย ถึงแม้ว่าแพลตฟอร์มนั้นจะทำเงินให้เราได้จริงก็ตาม

phones-android-iphone

ฉะนั้นหากต้องการให้แอปฯของเราให้บริการในหลายๆประเทศ เราควรพัฒนาแอปฯที่รองรับทุกแพลตฟอร์มๆด้วย

 

4. ไม่ให้ความสำคัญกับการทดสอบการใช้งานของแอปฯ

น่าตกใจที่กว่าร้อยละ 50 ของผู้ใช้แอปฯจะลบแอปฯนั้นทิ้งถ้ากดโหลดใช้งานไม่ขึ้นภายใน 3 วินาทีหรือน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ ผู้ใช้แอปฯจะไม่ให้อภัยแอปฯตัวนั้นเลย

แต่นักพัฒนาแอปฯส่วนมากกลับละเลยเรื่องนี้ไปและรีบพัฒนาแอปฯให้เสร็จๆและทดสอบแบบลวกๆ ทำให้นักพัฒนาแอปฯไม่เรียนรู้จุดบกพร่องเพียงพอและเสริมจุดแข็งที่จำเป็น และไม่ทดสอบไปเรื่อยๆจะได้แอปฯที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ สุดท้ายแอปฯที่พัฒนามาก็ใช้งานไม่ได้จริงและไม่ได้รับความนิยม

ฉะนั้นให้คิดว่าการทดสอบแอปฯเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแอปฯ ใส่ใจกับการทดสอบแอปฯให้มากกว่านี้ จนกว่าแอปฯของเราจะได้คุณภาพและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งการทดสอบแอปฯที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เราต้องทดสอบทุกฟีเจอร์และฟังก์ชั่นไปเรื่อยๆหลายๆรอบ พูดคุยกับคนที่ใช้งานจริง

Flat UI design kit

ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบการใช้งานในแอปฯด้วย เพราะต่อให้แอปฯนั้นออกแบบมาดี ใช้แล้วประทับใจ แต่ถ้าการใช้งานไม่เป็นไปตามที่ผู้ใช้แอปฯคาดไว้ทั้งในเรื่องของฟังก์ชั่น ฟีเจอร์และการออกแบบ ระวังผู้ใช้ก็จะลบแอปฯคุณทิ้งและโหลดแอปฯของคู่แข่งของเรามาใช้แทน

 

5. ลืมคิดถึงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้แอปฯจริง

ฉะนั้นเริ่มจากนึกถึงผลลัพธ์ที่เราควาดหวังซึ่งก็คือประสบการณ์การใช้งานที่เราอยากให้ผู้ใช้แอปฯของเราได้รับ ลองคิดถึงกระบวนการตั้งแต่ผู้ใช้งานจะรู้จักแอปฯของเรา ไปจนถึงผู้ใช้งานโหลดใช้แอปฯ เพราะการคิดแบบนี้จะทำให้เราระบุขั้นตอนที่มีปัญหาเพื่อจะได้แก้ไขเยียวยาได้ตรงจุด สุดท้ายอย่าลืมทำแอปฯหลายๆลักษณะ ทดสอบการใช้งานและคอยสังเกตประสบการณ์ที่ผู้ใช้แอปฯได้รับจากแต่ละแอปฯที่ต่างกัน

Business People Planning Strategy Analysis Office Concept

 

6. ไม่มีแผนการตลาดที่เข้าท่า

เพราะสตาร์ทอัพหลายๆเจ้ามัวแต่ดูยอดคนที่ดาวน์โหลด แต่ยอดจำนวนที่ดาวน์โหลดสูงๆไม่ได้การันตีว่าแอปฯของเราจะประสบความสำเร็จ ฉะนั้นหาทางให้แอปฯของเราหาง่ายๆในแอป สโตร์เข้าไว้ คิดถึงช่องทางหลายๆช่องที่ผู้ใช้แอปฯจะเจอแอปฯของเรานอกจากแอป สโตร์ ใส่รายละเอียดของแอปฯอย่างเช่นหัวเรื่อง คำอธิบายและคำสำคัญด้วย

หลายๆ ครั้งที่รีวิวของแอปนั้นๆจะมีแต่ความเห็นที่ไม่ดีจากผู้ใช้ที่ไม่พอใจในการใช้แอปฯ อย่างไรก็ตามอย่าลืมกระตุ้นให้คนที่พอใจกับแอปฯเขียนรีวิวดีๆให้แอปฯของเราด้วย เพราะความเห็นดีๆพวกนี้จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้แอปฯหน้าใหม่ๆดาวน์โหลดด้วย

google-play-930x479

พูดง่ายๆก็คือ จงสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทุกๆช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ Facebook หรือ Twitter ใส่คำสำคัญ คำอธิบาย และภาพหน้าจอ ให้รู้ว่าสตาร์ทอัพของเรามีแอปฯพร้อมให้บริการแล้ว

 

7. ไม่สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานเลย

เมื่อไร่ก็ตามที่ผู้ใช้แอปฯโหลดแอปฯของเราลงเครื่องแล้ว นั่นหมายความว่าผู้ใช้แอปฯมี “เรา” อยู่ในเครื่องติดตัวไปด้วย ฉะนั้นคว้าโอกาสนี้ไว้ให้ดี เร่งสร้างความสัมพันธ์ เชิญชวนให้ผู้ใช้แอปฯเข้ามาใช้แอปของเราอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะปัจจุบันที่ลูกค้านั้นมีความควาดหวังไว้สูงเหลือเกิน อีกทั้งเราต้องทำให้ผู้ใช้งานให้ความเห็นและร้องเรียนการใช้งานในแอปและช่องทางอื่นๆได้ง่ายๆ ถ้าจะให้เยี่ยม ต้องฟังผู้ใช้แอปฯเป็นประจำก่อนที่จะได้รับเรื่องร้องเรียน

20141103175200-how-market-generation-z-kids-who-already-have-44-million-dollars-spend

อย่าลืมกระตุ้นให้ผู้ใช้แอปฯให้เรตติ้ง เขียนรีวิว และใช้แอปฯของเราเป็นประจำ ไม่ว่าจะแจ้งเตือน แสดงภาพหน้าจอหรือคลิประหว่างใช้งานกระตุ้นยอดขายของแอปฯ ให้ชื่อแอปฯปรากฎในช่องค้นหา ไอคอนของแอปต้องโดดเด่นจากแอปฯของคู่แข่ง แสดงถึงบริการของเราที่ชัดเจนในเรื่องของสีและการออกแบบ และส่งอีเมลให้กลุ่มเป้าหมายใส่รายละเอียดของแอปฯของเราพร้อมลิงค์ด้วย

 

สุดท้ายการพัฒนาแอปฯตัวหนึ่งก็เป็นการคิดล่วงหน้าให้รอบคอบและตอบว่าเราต้องการอะไร ทำไมเราต้องการแอปฯตัวนี้ แล้วใครจะต้องการแอปฯตัวนี้อีก คำตอบเหล่านี้จะกลายเป็นแผนไว้ลงมือปฏิบัติก่อนทำเงินจากแอปฯ ถ้าเรารู้ความผิดพลาดเหล่านี้ล่วงหน้า และหลี่กเลี่ยงได้ เราก็จะมีแอปฯที่ทุกคนอยากใช้ได้ไม่ยากเลย

 

แหล่งที่มา

https://www.techinasia.com/talk/8-blunders-making-mobile-app-face-premature-death


  • 100
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th