เปิด White Paper ถึงรัฐบาล ข้อเสนอเพื่อสร้าง Startup Ecosystem ในประเทศไทย

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

ThinkstockPhotos-479329500

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา Startup เชื้อสายไทย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้รวมกลุ่มกันเพื่อจัดทำสมุดปกขาว หรือ White Paper เพื่อเสนอรัฐบาล อ้างอิงจากที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุน Startup อย่างชัดเจน แต่ปัญหาคือ ความเข้าใจในนิยามของ Startup ที่อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้มาตรการสนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐบาลนั้น ไม่ตรงกับความต้องการของ Startup เรียกว่า เกาไม่ถูกที่คัน

จากการหารือกันจึงเกิดเป็นคณะกรรมการ Startup แห่งชาติ หรือ National Startup Committee ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวกับ Startup และ White Paper ได้ถูกเสนอไปที่คณะกรรมการชุดนี้ เพื่อเสนอต่อ ครม. ซึ่งข่าวล่าสุดคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบด้วยกับ White Paper ฉบับนี้

สำหรับเนื้อหาใน White Paper ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ แต่สามารถสรุปใจความสำคัญบางส่วน เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะในเบื้องต้น พร้อมกับยังเปิดรับแนวคิดเพิ่มเติมตลอดเวลา โดยเป้าหมายของ White Paper มี 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย

ThinkstockPhotos-482360048

1. ทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถแข่งขนกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างทัดเทียม โดยเฉพาะ สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่นำหน้าประเทศไทยอยู่หลายก้าว

2. ดึงดูดนักลงทุนคุณภาพมาประเทศไทย นั่นหมายถึงโอกาสในการขยายธุรกิจ และขยายตลาดของ Startup ไทย

3. หาทางออกหรือ Exit Strategy ให้กับ Startup ไทย เมื่อมีนักลงทุน หรือเจ้าของธุรกิจ สนใจซื้อกิจการไปบริหารต่อ

จากการสำรวจความต้องการพบว่า Startup ไทย มีความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ทั่วโลก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค และกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ กลายเป็นข้อจำกัด และทำให้ Startup ที่มีฝีมือ หลายรายตัดสินใจไปจดทะเบียนบริษัทที่ต่างประเทศ เพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้

เพื่อแก้สภาพที่เกิดขึ้น พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดการลงทุน สร้าง Ecosystem ที่ดีสำหรับ Startup ต่อไปนี้คือ ข้อเสนอ 3 ประการในเบื้องต้นที่อยู่ใน White Paper

13073066_10153391912426020_967812280_o

1. สิ่งแรกที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงคือ กฎหมาย ที่ไม่เอื้อต่อการเติบโต ซึ่งมีอยู่หลายส่วน แต่ส่วนที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น

– ESOP/Vesting หรือการออกหุ้นให้กับพนักงาน ซึ่งบริษัทจำกัด ไม่สามารถทำได้

– Cap Gain Tax หรือ การยกเว้นภาษีกำไร ซึ่งปัจจุบันหาก Startup ขายกิจการได้กำไร อาจโดนภาษีอัตราสูงสุด 35%

– Dividend Tax หรือ การยกเว้นภาษีเงินปันผล

– Foreign Talent Visa หรือ การแก้ไขกฎหมาย พรบ. ต่างด้าว เพื่อดึงดูดให้ Tech Talent จากทั่วโลก สนใจมาทำงานที่ไทย

ยังมีกฎหมายอีกหลายส่วนที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการช่วยปลดล็อก Startup ให้สามารถเติบโตได้

2. ภาครัฐควรกำหนดโจทย์ความต้องการ และนำผลงานของ Startup ไปใช้งานจริง พร้อมกับให้ Reference

VC เกือบทั้งหมดจะให้ความสนใจ Startup ที่สามารถทำตลาดระดับโลกได้ เพราะหมายถึงมูลค่าธุรกิจที่สูงกว่า ดังนั้นหากรัฐบาลกำหนดโจทย์ความต้องการให้ Startup ทำการ Disrupt หรือแก้ไข และนำผลงานของ Startup ไปใช้จริง และให้ Reference จะเป็นการช่วยส่งออก Startup ไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น เช่น สิงคโปร์ ที่ใช้นโยบายนี้อยู่ และสามารถส่งออก Startup ได้หลายราย

3. การให้เงินลงทุนแบบ Matching Fund

ในประเทศไทยมีการสำรวจพบว่า มีเงินทุนที่พร้อมจะเสี่ยงลงทุนใน Startup ในระดับที่ต่ำ เพราะมีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนอยู่พอสมควร ซึ่งมีกฎหมายอยู่จำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะอาจมีผลเสียมากกว่าผลดี รวมถึงการกำหนดนิยามคำว่า Startup ก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้ VC ที่ผ่านการคัดเลือกของ National Startup Committee หากมีการลงทุนใน Startup ตามหลักเกณฑ์กำหนด ให้ถือว่า Startup รายนั้นจะได้รับเงินทุนจากรัฐบาล

13036566_10153391913651020_372284992_o

ทั้งนี้ จะมีการกำหนดคุณสมบัติของ VC เป็นข้อๆ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการใช้ดุลยพินิจจากนั้น VC ที่เลือกลงทุนใน Startup ตามที่หลักเกณฑ์กำหนด จะให้ถือว่า Startup นั้นมีคุณสมบัติผ่าน และได้รับเงินทุน Matching Fund จากรัฐบาลด้วย และ VC จะทำหน้าที่ Monitor แทนภาครัฐ

ทั้งหมดเป็นเพียงข้อเสนอในเบื้องต้นจาก White Paper ซึ่งเป็นผลงานของทีมงานจากสมาคม Thailand Tech Startup รวมถึงผู้เชี่ยวชาญอีกหลายรายทำการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ออกมาได้ค่อนข้างครบถ้วนและครอบคลุมพอสมควร เป็นประโยชน์ทั้งกับ Startup และประเทศชาติ เพราะในสถานการณ์ที่เทคโนโลยีกำลังเข้ามา Disrupt สภาพแวดล้อมเดิมๆ จะมีธุรกิจดั้งเดิมจำนวนไม่น้อย ค่อยๆ ทยอยล้มหายตายจากไป ซึ่งกุญแจสำคัญของการอยู่รอดคือ Startup ที่จะเข้ามารับมือการเปลี่ยนแปลงนี้

มาร่วมกันรอดูข้อมูลจาก White Paper ฉบับสมบูรณ์ที่จะมีการประกาศตามมาในเร็วๆ นี้ รวมถึงรอดูผลจากข้อเสนอที่รัฐบาลจะรับไปพิจารณาปรับปรุง เพื่ออนาคตที่ดีกว่าเดิม


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •