ประเทศไทยจะก้าวไปเป็นดิจิทัลไทยแลนด์ตามแผนพัฒนาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน หนึ่งในแผนคือการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ลองไปดูกันว่าแผนการครั้งนี้มีแนวทางอย่างไร จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง และประชาชนยุคดิจิทัลต้องเตรียมตัวอย่างไร นี่คือ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (59-61) โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA)
อันดับแรกต้องรู้ตัวเองก่อนว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้าง ในร่างของแผนได้ระบุอุปสรรค 5 ประการที่รัฐบาลต้องฝ่าฟัน
1) การพัฒนาของภาครัฐขาดวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกัน แปลว่า ต่างคนต่างทำ ไม่ทำไปด้วยกัน
2) ขาดมาตรฐานและไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เมื่อต่างคนต่างทำ ระบบก็ไม่สามารถทำงานด้วยกันได้
3) งบประมาณได้รับไม่ต่อเนื่อง รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ขาดความต่อเนื่อง งบประมาณก็ไม่ต่อเนื่อง ระบบจึงไม่เกิดผล
4) ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ทุกวันนี้เทคโนโลยีไปไวมาก ไทยขาดการพัฒนาบุคลากรในด้านเทคโนโลยีแทบทุกมิติ
5) กฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ถูกนำไปใช้จริง หรืออาจจะใช้งานจริงไม่ได้
ดังนั้น ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จะต้องทำลายกำแพงอุปสรรคเหล่านี้ เพื่อสร้างรัฐบาลดิจิทัลให้เกิดขึ้นใน 3 ปีข้างหน้า โดยที่รัฐบาลจะมีลักษณะเป็น Government Integration เชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนกลาง ใช้เทคโนโลยีร่วมกัน และให้บริการภาครัฐได้แบบครบวงจร มีการนำระบบ Smart Operations มาใช้ มีการจัดการข้อมูล Big Data และมีการวิเคราะห์เชิงลึกแบบ Data Analytics ซึ่งต้องอาศัยการ Driven Transformation เปลี่ยนแปลงทั้งทรัพยากรมนุษย์ ขั้นตอนการำงานา เทคโนโลยี และกฎหมาย สุดท้ายคือ Citizen – centric Services การให้บริการของภาครัฐโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ตัวอย่างที่จะเกิดขึ้น เช่น เดิมการติดต่อหน่วยงานภาครัฐ ต้องใช้สำเนาเอกสาร เพราะไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ต่อมาเริ่มมีการเชื่อมโยงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบางหน่วยงาน แต่ในอีก 3 ปี จะมีการตั้งระบบกลาง เพื่อให้ทุกหน่วบงานใช้ข้อมูลร่วมกันจากส่วนกลาง ทุกหน่วยงานมีข้อมูลชุดเดียวกัน
การยืนยันการใช้สิทธิ์ต่างๆ เดิมต้องสำเนาบัตรประชาชนมาเพื่อยืนยันสิทธิ์ แต่จากนี้จะนำบัตร Smart Card มาใช้มากขึ้น หลังจากที่นำมาใช้หลายปีแต่ไม่ต่างจากบัตรกระดาษแบบเดิม และในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีการลักษณะ Biometrics มาใช้มากขึ้น เช่น ลายนิ้วมือ เพื่อยืนยันตัวตนเพราะข้อมูลของประชาชนมาจากระบบกลางเดียวกัน
การให้ข้อมูล หรือรับฟังความคิดเห็นกับภาครัฐ เดิมต้องเดินทางไปไปข้อมูลด้วยตัวเอง ต่อมาเริ่มมีการให้ข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ โดยเข้าถึงความต้องการของประชาชนมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีแผนในการพัฒนาประสิทธิภาพตลาดแรงงาน ภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การลงทุน การนำเข้า-ส่งออก พัฒนาประสิทธิภาพของ SMEs ระบบภาษีและรายได้ ความปลอดภัยสาธารณะ รวมถึงการบริหารจัดการชายแดนและการป้องกันภัยธรรมชาติ
ทั้งหมดคือแนวทางในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีจากนี้ มาเอาใจช่วยกันว่า จะเห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน
หากสนใจลองดูรายละเอียดข้อมูลได้ที่ EGA