#สรุปดราม่า Subway จาก ‘ร้านข้างถนน’ สู่แบรนด์ดังข้ามโลก กับปมวุ่น เมื่อผู้ถือสิทธิ์เก่ายังไม่อยากบาย คนใหม่เลยว้าวุ่นเลย!

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

เรียกว่าเป็นดราม่าแบบข้ามวันเลยทีเดีว กับฟาสต์ฟู้ดแบรนด แซนวิชแบรนด์ดัง “Subway” (ซับเวย์) ชนวนเหตุเกิดจาการถูกร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร รสชาติ ไม่ค่อยได้มาตรฐาน หรือแม้แต่หน้าตาของอาหารก็เปลี่ยนไปในหลายสาขา เรื่องราวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า สาขาที่ให้บริการนั้น ไม่ใช่ Master Franchise

อ้าว! แล้วใครขายอยู่ละ ทำไงละทีนี้ ผู้บริโภคก็ว้าวุ่นเลย นี่ชั้นกินอะไรเข้าไป
จนทำให้เกิดกระแสดราม่าอย่างรวดเร็ว

เป็นที่มาของการทำให้เรารู้ว่า เบื้องหลังว่า ที่แท้ Subway มีถึง 2 บริษัทเ จำหหน่ายขายแซนวิชดังในนามแบรนด์ ถึง 2 เจ้าด้วยกัน ดังนั้น เราขอสรุปภาพรวมทั้งหมดดังนี้

FOOD PHOTO STOCK / Shutterstock.com

ที่ผ่านมาซับเวย์ถือเป็นแบรนด์ QSR (Quick Service Restaurant) ชื่อดังในต่างประเทศ โดยเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2546 เปิดสาขาแรกที่สีสม ภายใต้ บริษัท ฟู้ด ฟอร์เวิร์ด จำกัด และทำการขยายสาขาพร้อมทำตลาดผ่านแฟรนไซส์ ที่ได้รับสิทธิ์จาก บริษัท ซับเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่มากกว่า 20 บริษัท เขตการดูแลของตัวเอง

ต่อมาในปี 2565 บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป ได้เจรจาธุรกิจกับซับเวย์บริษัทแม่ และประกาศเป็น Master Franchise ซับเวย์ในประเทศไทย แต่เพียงผู้เดียว หลังจากที่ อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป เป็นหนึ่งในแฟรนไซซี่ ซับเวย์ ตั้งแต่ปี 2562 โดยมี “เพชรัตน์ อุทัยสาง เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” ทั้งนี้ บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป ได้รับสิทธิ์นั้น ทำให้ประเทศไทย นับเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ที่ได้สิทธิ์ Master Franchise พร้อมกับตั้งเป้าหมายจะเปิดสาขาเพิ่มอีกกว่า 700 แห่งทั่วประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยแผนการขยายตัวนี้มุ่งเน้นการเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้น ทั้งร้านรูปแบบ Grab & Go, ไดรฟ์ทรู และคีออสก์ เพื่อตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

rblfmr / Shutterstock.com

ต่อมา เดือนเมษายน ปี 2566 บริษัท PTG Energy (บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ทุ่ม 35 ล้านบาท ในการซื้อสิทธิ์การบริหาร Subway ในประเทศไทย จากบริษัท ซับเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. จำกัด เข้าซื้อในนาม บริษัท โกลัค จำกัด (GOLUCK CO., LTD.) มีเป้าหมายคือทำให้ถูกใจและตรงใจลูกค้าชาวไทยมากขึ้น เนื่องจากวิถีการสั่ง Subway ค่อนข้างเข้าใจยากสำหรับคนไทย โดยเลือกที่จะนำเสนอเมนูฮิต 9 รายการ ลดทอนขั้นตอนการสั่งของลูกค้า แต่หากลูกค้าต้องการสั่งในแบบเวอร์ชั่นตัวเองก็สามารถทำได้ โดยเน้นเปิดในพื้นที่ในปั๊มน้ำมัน PT ของตัวเอง และวางเป้าหมายขยายสาขาปีละ 50 สาขาต่อปี

ทั้งนี้ เพชรัตน์ อุทัยสาง ก็เข้ามาเป็น กรรมการผู้จัดการบริษัทโกลัคฯ และผู้ถือหุ้นสัดส่วน 5% ของโกลัค ในวันก่อตั้ง

 

Prachana Thong-on / Shutterstock.com

จุดสังเกตความฝุ่นตลบอยู่ตรงนี้!
ในช่วงก่อนที่ PTG ยังไม่ได้รับสิทธิ์ Master Franchise ในไทยอย่างเป็นทางการ ได้เกิดไทม์ไลน์ของ Master Franchise ซับเวย์ในไทย จากทั้งสองบริษัท
• 29 กุมภาพันธ์ 2567 PTG ประกาศจัดตั้งบริษัทย่อย โกลัค เพื่อรันธุรกิจ Subway ในประเทศไทย
• เดือนมีนาคม 2567 อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป ได้ออกมาประกาศยังคงเป็น Master Franchise ของซับเวย์อย่างเป็นทางการ ผู้เดียว ผ่านสาขา 152 สาขา
• 1 เมษายน 2567 PTG ประกาศได้รับสิทธิ์ Master Franchise ซับเวย์ในประเทศไทย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้ การได้รับสิทธิ์ในรูปแบบ Master Franchise ของโกลัค บริษัทย่อยของ PTG กลับสร้างความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อยังมีร้านซับเวย์ที่ได้รับสิทธิ์เดิมที่หมดสัญญาแฟรนไซส์ลงตั้งแต่ 26 กรกฎาคม 2567 ใช้ชื่อแบรนด์ซับเวย์ทำธุรกิจต่อ !! (ไม่มูฟออนอ่ะเรา)
ทำให้เกิดเป็นปมร้อนๆ วุ่นๆ จนถึงปัจจุบัน

 

Prachana Thong-on / Shutterstock.co

สำหรับ บริษัท โกลัค จำกัด มีสาขาซับเวย์ ที่บริหารอยู่ 51 สาขา
ส่วนสาขาที่ไม่ได้เป็นของโกลัคฯ ที่ยังคงเปิดสาขาขายอยู่มี 105 สาขา ซึ่งมากกว่าผู้ที่ได้รับสิทธิ์ Master Franchise กว่าเท่าตัว

ที่สำคัญ จากการที่สาขาที่ไม่ได้เป็น Master Franchise ยังเปิดให้บริการอยู่ ส่งผลกระทบกับผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากว่า ทั้งเมนู หน้าตาอาหาร รวมไปถึงคุณภาพ ไม่ได้ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น มากไปกว่านั้นยังเปิดให้บริการเป็นปกติสูงกว่า 100 สาขาเลยทีเดียว แน่นอนสิ่งนี้ย่อมส่งผลกระทบในทางลบ ต่อภาพรวมของแบรนด์ Subway โดยตรง

เมื่อรสชาติและคุณภาพอาหารไม่เป็นที่ต้องใจ ย่องมส่งผลต่อยอดขาย และทำให้ลูกค้าเริ่มน้อยลง ซึ่งจุดนี้ทางโกลัคฯ ต้องแก้เกมด้วยการทำการตลาดมากมาย แม้กระทั่งการจ้าง “ชาอึนอู” นักแสดงเกาหลี ที่แบรนด์แอมบาสเดอร์ของซับเวย์ ในเอเชียแปซิฟิค แต่ก็ยังไม่เป็นผล กระทั่งล่าสุด ต้องออกมาประกาศว่า สาขาที่เปิดกว่า 105 ร้านไม่ใช่ของตัวเอง จนทำให้เรื่องดังกล่าวแดงออกมา เชื่อว่าเรื่องนี้น่าจะจบลงตรงกระบวนการกฎหมายอย่างแน่นอน

 

 

จบปมร้อนในเมืองไทย มาดูกันวา Subway มีประวัติแบรนด์ที่น่าสนใจอย่างไร

Subway เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จอย่างมาก Subway มีชื่อเสียงจากแซนด์วิช “ซับมารีน” ที่สามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ โดยนำเสนอขนมปังสไตล์อิตาเลียนสอดไส้เนื้อ ชีส ผัก และเครื่องปรุงตามความต้องการของลูกค้า กว่า 60 ปีที่ผ่านมา Subway เติบโตจากร้านแซนด์วิชเล็ก ๆ ที่เปิดในเมืองบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สู่การเป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสาขามากกว่า 37,000 แห่งในเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก และในปี 2024 Subway ได้ถูกซื้อกิจการโดยบริษัท Roark Capital ด้วยมูลค่า 9,550,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนแบรนด์ให้ก้าวไปสู่ยุคใหม่

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้น Subway เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ เฟรด เดอลูกา ที่ต้องการหารายได้เสริมเพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เมื่ออายุเพียง 17 ปี เดอลูกาได้รับเงินกู้จำนวน 1,000 เหรียญจาก ปีเตอร์ บัค นักฟิสิกส์ผู้เป็นเพื่อนของครอบครัว ทั้งสองจึงร่วมกันก่อตั้งร้านแซนด์วิช “Pete’s Super Submarines” ขึ้นในปี 1965 ในเมืองบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต

หลังจากเปิดให้บริการได้ไม่นาน ร้าน Pete’s Super Submarines ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในพื้นที่และได้รับความนิยมมากขึ้น ร้านขยายสาขาแห่งที่สองในปี 1966 และเปลี่ยนชื่อเป็น Subway ในปี 1968 โดยตั้งใจใช้ชื่อที่สื่อถึงการเดินทางและความรวดเร็ว ด้วยความเชื่อว่าแซนด์วิชซับมารีนของ Subway นั้นตอบโจทย์ทั้งความรวดเร็วและคุณค่าทางโภชนาการ

Subway ยังคงขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง ในปี 1974 เดอลูกาตัดสินใจให้บริการแฟรนไชส์อย่างเป็นทางการ สาขาแฟรนไชส์แรกเปิดทำการในเมืองวอลลิงฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต และในปี 1981 Subway ก็มีสาขามากกว่า 200 แห่งทั่วสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเติบโตที่รวดเร็วมากสำหรับเครือข่ายร้านอาหารที่เน้นการจำหน่ายแซนด์วิช Subway ยังคงขยายแฟรนไชส์เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 1982-1983 โดยเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 100 แห่งในเวลาสั้น ๆ

กระทั้งปี 1984 Subway ก้าวเข้าสู่ตลาดนานาชาติครั้งแรก โดยเปิดสาขานอกสหรัฐฯ ที่ประเทศบาห์เรน และขยายสาขาไปยังแคนาดาในปี 1986 Subway ยังคงขยายแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องและก้าวสู่การเติบโตที่รวดเร็วอย่างมากในช่วงปี 1987 ซึ่งเป็นปีที่ Subway ขยายสาขาครบ 1,000 แห่ง และเพียงปีต่อมาจำนวนสาขาก็เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นอกจากนี้ Subway ยังเน้นการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยมุ่งหวังสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในทุกประเทศทั่วโลก จนในปี 1990 Subway มีสาขามากถึง 5,000 แห่ง

การเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ Subway ขึ้นแท่นเป็นเครือข่ายร้านฟาสต์ฟูดที่มีสาขามากที่สุดในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2002 อย่างไรก็ตาม Subway ยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ในการรักษาคุณภาพอาหารและบริการที่สม่ำเสมอในทุกสาขาทั่วโลก อีกทั้งยังต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์การรับประทานอาหารอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าจะเป็นเครือข่ายร้านอาหารขนาดใหญ่และเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ Subway ยังคงเป็นบริษัทเอกชนมาตลอด จนกระทั่งปี 2024 เมื่อครอบครัวผู้ก่อตั้ง Subway ตัดสินใจขายกิจการให้กับบริษัท Roark Capital ด้วยมูลค่า 9,550,000 ล้านเหรียญ Roark Capital ซึ่งเป็นบริษัทหุ้นส่วนเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจแบบแฟรนไชส์และผู้บริโภคอยู่แล้ว โดย Roark Capital ยังเป็นเจ้าของธุรกิจอาหารรายอื่น ๆ อย่าง จิมมี่ จอนส์ และ แม็คอลิสเตอร์ เดลี ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Subway ในตลาดแซนด์วิชอีกด้วย ข้อตกลงนี้ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (FTC) เนื่องจากความกังวลด้านการแข่งขันที่อาจลดลงในตลาดแซนด์วิชซับมารีน ซึ่งการควบรวมกิจการในครั้งนี้อาจมีผลต่อการพัฒนาตลาดและการขยายตัวของ Subway ภายใต้การบริหารงานใหม่ของ Roark Capital

ในช่วงปี 2020 Subway ยังคงพยายามปรับปรุงและสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปิดตัวเมนูแซนด์วิชที่เน้นโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ หรือการทดลองผลิตภัณฑ์ที่ใช้โปรตีนจากพืชเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ Subway ยังมุ่งเน้นการพัฒนาและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล

 

สำหรับความท้าทายและปมปัญหาดราม่าที่สาขาในประเทศไทย เราคงต้องติดตามกันต่อ ว่าจะจบลงอย่างไร


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!
CLOSE
CLOSE