แมคโดนัลด์ เป็นธุรกิจร้านอาหารรายแรกที่ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 150 ล้านเมตริกตัน ภายในปี 2573

  • 18
  •  
  •  
  •  
  •  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

mc

แมคโดนัลด์ โอ๊คบรูค รัฐอิลลินอยส์ ประกาศความร่วมมือกับร้านแฟรนไชส์และซัพพลายเออร์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของสำนักงานต่างๆและร้านอาหารของแมคโดนัลด์ลง 36 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2558 ตามกลยุทธ์ใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ยังมุ่งมั่นที่จะลดความเข้มในการปล่อยก๊าซเสียลง 31 เปอร์เซ็นต์ (ต่อเมตริกตันของอาหารและบรรจุภัณฑ์) ที่เกิดขึ้นในซัพพลายเชนทั้งระบบภายในปี 2573 โดยเปรียบเทียบจากปี 2558 โดยเป้าหมายเหล่านี้ล้วนได้รับการอนุมัติโดย Science Based Targets initiative (SBTi)

จากเป้าหมายดังกล่าว แมคโดนัลด์คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังชั้นบรรยากาศได้ 150 ล้านเมตริกตันภายในปี 2573 ซึ่งเทียบเท่ากับการลดการใช้รถยนต์โดยสารบนท้องถนนจำนวน 32 ล้านคันตลอดทั้งปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 3.8 พันล้านต้นและให้ต้นไม้เหล่านี้เติบโตต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี เป้าหมายนี้จะทำให้แมคโดนัลด์สามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจ แต่ไม่เพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
“การสร้างสรรค์อนาคตที่ดีให้กับโลกของเรา เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน แมคโดนัลด์ มุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อนาคตที่ดีนั้น ด้วยการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และร่วมเผชิญกับความท้าทายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก” มร. สตีฟ อีสเตอร์บรู๊ค ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมคโดนัลด์ กล่าวในวีดิโอเปิดตัวโครงการนี้  “และเพื่อให้เป้าหมายนี้สัมฤทธิ์ผล แมคโดนัลด์จะคัดสรรการจัดซื้ออาหารด้วยความรับผิดชอบ พร้อมสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน และเราจะใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะและเพิ่มการรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น”

แมคโดนัลด์จะทำงานร่วมกับทั้งระบบซัพพลายเชน สำนักงานต่างๆ และร้านแมคโดนัลด์ เพื่อร่วมมือกันทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพผ่านการปรับเปลี่ยน อาทิ การใช้หลอดไฟแอลอีดี การใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟในครัวอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและการรีไซเคิลภายในร้านอาหาร รวมไปถึงการยกระดับและสนับสนุนเกษตรกรรมแบบยั่งยืน และเพื่อให้เป้าหมายนี้สัมฤทธิ์ผล แมคโดนัลด์จะลำดับความสำคัญในการทำงานร่วมกับผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ และแฟรนไชส์หลายพันราย โดยพิจารณาจากกลุ่มที่มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด อาทิ การผลิตเนื้อ การใช้พลังงานภายในร้านและการจัดซื้อ การใช้บรรจุภัณฑ์และปริมาณขยะ กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ เมื่อรวมกันคิด 64 เปอร์เซ็นต์ ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ แมคโดนัลด์ทั่วโลก

แมคโดนัลด์ยังคงทำงานร่วมกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อหาแนวทางที่ปฏิบัติได้จริงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนำมาวัดผลต่อยอดโครงการต่างๆ ที่แมคโดนัลด์ดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องการปลูกป่า การเกษตรกรรม และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการทำงานอย่างโปร่งใส แมคโดนัลด์จะขยายระบบการตรวจวัด และสื่อสารถึงผลความคืบหน้า ความท้าทาย และลำดับเหตุการณ์สำคัญต่างๆให้สาธารณชนรับทราบเป็นรายปี
“ความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อมไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัยความกล้าหาญและความเป็นผู้นำของพวกเราทุกคน” มร. เฟรด ครัปป ประธานกองทุนปกป้องสิ่งแวดล้อม กล่าว “ในฐานะแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก แมคโดนัลด์ อยู่ในฐานะผู้นำในเรื่องดังกล่าว ด้วยเป้าหมายและความมุ่งมั่นดังกล่าวจะเป็นแรงบันดาลใจในการค้นหานวตกรรม และความร่วมมือ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้าสู่ขั้นวิกฤตผ่านการปฏิบัติงานและซัพพลายเชนทั่วโลกของแมคโดนัลด์”

แมคโดนัลด์ ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ที่ช่วยดูแลรักษาโลกและชุมชนท้องถิ่นมาอย่างยาวนานต่อเนื่องกว่า 3 ทศวรรษ อาทิ การร่วมมือครั้งสำคัญกับกองทุนปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Defense Fund  หรือ EDF) ในเรื่องบรรจุภัณฑ์และการลดปริมาณขยะ และล่าสุดเมื่อปี 2557 แมคโดนัลด์ได้ออกแถลงการณ์เรื่องพลังงานและสภาพอากาศ พร้อมแสดงความคิดเห็นในเรื่องมาตรการการดูแลการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ และความร่วมมือในการปฏิบัติจริง นอกจากนี้ ในปี 2558 แมคโดนัลด์ ได้ประกาศความมุ่งมั่นการอนุรักษ์ป่าที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของระบบซัพพลายเชนที่มีต่อการทำลายป่า สิ่งนี้ช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นในกลยุทธ์เรื่องสภาพภูมิอากาศของบริษัท เนื่องจากการทำลายป่านั้นส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์

“การวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาของแมคโดนัลด์นั้นครอบคลุมทุกส่วนต่างๆ ทั่วโลก การประกาศความร่วมมือในครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะแมคโดนัลด์เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำรายใหญ่ของโลกที่ส่งมอบอาหารให้กับผู้บริโภคผ่านระบบห่วงโซ่อาหารเต็มรูปแบบ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ก็มีเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน และสิ่งที่ทำนี้ยังสอดคล้องกับการตัดสินใจของแมคโดนัลด์ ในการเข้าร่วมกับ We Are Still In ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ อีกกว่าพันแห่งทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก”  มร. คาร์เตอร์ โรเบิร์ต ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ World Wildlife Fund ประจำสหรัฐอเมริกา กล่าวและเสริมว่า “แม้การปฏิบัติงานต่างๆ จากภาคเอกชนจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศที่วิกฤตนี้ได้ทั้งหมด แต่การประกาศครั้งสำคัญนี้ พร้อมความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่เราทุกคนต้องการ”

การเปิดตัวการสนับสนุนเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ ก้าวสำคัญล่าสุดของแมคโดนัลด์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายสำหรับแนวคิด Scale for Good

“แมคโดนัลด์ ได้แถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ในฐานะธุรกิจร้านอาหารแห่งแรกที่ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้นำของแมคโดนัลด์ล้วนตระหนักดีว่า “เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปกับการเติบโตทางธุรกิจ” มร. แอนดรูว์ สเตียร์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สถาบันทรัพยากรแห่งโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้ริเริ่มเป้าหมายโครงการด้านวิทยาศาสตร์กล่าว “การทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในการออกแบบ และพัฒนาเกษตรกรรมแบบยั่งยืน และการลดปริมาณขยะ จะช่วยสร้างแนวทางที่ดีให้กับทั้งแฟรนไชส์ ลูกค้า และสิ่งแวดล้อม สถาบันทรัพยากรแห่งโลก ขอให้แมคโดนัลด์ไม่หยุดมองหาแนวทางเพิ่มเติมในการสร้างสรรค์โมเดลทางธุรกิจและห่วงโซ่ที่มีคุณค่าตามความจริงภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรของโลกที่มีอยู่ เราพร้อมให้การสนับสนุนบริษัทที่มีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกค้า และเพื่อความยั่งยืนของโลกใบนี้”

Science Based Targets initiative เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง กองทุนทรัพยากรแห่งโลก กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล โครงการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนไดออกไซด์ และข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ กำหนดการลดการปล่อยก๊าซเสียของตนเอง ตามสัดส่วนของบริษัทต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อสภาวะวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

จากความร่วมมืออย่างยาวนานกับธุรกิจเนื้อสัตว์ แมคโดนัลด์ได้กำหนดเป้าหมายพัฒนาธุรกิจเนื้อสัตว์ที่ยั่งยืนภายในปี 2563 และได้เริ่มดำเนินการในปี 2560 ที่ผ่านมา สิ่งนี้ได้นำไปสู่ก้าวสำคัญด้านความร่วมมือของแมคโดนัลด์กับผู้ผลิตเนื้อสัตว์ และพันธมิตรต่างๆ ในกลุ่มอุตสากรรม เพื่อร่วมกันอย่างแข็งขันในการกำหนด แลกเปลี่ยน และนำแนวทางการปฏิบัติในเรื่องการผลิตเนื้อสัตว์อย่างยั่งยืนมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในปี 2561 โดยแมคโดนัลด์ได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่เน้นการรีไซเคิล และยังคงมุ่งเน้นเรื่องการให้การสนับสนุนกับลูกค้าในกลุ่มครอบครัว

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

 


  • 18
  •  
  •  
  •  
  •