มายด์แชร์เผยมุมมองปี 2023 “Short Video” ช่วยกระตุ้นกระแส T-Pop พร้อมเพิ่มโอกาสของแบรนด์ในการสร้าง Participation ผ่านกลยุทธ์ User Generated Content

  • 40
  •  
  •  
  •  
  •  

กระแส T-Pop กำลังกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เห็นได้จากความสำเร็จของศิลปินและเพลงไทยในระดับโลก ส่งผลให้มีแฟนเพลง T-Pop เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ต่าง ๆ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระแส T-Pop เพื่อสร้าง Engagement และสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย

Short Video เป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของ T-Pop แบรนด์ต่าง ๆ จึงสามารถใช้ประโยชน์จาก Short Video เพื่อกระตุ้นกระแส T-Pop และเพิ่มโอกาสในการสร้าง Participation ผ่านกลยุทธ์ User Generated Content และ ล่าสุดเอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสาร ในเครือ กรุ๊ปเอ็ม เผยถึงมุมมอง ความคิด และข้อเสนอแนะต่อการวางแผนการสื่อสารการตลาดผ่านการใช้เพลงและศิลปินไทยในยุคปัจจุบัน ดังนี้

คุณสุนิธิ เตชินีนรกุล ผู้จัดการการวางแผนกลยุทธ์บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากบรีฟของลูกค้าของทางมายด์แชร์ที่พยายามจะใช้เพลงเป็นสื่อในการทำการตลาด ผนวกกับข่าวของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ในวงการเพลงไทยที่ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงในเมืองไทยที่มีมูลค่านับพันล้านบาท

โดยทีมการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารจากมายด์แชร์เลยขอหยิบยกโอกาสนี้มาให้มุมมองต่อวงการเพลงไทย รวมไปถึงการใช้ศิลปินและเพลงไทยในการทำการสื่อสารการตลาด เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้กับแผนการตลาดของแบรนด์

รูปภาพจาก : เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม

ย้อนตำนานวงการ T-Pop ตั้งแต่ยุคาราโอเกะ และจนถึงยุคปัจจุบัน

1.ยุค The Karaoke Culture : คือยุคคาราโอเกะ ช่วงปี 1980-1990  เป็นยุค Dance-pop ที่ศิลปินออกผลงานเพลง ทำมิวสิควิดีโอ เล่นคอนเสิร์ต ครบทุกอย่างในคนเดียว เช่น เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ หรือ ใหม่ เจริญปุระ และ พี่มาช่า เป็นต้น

2.ยุค Boy group/Girl group ปี 1990-2000 ช่วงที่ศิลปินบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป เกิดขึ้นจำนวนมากและได้รับความนิยมแบบสถด ๆ  อาทิ D2B, โปรเจกต์ H, ไทรอัมส์คิงดอม ช่วงนี้ยังเป็นยุคที่เกิดเวทีประกวดทาเลนต์ ค้นหานักร้อง อย่างเวที Academy Fantasia, The Star โดยแจ้งเกิดนักร้องดัง เช่น  อ๊อฟ ปองศักดิ์ หรือ นิว-จิ๋ว เป็นต้น

3.ยุคคิกขุอาโนเนะ ช่วงปี 2000-2010 ศิลปินเพลงวัยรุ่นเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กามิกาเซ่, โฟร์-มด, เคโอติก เป็นช่วงที่เกิดกระแสนิยม K-Pop และ J-Pop ในประเทศไทย ซึ่งเป็นยุคที่เกิดเทปผี-ซีดีเถื่อนเข้ามากระทบวงการเพลง รวมทั้งเกิดดิจิทัลมิวสิค ทำให้ T-Pop ได้รับความนิยมลดลงในช่วงนี้เลยก็ว่าได้

4.ยุค The Indie / Alternative ช่วงกลางปี 2010 เกิดเป็นแนว T-Pop เฉพาะกลุ่ม เช่น ลิปตา (Lipta) ,แสตมป์ อภิวัชร์ โดยเป็นยุคที่ศิลปินเริ่มสื่อสารกับแฟนคลับผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดเข้าถึงง่ายขึ้นและได้รับความนิยมจนมาถึงปัจจุบัน

5.ยุค The Expression ปี 2010-2020 เป็นยุคที่ T-Pop มีลักษณะเฉพาะที่ต่างออกไป แสดงตัวตนได้ชัดเจนผ่านผลงานแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็น เพลง งานแสดง และมีการร่วมมือกับศิลปินระดับนานาชาติ ในยุคนี้ศิลปินอิสระแจ้งเกิดและได้รับการยอมรับมากขึ้น และความหลากหลายทางเพศมากขึ้นอย่างกลุ่ม LGBTQ+ ที่เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างT-Pop ที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบันนี้ เช่น พีพี, บิวกิ้น, 4EVE, อิ้งค์ วรันธร

จากยุคาราโอเกะ และจนถึงยุคปัจจุบันที่เรียกว่าเป็น Expression Era นี้มีลักษณะเฉพาะที่ต่างออกไป ศิลปินสามารถ Express ความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ผ่านผลงานต่าง ๆ ที่มีความ โดดเด่นด้วยความสร้างสรรค์ทางดนตรีที่หลากหลายและมีการร่วมมือกับศิลปินระดับนานาชาติ

โดยสื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการกระจายข่าวสารและการสร้างความสนใจ ในยุคนี้ ศิลปินอิสระได้เกิดการเติบโตและได้รับการยอมรับมากขึ้น และการแสดงตัวของ LGBTQ+ ก็ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงการเติบโตของวงการเพลงและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน และยังแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและความรวมกันของวงการเพลง

รูปภาพจาก : เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม

ทำไม T-Pop ถึงกลับมาบูมอีกครั้ง?

การกลับมาอยู่ในกระแสของเพลงไทย T-Pop พบว่า ในช่วง 3 ปี (2020-2023) ที่ผ่านสะท้อนได้จากแพลตฟอร์ม TikTok มี #T-Pop เติบโตขึ้นถึง 3 เท่าโดยที่มีการใช้งานใน Global 2,000 ล้านครั้ง และเป็นของไทย 1,000 ล้านครั้ง  จากกลุ่มผู้ใช้งานอายุ 18-24 ปี 56% อายุ 25-34 ปี 31% และอายุ 35 ปีขึ้นไป 13% โดยมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ T-Pop กลับมาบูม สรุปได้ดังนี้

  • มีเวทีการแข่งขัน เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้ชมได้มีความรู้สึกร่วมไปกับศิลปิน
  • TikTok ช่วยสร้างให้เป็นกระแส และทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม ผ่านการเต้นชาเล้นจ์ และแพลตฟอร์มสามารถใช้เพลงในการมาทำคอนเทนต์ได้ฟรี ให้เกิดเป็น User Generated Content
  • มีพื้นที่สาธารณะที่ให้ทุกคนได้แสดงออกถึงความสนใจในดนตรี เช่น พื้นที่ตรงสยามสแควร์ เป็นต้น
  • ความนิยมของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น อย่างเช่น Facebook Watch, Instagram Reels, และ TikTok ได้ช่วยให้เกิด emotional connection และเพิ่มการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้างมากขึ้น
  • การสร้าง Cultural Appeal กับผู้ฟังผ่านประสบการณ์ที่ใกล้ชิดและความรู้สึกที่เข้าใจได้ เช่น การแต่งและปล่อยเพลงที่เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงนั้น ๆ
รูปภาพจาก : เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม
  • มีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลงเกิดขึ้นเยอะ เช่น Apple Music, Spotify, และ Joox ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและหลากหลายในการเข้าถึงเพลง T–Pop ให้ได้ราคาที่เหมาะสมและความหลากหลาย
  • การใช้เทคนิคของการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย (transmedia storytelling) ที่เห็นได้จากการนำเอา 9×9 เข้ามาในซีรีส์ทีวีเรื่อง “เลือดข้นคนจาง” ได้ขยายการเข้าถึงของเพลง T-Pop และเป็นสื่อที่ถ่ายทอดให้กับผู้ชมในหลายแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ คอนเสิร์ต เพลง มิวสิควิดีโอ ไปทุกสื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย
  • ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของ K-Pop และ J-Pop ในระดับโลก ได้สร้างความสนใจที่มากขึ้นในด้านเพลงเอเชียรวมถึง ส่งผลให้ T-Pop ได้โอกาสมีแสง และได้รับการยอมรับและขยายผู้ชมที่สนใจในเพลง T-Pop ในวงกว้างมากขึ้น
รูปภาพจาก : เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม

แบรนด์จะได้ประโยชน์อย่างไรจากการใช้ T-Pop ในการทำการสื่อสารการตลาด

  • สร้างโอกาสทางธุรกิจ : และผลลัพธ์ในวงกว้าง รวมไปถึงการใช้เพลงไทยเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนเทรนด์ในยุคปัจจุบัน ที่ออกมาในรูปแบบของ
  • สปอนเซอร์ชิป (sponsorship) : เป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ที่จะมาเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่านทางการมาเป็นผู้สนับสนุนให้กับคอนเสิร์ตต่าง ๆ หรือรายการเพลง เป็นต้น
  • โปรดักเพลสเม้นท์ (product placement) : เป็นโอกาสให้กับแบรนด์ด้านความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการสร้างการรับรู้บนพื้นที่ที่คนดูมีสามารถมีอารมณ์ร่วม หรือบนพื้นที่ ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะได้เห็นโฆษณา
  • มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง (music marketing) : สามารถใช้มิวสิคมาร์เก็ตติ้งเข้ามาช่วยแสดงให้เห็นถึงคาแรคเตอร์ของแบรนด์ หรือเป็นการปรับแบรนด์ดิ้งใหม่ให้ดูเด็กขึ้น ทันสมัยขึ้น
  • สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (merchandise): สร้างโอกาสทางการตลาดในรูปแบบหนึ่งให้กับแบรนด์
  • Fan-Driven Marketing หรือ Fanocracy คือ การทำให้แฟนคลับกลายมาเป็นลูกค้าแบรนด์ เช่น K-Pop แคมเปญ  Starbucks x Blackpink, จัดกิจกรรม Meet & Greet เป็นต้น
รูปภาพจาก : เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาด และการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม

สุดท้ายนี้มายด์แชร์ได้เปิดเผยมุมมองต่อเพลงไทย กล่าวว่าผู้บริโภคสามาถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้มากขึ้นผ่าน User Generated Content โดยที่แบรนด์ นักการตลาด ใช้ตัวศิลปินเป็นพรีเซ็นเตอร์ในการเข้าถึงฐานแฟนคลับของศิลปิน และที่สำคัญศักยภาพของอุตสาหกรรมเพลงไทย สามารถเป็นเครื่องมือในการผลักดันเศรษฐกิจ หากมีนโยบายจากภาครัฐในการสนับสนุนอย่างชัดเจน

 

 

 


  • 40
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE