ธุรกิจปรับตัวรับกระแส “Bleisure เที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย” เทรนด์มาแรงข้ามปีที่กำลังป๊อบไปทั่วโลก

  • 655
  •  
  •  
  •  
  •  

Businesswoman in hotel room

หากได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดแบบ business trip เราคงไม่อยากพลาดโอกาสที่จะได้เที่ยวชมสถานที่ ช้อปปิ้ง หรือพักผ่อนแบบสั้นๆในระหว่างทริปทำงาน ซึ่งในช่วงหลังมานี้หลายบริษัทยุคใหม่เริ่มมีการจัดตารางเวลาของ business trip ให้พนักงานได้มีช่วงเวลาอิสระที่สามารถเที่ยวพักผ่อนได้ เหมือนไปทำงานด้วยแล้วกมีเวลาเหลือให้เที่ยวต่อ มันจึงเกิดคำเรียกซึ่งเป็นการบวกกันระหว่างคำว่า business ที่แปลว่าธุรกิจ และ leisure ที่แปลว่าการพักผ่อน เกิดเป็นคำใหม่ว่า “Bleisure” (บลิเชอร์) เส้นแบ่งระหว่างการเที่ยวและการทำงานจะเริ่มเบลอขึ้นในยุคนี้ เราจะทำงานไปด้วยเที่ยวไปด้วยกันมากขึ้น

ซึ่งอันที่จริงทริปในลักษณะนี้เริ่มเกิดขึ้นชัดเจนตั้งแต่ช่วงปี 2012 แต่ในช่วงสองปีหลังมานี้ Bleisure ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

คุณจะเห็นภาพชัดขึ้นจากชาร์ตด้านล่าง การท่องเที่ยวแบบ Bleisure นั้นมีอัตราเติบโตต่อเนื่องทุกปีโดยเฉพาะช่วงปี 2015 ที่โดดจาก 14% ไป 17% ภายในระยะเวลาหนึ่งปี เทคโนโลยีเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยซัพพอร์ตให้การท่องเที่ยวในลักษณะนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว ทุกกิจกรรมสามารทำได้ง่ายขึ้นด้วยตัวเอง คุณสามารถเรียกรถ ดูแผนที่ ดูรีวิว สั่งอาหาร จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม จองที่พัก เช็ครอบรถไฟ ผ่านสมาร์ทโฟนในมือได้ตลอดเวลา จึงไม่แปลกใจที่เดี๋ยวนี้จะมีรีวิวเที่ยวด้วยตัวเองแบบเจ๋งๆมาให้เรากดไลก์กันมากมาย

 

T0829CTCHART_BIZLEISURE1

Source: Travelweekly.com

 

มีการทำรีเสิร์ชโดย FoundersCard  สุ่มคนจำนวน 334 ตัวอย่างจากจำนวนสมาชิก 20,000 คนที่มีการหาข้อมูลเพื่อแพลน business trip ของตัวเอง ซึ่งสรุปเป็นสถิติได้ว่า…

81%  หากได้เดินทางไป business trip จะวางแพลนสำหรับเที่ยวและพักผ่อนไว้ด้วย

51%  วางแผนทริปแบบ “Bleisure” อย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2017 นี้

23%  วางแผนเที่ยวแบบเฉพาะเจาะจงให้สอดรับกับโอกาสสั้นๆในระหว่างทริปทำงาน

43%  ของธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะมีทริปสำหรับ

 

“เทคโนโลยี” ปัจจัยหลักหนุนธุรกิจท่องเที่ยวรับเทรนด์ Bleisure

“สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องพร้อมเน็ตสามารถทำให้คุณเที่ยวได้อย่างง่ายดายตลอดทริป” ไม่ใช่การกล่าวเกินจริง เพราะแม้แต่หมวดหมู่แอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนก็ยังมีหมวด Travel หรือการเดินทางซึ่งแยกเป็นหมวดย่อยทั้ง จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบิน สนามบิน แผนที่นำทาง ไกด์การเดินทาง และหมวดย่อยอื่นๆที่อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเดินทาง นั่นหมายถึงคุณสามารถวางแผนการเที่ยวและดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ง่ายดายและรวดเร็วผ่านแอพเหล่านี้ ‘แอพจองที่พัก’ เป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างของธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โตเร็วและได้รับความนิยมไปทั่วโลกรวมถึงในไทย

 

ใกล้ตัวหน่อยสำหรับเว็บจองที่พักออนไลน์ในบ้านเรา ขอยกตัวอย่าง Booking.com หนึ่งในธุรกิจที่ปรับตัวตามเทรนด์ท่องเที่ยว บวกกับมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการอย่างต่อเนื่อง ไฮไลท์ที่น่าสนใจของ Booking.com คือ UX UI , คอนเทนท์บนแพลตฟอร์ม และความไร้รอยต่อในการให้บริการ เริ่มตั้งแต่ User interface (UI) หน้าจอที่รองรับกับการใช้ทั้งบนมือถือ แท็บเล็ต และเดสก์ท็อป ซึ่งแม้จะมีข้อมูลและหมวดหมู่หลากหลายแต่ก็สามารถออกแบบ UI ออกมาให้ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ในส่วนของแอพ Booking.com ในมือถือนั้นถูกพัฒนาให้สามารถใช้ได้ในทุกระบบปฏิบัติการทั้ง iOS, แอนดรอยด์, คินเดิลไฟร์ และวินโดวส์ 8 มีระบบคลาวด์  (cloud) สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่พักได้กับทุกอุปกรณ์

 

beleisure-fullsize

ส่วนสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยวที่ให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์คือการออกแบบ User experience (UX) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้ Booking.com มีภาษาบนเว็บไซต์ 42 ภาษา (พร้อมบริการด้านลูกค้าสัมพันธ์ 24 ชั่วโมง ด้วยบุคลากรที่พร้อมให้บริการด้วยภาษาท้องถิ่น 42 ภาษา แน่นอนว่ามีภาษาไทย) ภาษาที่หลากหลายสามารถรองรับผู้ใช้ได้กว้างขวาง เมื่อไม่มีกำแพงภาษา สิ่งที่ตามมาคือ Booking.com สามารถครีเอทคอนเทนท์ออกมาได้อย่างเข้าถึง insight ผู้บริโภค ภาษาที่สื่อสารเจือความเป็น local ไม่ใช่ภาษาแข็งๆที่มาจาก translator มีฟีเจอร์คอนเทนท์จำแนกจุดหมายที่ดีที่สุดตามวัตถุประสงค์ของการเที่ยวเช่น จุดหมายสำหรับช้อปปิ้ง พักผ่อน ธรรมชาติ คอมมิค ชายหาด อาหาร ชมวิว เป็นต้น ตามด้วยหมวดหมู่คอนเทนท์ “สิ่งที่ไม่ควรพลาด สถานที่ที่น่าสนใจ และเหตุผลที่ต้องไปเยือนในเมืองต่างๆที่เป็นจุดหมายปลายทางทั่วโลก  และเซคชั่นที่กำลังได้รับความนิยมคือ การพยายามเปลี่ยนจุดหมายทั่วโลกให้กลายเป็นที่ทำงานด้วย Booking.com for business  แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจเพื่อผู้เดินทางที่ต้องการติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะโดยออกแบบบริการให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกสบายตลอดทริป เพื่อความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ ในราคาที่คุ้ม

 

สรุปให้ง่ายคือ Booking.com ไม่ได้สร้างประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานแค่ในบทบาทของเว็บจองที่พัก แต่ position และออกแบบแพลตฟอร์มของตัวเองให้เป็นพื้นที่ของข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน พร้อมบริการจองที่พักออนไลน์ซึ่งซัพพอร์ตด้วยเทคโนโลยีและตัวเลือกที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ใช้มากที่สุด อย่างเช่น การปรับเปลี่ยนหรือยกเลิกการจองได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา หรือที่เรียกคะแนนให้ Booking.com ได้มากก็อย่างการชำระค่าที่พักเมื่อเข้าพัก ไม่ต้องตัดเงินบัตรก่อนเข้าพัก เพื่อความยืดหยุ่นในทริปของผู้ใช้งาน และยังมี “Booking.com for business” เพื่ออำนวยความสะดวกให้การเดินทางเพื่อติดต่องานโดยเฉพาะ  บวกกับพยายามชูจุดเด่นของ “รีวิวที่พัก” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกที่พักของ User และตามธรรมชาติของคนมักจะชอบอ่านรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการ รีวิวของ Booking.com เป็นลักษณะ User review จำนวนกว่า 72 ล้านความเห็นจากผู้ใช้บริการจริงทั่วโลก

 

93956

 

ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีด้านการเดินทางก็ถูกพัฒนาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นแอพเรียกรถอย่าง Uber หรือ Grab ที่มีฟีเจอร์ใหม่ให้ใช้งานได้ดีขึ้นอยู่เสมอ หรือ Google Maps ที่ในอดีตเคยเป็นเพียงแอพดูแผนที่ แต่ตอนนี้ถูกพัฒนาเพื่อซัพพอร์ตทั้งเรื่อง Navigator และ Transport ที่สำคัญคือใช้งานฟรี รวมถึงแอพสายการบินต่างๆ ปัจจุบันสายกันบินเกือบทุกเจ้าไม่เว้นแม้โลวคอสท์มีแอพพลิเคชั่นเป็นของตัวเอง (อันที่จริงโลวคอสท์ในบ้านเรามีแอพให้ใช้ก่อนสายการบินใหญ่เสียอีก) โดยคุณสามารถเช็คตั๋ว จองตั๋ว เช็คอินได้จบในแอพเดียว รวมไปถึงแอพสารพัดประโยชน์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป้นทริปยาว ทริปสั้น สามารถปรับเปลี่ยนตารางเวลาตัวเองได้ยืดหยุ่นขึ้น พร้อมแก้ปัญหาตรงหน้ากันด้วยแอพเหล่านี้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นแอพหาห้องน้ำอย่าง Flush Toilet Fider หรือหากจะหา wifi แอพ WiFi Finder  ก็ช่วยคุณได้ รวมไปถึงแอพแปลภาษาท้องถิ่นที่ช่วยในการสื่อสารให้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

 

pool-sunbed-laptop-large

 

เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยยืดหยุ่นเวลาและอำนวยความสะดวกในการจัดการทริป ทำให้การเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เส้นแบ่งระหว่าง work และ vacation เริ่มเบลอขึ้นเรื่อยๆจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น workation หลายครั้งจึงไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องลาไปเที่ยวนานแล้วจะเสียงาน เพราะเทคโนโลยีเอื้ออำนวยให้คุณสามารถหาจังหวะแว้บมาทำงานได้สะดวกแม้กำลังอยู่ในทริปพักผ่อน เช่นเดียวกันกับ business trip แม้จะอยุ่ในทริปที่ต้องไปทำงาน คุณก็ยังจะสามารถจัดทริปสั้นๆให้ตัวเองได้ด้วยเทคโนโลยี ซึ่งการพึ่งพาตัวช่วยต่างๆอย่างพวก Travel application หรือผู้ให้บริการจองที่พักออนไลน์ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกนั้นก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับในทุกๆทริป

 

แหล่งอ้างอิง: Travel weekly
แหล่งอ้างอิง: Booking.com
แหล่งอ้างอิง: Business insider

Copyright © MarketingOops.com 


  • 655
  •  
  •  
  •  
  •