(อัพเดท) ทักษะและทัศนคติ 4 ด้านใหญ่ที่ยังจำเป็นต่อการทำงานในอนาคตจาก McKinsey

  • 375
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในยุคสมัยใหม่อย่างที่รู้กันว่าระบบการทำงานยังมีเทคโนโลยีดิจิทัล, นวัตกรรม จนไปถึงเทคโลยีปัญญาประดิษฐ์นั้นมีส่วนสำคัญกับการดำเนินชีวิต, ธุรกิจ, การศึกษา, ความบันเทิง ฯลฯ ซึ่งจะว่าไปแล้วอยู่ในทุกอุตสาหกรรมเลยก็ได้ อย่างเทคโนโลยี AI ที่มีการอัพเกรดความสามารถขึ้นทุกปีเพื่อสร้างเสถียรภาพในการใช้งานให้ดีที่สุด

ดังนั้น ผลสำรวจจาก McKinsey เกี่ยวกับ ‘ทักษะแห่งอนาคต’ (Future Skills) ที่ทำการสำรวจใน 15 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นความคิดเห็นของ 18,000 คนที่ทำการสำรวจ พวกเขามองว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นไม่ว่าจะรูปแบบไหนจะสร้าง ‘อาชีพใหม่’ เสมอไม่มีทางจะทดแทนคนเดิมๆ ได้เพียงแต่ว่าเราก็จำเป็นต้องอัพสกิลที่สำคัญ รวมไปถึงทัศนคติที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคตด้วย

โดยบทความของ McKinsey ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่โดยจะมีทั้งหมด 56 ข้อย่อยที่ระบุถึง Skills & Attitudes ซึ่งจะเรียกรวมกันว่า distinct elements of talent (DELTAs) หรือองค์ประกอบที่แตกต่างของความสามารถ เพราะเชื่อว่าแค่สกิลใหม่ๆ ไม่พอแต่ต้องมีการปรับทัศนคติไปพร้อมกันด้วย

ทั้งนี้ จุดประสงค์หลักก็เพื่อให้มนุษย์เราสามารถเพิ่มมูลค่าตัวเองให้มากกว่าที่ระบบอัตโนมัติทำได้, เพื่อสร้างความพร้อมให้เราสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมดิจิทัลได้ และช่วยปรับตัวให้เข้ากับวิถีการทำงานและอาชีพใหม่ได้ดีขึ้น

 

 

Cognitive (องค์ความรู้)

ในบทความได้พูดถึงกลุ่มที่หนึ่งในเชิงองค์ความรู้ ซึ่งได้แบ่งสกิลต่างๆ ออกเป็น 4 ด้านที่โดดเด่นที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ซึ่ง McKinsey ได้อธิบาย 4 ข้อย่อยดังนี้

  • Critical Thinking คือ การคิด ไตร่ตรองถึงปัญหาต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ สามารถคิดอย่างมีเหตุและผลได้อย่างมีตรรกะที่น่าเชื่อถือ ที่สำคัญต้องเข้าใจและรับมือได้กับอคติบางอย่าง ผิดคือผิด ถูกคือถูก รวมไปถึงเข้าใจในเชิงข้อมูลที่ครอบคลุมได้
  • Planning and ways of working คือ มีความสามารถในพัฒนาแผนงาน การวางแผน การบริหารจัดการเวลาและถนัดในการจัดลำดับความสำคัญ และควรจะมีความคิดที่ agile คล่องแคล่ว ว่องไว ปรับตัวเร็ว
  • Communication คือ การสื่อสาร การเล่าเรื่อง และพูดในที่สาธารณะได้ มีความเข้าใจในการตั้งคำถามที่ถูกจุด และมีการประมวลผลข้อความ/ความรู้ที่ได้มาอย่างดี ที่สำคัญเป็น active listener
  • Mental Flexibility หมายถึง การมีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ควรจะมีความสามารถในการแปลงความรู้ให้เหมาะกับบริบทต่างๆ รู้จักการปรับตัว และชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่

 

Interpersonal (มนุษยสัมพันธ์/ทักษะระหว่างบุคคล)

ต้องยอมรับว่า soft skill บางอย่างยังจำเป็นมากๆ ต่อการทำงานและในอนาคตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการทำงานที่สามารถทำลายรูปแบบงาน Silo ที่ในปัจจุบันกลายเป็นความหมายในเชิงลบมากขึ้น เพราะแยกส่วนงานอย่างชัดเจนและไม่มีการประสานงานกันโดยไม่จำเป็น ซึ่ง 3 ด้านเด่นๆ ที่ McKinsey ได้พูดในบทความนี้ คือ

  • Mobilizing Systems คือ อย่างน้อยๆ ต้องมีความสามารถในการเป็น role model หรือเป็นแบบอย่างที่ดีได้ นอกจากนี้ควรมีสกิลในการเจรจาแบบ win-win รวมไปถึงการสร้างวิสัยทัศน์ที่สามารถเป็น inspiration ให้กับคนอื่นได้ ที่สำคัญต้องเข้าใจวัฒนธรรมหรือความเป็นไปขององค์กร ซึ่งสกิลเหล่านี้กลุ่มคนแรกๆ ที่ควรมีคงเป็น leaders ก่อนระดับปฏิบัติงาน
  • Developing Relationships คือ การมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น, สามารถสร้างความไว้วางใจระดับสูงให้เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำให้เกิดการยอมรับในความแตกต่างได้ แต่ยังต้องมีความถ่อมตน และความเป็นกันเองในที่ทำงานด้วย
  • Teamwork Effectiveness คือ ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยกัน การแก้ปัญหา การยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน จนไปถึงการสร้าง empower ไปด้วยกัน

 

 

Self-leadership (ภาวะผู้นำในตัวเอง)

ด้านที่ 3 พูดได้ว่าเป็นด้านที่ให้ความสำคัญกับภาวะทางอารมณ์และทัศนคติค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ระดับ C-suite จนไปถึงระดับปฏิบัติการ เพราะว่าจะทำให้การทำงานในองค์กรค่อนข้าง flow เกิดปัญหาน้อย และก้าวออกจากเซฟโซนได้ดี ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ข้อย่อยด้วยกัน

  • Self-awareness and self-management คือ ต้องเข้าใจในอารมณ์และสิ่งเร้าของตัวเองอย่างดี, รู้จักควบคุมตัวเองได้ดี รู้ว่าอะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง ที่สำคัญควรจะมีความซื่อตรง, มั่นใจในตัวเอง และสามารถสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองได้
  • Entrepreneurship คือ มีความเป็นผู้ประกอบการ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำหรือเจ้าของธุรกิจเท่านั้น) แต่สกิลนี้จะช่วยให้เราก้าวออกจาก comfort zone ได้ดี คือ กล้าได้กล้าเสียอย่างมีสติประเมินความเสี่ยงเป็น, ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมได้ดี (หมายถึงรู้จักปรับตัวด้วยการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เข้ามา disrupt ได้) มี passion ในการทำงาน
  • Goals Achievement คือ ลักษณะจะเป็นเหมือนตัวเองเป็นเจ้าของกิจการ มีอำนาจในการตัดสินใจและเด็ดขาด มีการทำงานแบบเน้นผลลัพธ์และความสำเร็จ รู้จักพัฒนาตัวเอง มีความพยายาม ตั้งใจ สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนเก่ง

 

 

Digital (ดิจิทัล)

ด้านที่ 4 เป็นการพัฒนาและเพิ่มสกิลในเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบดิจิทัลอื่นถูกอัพเกรดไม่ต่างกัน ดังนั้น 3 ด้านย่อยที่ McKinsey แนะนำก็คือ

  • Digital Fluency and Citizenship คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดิจิทัลขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย ทั้งความรู้, เชิงจรรยาบรรณ, ความร่วมมือทางดิจิทัล เป็นต้น
  • Software Use and Development คือ การใช้และการพัฒนาในเชิงซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ การเขียนโปรแกรม, การคิดแบบอัลกอริทึม ซึ่งก็คือ การที่เราฝึกคิด วางแผน และปฏิบัติอย่างเป็นระบบนั่นเอง
  • Understanding Digital Systems คือ การเข้าใจระบบดิจิทัล ทั้งการทำงานด้วยระบบอัจฉริยะต่างๆ มีความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และจำเป็นต้องอัพเดทถึงเทคโนโลนีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาด้วยเพราะการ up to date จะสร้างความง่ายต่อการทำงานระหว่างกัน และถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่าเราเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ

จากข้อมูลที่สรุปมานี้ มีข้อมูลหนึ่งจากการสำรวจของ McKinsey ที่พูดว่า มีผู้ตอบแบบสำรวจที่มีทักษะ DELTAs สูงขึ้นด้านใดด้านหนึ่ง พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มที่จะได้งานทำเร็วกว่า มีรายได้สูงขึ้น และรู้สึกพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ที่สำคัญพวกเขาพร้อมรับกับแรงกดดันที่เข้ามา ดังนั้น คงไม่ใช่แค่ข้อดีจากการพัฒนาตัวเองแต่หมายถึงโอกาสมากมายก็เกิดขึ้นจากสกิลเหล่านี้ด้วย

 

 

 

 

 

 

ที่มา: McKinsey


  • 375
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม