Deloitte เผยแนวโน้มทรัพยากรบุคคลปี 60 ต้องปรับตัวขนานใหญ่อย่างรวดเร็ว

  • 79
  •  
  •  
  •  
  •  

^BEC2783372541AA7A4C7AF39A31846BA5D5C3224A97252DAEA^pimgpsh_fullsize_distr

ผลการสำรวจ แนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลปี 2560 ของ ดีลอยท์ (Deloitte) ที่ชื่อว่า Rewriting the rules of the digital age พบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่อง การบริหารทรัพยากรบุคคลแบบดิจิทัล (Digital HR), การสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent Acquisition), ผู้นำ (Leadership), และ ตำแหน่งงานและการเรียนรู้ (Career & Learning) มากที่สุด  ขณะที่เพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลงความเห็นว่า สิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ การสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent Acquisition), องค์กรแห่งอนาคต (Organization of the Future) และ ตำแหน่งงานและการเรียนรู้ (Careers & Learning)

ในประเทศไทยมีกลุ่มตัวอย่าง 42 คน ผลปรากฏว่าแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลที่สำคัญสูงสุดสำหรับประเทศไทยได้แก่ Digital HR อยู่ที่ 98%, Talent Acquisition อยู่ที่ 95%, Leadership และ Careers & Learning เท่ากันที่ 93% ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศอื่นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่าปัจจัยสำคัญสามอันดับแรกได้แก่ Talent Acquisition อยู่ที่ 91% , Organization of the Future อยู่ที่ 90% และ Careers & Learning อยู่ที่ 89% นอกจากนี้ผู้ตอบคำถามทั่วโลกเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ Organization of the Future อยู่ที่ 88%

image015

เมื่อต้องปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลแล้วผู้นำเองก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย โดยผู้นำควรพิจารณานำDisruptive Technologies มาใช้กับการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลในทุกแง่มุมและทุกขั้นตอน ผลการสำรวจของดีลอยท์พบว่าบริษัทต่างๆจำนวน 56% มีการออกแบบโปรแกรมทรัพยากรบุคคลใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลและมือถือมากขึ้น ขณะที่อีก 33% ได้มีการนำแอพพลิเคชั่นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence)Applicationsมาใช้กับการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลอยู่แล้ว

นอกจากนี้ผลการสำรวจของดีลอยท์ยังพบว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคลอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ การที่จะวางตัวเองเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพให้แก่องค์กรนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการให้บริการและโปรแกรมพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพ  ควบคู่กับการออกแบบการทำงานให้เป็นดิจิทัลเป็นสำคัญ

Deloitte

ปัจจุบันผู้นำองค์กรธุรกิจหันไปหาโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานในลักษณะเครือข่าย  อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการทำงานมักจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน  ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีความลำบากในการวิ่งตามเทคโนโลยี  บุคลากรมืออาชีพด้านทรัพยากรบุคคลเพียง 35% เท่านั้นที่ให้คะแนนความสามารถของตัวเองในระดับสูง เมื่อเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้ามาจะพลิกโฉมรูปแบบการทำธุรกิจและการทำงานอย่างมหาศาล

ผู้นำยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จขององค์กร ผู้นำยุคปัจจุบันจึงต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญแตกต่างไปจากผู้นำยุคเก่า อย่างไรก็ตามองค์กรส่วนใหญ่ยังขยับเปลี่ยนแปลงช้าเกินไป ในเรื่องการสร้างผู้นำยุคดิจิทัล ส่งเสริมผู้นำคนรุ่นใหม่ และรูปแบบของผู้นำแบบใหม่

ผลการสำรวจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังชี้ว่า ผู้นำที่เก่งเรื่องดิจิทัลและพร้อมปรับตัวให้กับโลกยุคใหม่เป็นเรื่องสำคัญมาก แต่มีเพียง 5% เท่านั้นที่มีโครงการพัฒนาผู้นำดิจิทัลเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งผู้นำในปัจจุบันต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงของ 3 สิ่ง คือ องค์ความรู้ พฤติกรรมและอารมณ์ ซึ่งผู้นำมักจะจะได้รับความสนับสนุนจากองค์กรของตนในเรื่องดังกล่าวน้อยมาก

Group of business people working at office

ไม่เพียงเท่านี้ผลการสำรวจทั่วโลกระบุว่า บริษัททั่วโลกเพียง 11% เท่านั้นที่รายงานว่าองค์กรของตัวเองมีการเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นองค์กรแห่งอนาคตหรือการทำงานในโลกยุคดิจิทัลทำให้กฎเกณฑ์ทางธุรกิจเปลี่ยนไป องค์กรต่างๆ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและปรับพฤติกรรมภายในองค์กร เพื่อให้สามารถบริหารจัดระเบียบ กระตุ้น จัดการและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน

 

Copyright © MarketingOops.com


  • 79
  •  
  •  
  •  
  •