ในโลกที่ทุกคนสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วผ่านสมา์ทโฟน ช่วยให้เกิดการตื่นตัวการรับรู้ข้อมูล และมีส่วนช่วยให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ COVID-19 แม้จะมีหลายครั้งที่เกิดการสร้างข่าวปลอม (Fake News) แต่ถึงอย่างนั้นสมาร์ทโฟนก็ยังช่วยให้เกิดการคัดกรองข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว แค่ปลายนิ้วสัมผัส
และเป็นที่แน่ชัดว่า สมาร์ทโฟนในระบบ Android มีจำนวนมากกว่าสมาร์ทโฟนในระบบอื่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Android เป็น Open Source ที่สมาร์ทโฟนค่ายไหนก็ตามสามารถนำระบบ Android ไปใช้ได้ (ยกเว้น Huawei) แต่ด้วยปริมาณจำนวนมากนี่เอง จึงเป็นที่หมายตาของเหล่ามิจฉาชีพเช่นเดียวกัน และส่งผลให้เหล่าแฮคเกอร์มีเป้าหมายเจาะจงมาที่ระบบ Android
แม้ระบบ Android จะมีการป้องกันเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีช่องโหว่และส่งผลให้สมาร์ทโฟนกว่าหนึ่งพันล้านเครื่องเสี่ยงต่อการถูกแฮค โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนระบบ Android ที่วางจำหน่ายในปี 2012 หรือก่อนหน้านี้ ควรจะต้องกังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากข้อมูลของ Google พบว่ามีผู้ใช้ Android ทั่วโลกกว่า 42.1% ที่ยังใช้ระบบ Android เวอร์ชัน 6.0 หรือต่ำกว่า
ซึ่งแพตช์ความปลอดภัยที่ออกมาโดยระบบ Android ในปี 2019 จะไม่รองรับเวอร์ชั่น Android ที่ต่ำกว่า 7.0 ลงไป ส่งผลให้ผู้ใช้ Android เกือบครึ่งจากทั่วโลกจะไม่ได้รับการอัปเดตความปลอดภัยอีกต่อไป หมายถึงสมาร์ทโฟนที่เคยขายราคาหลายหมื่นกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยง แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจะมองว่า นี่คือวัฏจักรของสินค้าเพื่อให้เกิดการเติบโตของตลาด
สำหรับการแก้ไขเบื้องต้นของผู้ที่อยู๋ในภาวะเสี่ยง ก่อนอื่นลองอัพเกรดเวอร์ชั่น Android ผ่านสมาร์ทโฟน หากยังไม่มีการอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่ ควระระงับการดาวน์โหลดทุกชนิด ยกเว้นแอปฯ ที่มีอยู่ใน Google Play store ระมัดระวังการเปิด SMS หรือ MMS ที่น่าสงสัย และควรสำรองข้อมูลสำคัญอย่างน้อย 2 แหล่ง ทั้งจากฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกสมาร์ทโฟนและบริการคลาวด์ ที่สำคัญควรติดตั้งแอปป้องกันไวรัสเพิ่มเติม
Source: BBC