ปอท.เตือนระวังเว็บ “เราไม่ทิ้งกัน” ปลอม หลังตรวจสอบพบเว็บมีชื่อคล้ายกันกว่า 44 เว็บ

  • 148
  •  
  •  
  •  
  •  

Phishing

จากมาตรการรัฐในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 จำนวนเงิน 5,000 บาทเป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยผู้ที่ประสบปัญหาสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการดังกล่าวได้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” ในช่วงที่ผ่านมาจนทำให้เว็บไซต์ดังกล่าวระบบล่มเป็นระยะ จากการเข้าเว็บไซต์พร้อมกันจำนวนหลายๆ คน ในเวลาเดียวกัน

นอกจากเรื่องของระบบล่มแล้ว กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ยังได้แจ้งเตือนประชาชนผ่าน Facebook Fanpage ถึงการตรวจพบเว็บไซต์จำนวนมากที่ตั้งชื่อคล้ายกับเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” ซึ่งมีมากถึง 44 เว็บไซต์ และเกรงว่าปราชนจะเข้าใจผิด รวมถึงความรีบร้อนในการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์จนอาจพลาดพิมพ์ผิดหรือสะกดผิด และถูกเว็บไซต์เหล่านี้หลกลวงข้อมูลสำคัญ โดยมีข้อความระบุว่า

Fake Web
ระวังเว็บปลอมสามารถพิมพ์ URL พยัญชนะอังกฤษ ร่วมกับสระและวรรณยุกต์ไทยได้

เราไม่ทิ้งกัน !!!

มาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน)
แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการ หรือผู้ได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดจากไวรัส COVID-19

อย่าคลิกลิงค์เว็บไซต์ที่ส่งต่อๆ กันมา อาจเป็นเว็บไซต์ตั้งชื่อคล้าย เลียนแบบ เพื่อหลอกลวงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัญชีธนาคาร username password ขอรหัส OTP

lราไม่ทิ้งกัน อันนี้ผิด
sาไม่ทิ้งกัน อันนี้ผิด
เราไม่nิ้งกัน อันนี้ผิด
เราไม่ทิ้งnัน อันนี้ก็ผิด

หากใจร้อน รีบกดลิงค์ หรือพิมพ์สะกดผิด รีบกรอกข้อมูล คนร้ายกวาดเรียบหมดบัญชี

ต้องตั้งสติ พิมพ์ด้วยตนเอง สะกดพยัญชนะ สระ วรรรณยุกต์ ให้ถูกต้อง พิมพ์ช้าๆ ดูชัดๆ ตรวจทานอีกรอบ ได้แน่ 5,000 บาท

เตือนตัวเอง เตือนพ่อแม่พี่น้อง เตือนเพื่อน ฯลฯ ระวังไวรัสแล้วระวังมิจฉาชีพด้วย

#TCSD #เราไม่ทิ้งกัน #เว็บปลอม #มาตรการเยียวยา5000บาท

ปอท-01

นอกจากนี้ บก.ปอท. ยังเตือนประชาชนให้ติดตามรับฟังข่าวสารอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะข่าวปลอม Fake News ที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการรับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนแล้ว ยังอาจตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวงได้ ซึ่ง บก.ปอท.ย้ำว่าต้องมีสติในการตรวจสอบอักขระพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การเว้นวรรค รวมถึงนามสกุล .com ที่ถูกต้องก่อนเข้าสู่เว็บไซต์ อย่าใจร้อนรีบพิมพ์รีบกด และไม่ควรกดลิงค์ที่ต้องสงสัยเพราะอาจจะตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพได้

ปอท-02

ที่สำคัญการบอกข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะ “รหัสด้านหลังบัตรประชาชน” ซึ่งจะช่วยยืนยันตัวตนควบคู่กับเลขบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก โดยที่ผ่านมาหลายมาตรการของภาครัฐที่มีการใช้บัตรประชาชน จะต้องใช้รหัสหลังบัตรประชาชนร่วมด้วย บก.ปอท.จึงขอแนะนำไม่ควรเปิดเผยข้อมูลด้านหลังบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่น โดยไม่จำเป็น อย่าให้หรือส่งภาพให้ใครเด็ดขาด ถ้าต้องมัการถ่านสำเนาบัตรประชาชนให้ถ่ายเพียงด้านหน้าอย่างเดียวเท่านั้น

ปอท-03

 

Source: บก.ปอท.


  • 148
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา