(สรุป) วัคซีนทั้งหมดมีกี่แบบ แล้วแบบไหนที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ

  • 749
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ในช่วงนี้กำลังเป็นการวนลูปของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 อีกครั้ง แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือ เชื้อไวรัสกำลังกลายพันธุ์ และมีสายพันธุ์ใหม่เพิ่มเข้ามา อย่างที่ในประเทศไทยกำลังกังวลเกี่ยวกับ เชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เบงกอลจากอินเดีย โดยว่ากันว่าเป็นสายพันธุ์แบบ Triple Mutant หรือ มีอัตราการติดเชื้อเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก (นอกจากเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อังกฤษ)

ในขณะเดียวกันเชื่อว่าทุกคนต้องอยากที่จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ #วัคซีน มากขึ้นว่าตัวไหนที่ดี ฉีดแล้วมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราจึงอยากจะมาสรุปวัคซีนที่พัฒนาขึ้นทั้งหมดบนโลกนี้ และถูกใช้จริงๆ ในหลายประเทศว่ามีแบบไหนบ้าง

แต่สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน ก็คือ ในทางการแพทย์ยังไม่มียืนยันว่า วัคซีนตัวไหนที่ดีที่สุด แต่เรากำลังพูดถึงวัคซีนที่ถูกใช้ทั่วโลกอย่างแพร่หลาย (ซึ่งได้รับการยอมรับจากองค์กรทางการแพทย์ของประเทศนั้นๆ)

 

วัคซีน Pfizer และ Moderna

ข้อมูลทางการแพทย์หลายแห่ง ระบุว่า วัคซีนจากบริษัท Pfizer และ Moderna ถือว่าได้รับการยอมรับในหลายประเทศ และถูกใช้อย่างแพร่หลาย (มากที่สุด) หากเทียบกับจำนวนประเทศทั่วโลกที่ใช้วัคซีน 2 ตัวนี้

โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน บริษัท Moderna ได้อัพเดตผลการทดลองวัคซีนต้าน COVID-19 ตัวใหม่ ซึ่งพัฒนามาเป็นระยะที่ 3 ว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันการติด COVID-19 ประมาณ 94.1% ส่วนประสิทธิภาพของวัคซีน Moderna จะยังอยู่ต่อไปอีก 6 เดือน หลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ ลักษณะการทำงาน และประสิทธิภาพของวัคซีนของ Moderna กับ Pfizer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน เพราะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่คล้ายกัน แต่วัคซีนของ Pfizer คอนเฟิร์มว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเล็กน้อยที่ 95% และปัจจุบันได้รับการยืนยันว่า การทดสอบของวัคซีน Pfizer ตัวใหม่ ประสิทธิภาพแตะที่ 100% แล้วในการรักษา COVID-19 แต่ยังต้องใช้เวลาในการทดสอบซ้ำ make sure ว่าวัคซีนตัวใหม่นี้อาจไม่จำเป็นต้องแช่อยู่ในอุณหภูมิติดลบอีกต่อไปด้วย

 

วัคซีน Johnson & Johnson

แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตวัคซีน Johnson & Johnson จะเป็นของอเมริกาเหมือนกัน แต่ว่าที่ผ่านมามีหลายประเทศโดยเฉพาะในโซนยุโรปที่ประกาศ ควบคุมการใช้วัคซีนชนิดนี้ก่อน โดยองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่า วัคซีนชนิดนี้มีผลกระทบเกี่ยวกับลิ่มเลือดในระหว่างการรักษาในบางเคส แต่ยังไม่ได้สั่งแบนอย่างเด็ดขาด (จนกว่าจะศึกษาได้)

ทั้งนี้ ทางการแพทย์ยืนยันล่าสุดว่า ประสิทธิภาพในการช่วยเรื่อง COVID-19 ของวัคซีน Johnson & Johnson อยู่ที่ประมาณ 85% ซึ่งยังพอจะช่วยในการรักษาได้ เพียงแต่ต้องศึกษาวัคซีนประเภทนี้ดีๆ ก่อน

 

วัคซีน AstraZeneca

วัคซีนที่ถูกผลิตจากบริษัทในสหราชอาณาจักร และเป็นวัคซีนที่สามารถเก็บรักษาได้ในอณหภูมิปกติ โดยทางการแพทย์ระบุว่า ประสิทธิภาพในการรักษาของวัคซีน AstraZeneca อยู่ที่ประมาณ 84% แต่มีผลกระทบเรื่องมีไข้สูง และทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในบางเคสด้วย (โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี)

ดังนั้น ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่ประกาศแบนวัคซีนประเภทนี้ เช่น ฟิลิปปินส์, ในสหภาพแอฟริกา, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, เยอรมนี, ออสเตรเลีย ที่ประกาศให้ใช้วัคซีน Pfizer แทนการฉีดวัคซีนจาก AstraZeneca หรือแม้แต่ใน อังกฤษ เองก็ตาม

 

วัคซีน Sinovac

นักวิจัยในบราซิล ได้เปิดเผยประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac ที่ผลิตมาจากบริษัทในจีนแล้ว โดยผลลัพธ์โดยรวมออกมาไม่ค่อยดีนัก เพราะประสิทธิภาพในการทำงานมีเพียง 50.4% เท่านั้น ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของวัคซีนแบรนด์อื่นทั่วโลก

ขณะที่นักวิจัยจากสถาบัน Butantan ได้ทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนอย่างต่อเนื่อง จนได้ผลลัพธ์สูงสุดอยู่ที่ 78% แต่ถึงอย่างไร วัคซีน Sinovac ของจีนก็ถือว่าอยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าวัคซีนอื่นในปัจจุบัน

 

วัคซีน Sputnik

มาถึงวัคซีนจากแดนหมีขาว #Sputnik ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนที่รัฐบาลไทยได้เจรจาเตรียมจะนำเข้ามา ซึ่งในวารสารชื่อดัง Lancet ได้ระบุว่า วัคซีนของรัสเซียมีประสิทธิภาพช่วยป้องกัน COVID-19 ได้ถึง 91.6%

ขณะที่ข้อมูลของ ศูนย์วิจัยแห่งชาติ Gamaleya ด้านระบาดวิทยาและจุลชีววิทยา ระบุว่า วัคซีนชนิดนี้สามารถช่วยป้องกันได้ถึง 97.6% ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง จะหมายถึงประสิทธิภาพที่สูงที่สุดในบรรดาวัคซีนบนโลกนี้ที่มีการใช้งานจริง (ไม่ใช่อยู่ช่วงทดสอบ)

โดยทางการแพทย์ได้อธิบายถึงวิธีการทำงานของวัคซีน Sputnik คือ จะใช้ไวรัสตัวที่อ่อนแอ และไม่ทำให้เกิดโรคหรือเอฟเฟ็กต์ต่อร่างกาย จากนั้นจะมีการตัดต่อพันธุกรรมโปรตีนของ COVID-19 เข้าไป หลังจากฉีดแล้ววัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19 ขึ้นมาได้

ทั้งนี้ วัคซีน Sputnik จะยังไม่ได้รับการรับรองหลายที่ หนึ่งในนั้นก็คือ EMA สำนักงานการแพทย์ของยุโรป แต่ปัจจุบันกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนของรัสเซีย สำหรับการใช้แบบฉุกเฉินแล้ว เช่น อินเดีย, ฟิลิปปินส์, กรีซ และ อาร์เจนตินา รวมถึงไทยด้วยหากการนำเข้าวัคซีนพร้อมแล้ว

นอกจากวัคซีนทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา ยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังผลิตขึ้นมาเพื่อสถานการณ์นี้โดยเฉพาะ อย่างในไทยที่เรามี วัคซีน ChulaCov19 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่เพิ่งเปิดรับสมัครอาสาสมัครไม่กี่วันมานี้ ซึ่งก็หวังว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับทุกคน

 

 

 

 

 

ที่มา: wexnermedical, statnews, dw, businesstoday, bbc, pharmaceutical


  • 749
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม