ทุบวงการหาแฟน! ‘Tinder’ กลายเป็นแอพฯ ที่คนยอมจ่ายเงิน(เพิ่ม) มากที่สุดในปี 2020

  • 278
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ไหนๆ ก็เข้าสู่เดือนแห่งความรักกันแล้ว และโลกในสมัยนี้สำหรับการหาคู่ที่ง่ายนิดเดียว เพราะกลายเป็นว่าทุกคนทั่วโลกอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้นบนโลกที่ไร้พรมแดน สามารถเชื่อมหากันได้หมด ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ การจะมีแฟนสำหรับคนโสด หรือหาเพื่อนต่างชาติเพิ่มก็กลายเป็นเรื่องง่ายๆ กล้าที่จะ say hi กันได้ทั่วโลก ด้วยแอพพลิเคชั่น ‘หาคู่’ (dating apps) มากมายในปัจจุบัน

แล้วรู้หรือไม่ว่า ในยุคที่ใครๆ ก็ติดหน้าจอมือถือ เดินไปไหนมาไหนก็พากันก้มหน้า แอพฯ ตัว หรือประเภทไหนที่เข้าถึงผู้ใช้ที่สุด และทำให้พวกเขายอมที่จะควักเงินในกระเป๋ามากที่สุดด้วย คำตอบก็คือ ‘แอพฯ หาคู่’

ในการสำรวจของ App Annie โปรเจ็กต์ ‘Mobile Minute’ ตัวล่าสุดสำหรับข้อมูลอินไซต์ในปี 2020 พบว่า “ผู้บริโภคทั่วโลกโดยเฉลี่ยแล้วมีการใช้จ่ายมากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 90,000 ล้านบาท) ไปกับแอพฯ หาคู่ เพิ่มขึ้น 15% เทียบปีต่อปี (YOY) และยังมียอดดาวน์โหลดแอพฯ หาคู่กว่า 560 ล้านครั้งด้วย”

ส่วนแอพฯ หาคู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2020 ก็คือ ‘Tinder’ คงจะคุ้นๆ กันใช่มั้ย เพราะแอพฯ นี้เข้ามาในไทยค่อนข้างนาน และได้รับความนิยมเป็นแอพฯ หาคู่ท็อปๆ เลยก็ว่าได้

ที่น่าสนใจคือ Tinder เป็นแอพฯ (ที่ไม่ใช่เกม) แต่ผู้ใช้ยอมที่จะจ่ายเงิน เสียเงินให้กับฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น Gold Member – ที่ช่วยให้เราเห็นคนที่ Liked เพื่อสแกนก่อนเลยว่า เราอยากจะ Match ด้วยมั้ยเพื่อสานความสัมพันธ์ต่อ เป็นต้น
สำหรับแอพฯ หาคู่อื่นๆ ที่ติด Top 10 และได้รับความนิยมทั่วโลก (Worldwide) ก็คือ

 

  1. Tinder
  2. Bumble App
  3. Pairs
  4. Badoo
  5. MeetMe
  6. Hinge
  7. Tantan
  8. Grindr
  9. Tagged
  10. POF Online Dating

 

 

ส่วน Top 10 แอพฯ อื่นที่ไม่ใช่แอพฯ หาคู่ และคนก็ยอมจ่ายเพิ่ม (Consumer Spend) ในปี 2020 เพื่อให้ได้เข้าถึงฟีเจอร์นั้นๆ มากขึ้น ก็คือ

 

  1. Tinder
  2. TikTok
  3. YouTube
  4. Disney+
  5. Tencent Video
  6. Netflix
  7. Google One
  8. IQIYI
  9. BIGO LIVE
  10. Pandora Music

 

 

แล้วข้อมูลอินไซต์เหล่านี้ สำคัญยังไง? ทีมที่ทำการสำรวจวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับธุรกิจเสมอ นักการตลาดต้องเข้าใจ นักกลยุทธืก็ต้องตามว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลต่อไปในอนาคตอย่างไร และปัจจัยนี้จะเป็น metric ความสำเร็จของธุรกิจได้อย่างไร

อย่างพฤติกรรมที่ยอมใช้จ่ายไปกับ แอพฯ หาคู่ ความเชื่อ ความคิด mind-set ของผู้บริโภคในยุคนี้เป็นอย่างไร แล้วพยายามเข้าใจ pain point ให้ละเอียด เพราะการยอมเสียเงิน นั่นคือ value ของความเชื่ออย่างหนึ่งที่แบรนด์หรือธุรกิจสามารถต่อยอดได้ การที่พวกเขาให้ value ไปกับแอพฯ หาคู่ต้องมี deep insights ที่เราต้องเข้าใจ เช่น ความเหงา, อุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาความเหงา, ความเขินอายที่เป็นปัญหา หรือ desire ที่อยู่ในต่างแดนมากกว่าในประเทศตัวเอง รวมไปถึง การดีไซน์รูปแบบแอพฯ ที่เข้าถึงผู้ใช้ อย่างเช่น Tinder ที่ใช้วิธี ‘ปัดซ้าย – ขวา’ เพื่อแสดงความสนใจ รูปแบบของแพลตฟอร์มบางทีมีความสำคัญ และค่อนข้าง in details

ดังนั้น การบ้านการเติบโตและเข้าถึงของธุรกิจและแบรนด์ คือ การใส่ใจผู้ใช้ หรือกลุ่มเป้าหมายที่มาากกว่าเดิม ต้องสวมบทบาทเข้าไป ‘ถ้าเราเป็นเขา’ แล้วใช้ความเชื่อบวกกับประสบการณ์เข้าไป ลุย!

 

 

 

ที่มา: appannie


  • 278
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม