ไม่อยากโดนทุ่มตลาดจาก ‘จีน – ไต้หวัน’ อีคอมเมิร์ซไทยต้องปรับตัวอย่างไรในตลาด Red Ocean ลับคมก่อนปี 2021

  • 34
  •  
  •  
  •  
  •  

มีหลายๆ คนที่บอกว่าในปี 2020 เป็นปีทองสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพราะปัจจัยความไม่แน่นอนจากการระบาดของไวรัส ที่เป็นตัวเร่งให้ปรับพฤติกรรมใหม่ทั้งหมด แต่ในปี 2021 ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนยังประเมินว่าอาจมีความท้าทายมากขึ้น ไม่ใช่เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ความน่ากังวลอยู่ที่วิธีการรับมือของ ‘อีคอมเมิร์ซไทย’ ที่จะทันและเพียงพอกับดีมานด์ของผู้บริโภคที่มากขึ้นหรือไม่ต่างหาก

 

 

มีคำพูดหนึ่งของ คุณธนารัตน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เขาพูดว่า “คนไทยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สูงมาก ถึงวันละ 9 ชม. และแบ่งเป็นสมาร์ทโฟนประมาณ 5 ชม.” นั่นหมายความว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซจะมีโอกาสมากขึ้นอีกในอนาคต

 

 

 

‘Online Shopping’ ติดเป็น Top 5 แอพฯ ที่คนไทยใช้งานมากที่สุด!

พอรู้พฤติกรรมผู้บริโภคแล้วว่าส่วนใหญ่ใช้เวลากับมือถือในแต่ละวันถึง 5 ชม. ดังนั้น ลองมาดูกันมั้ยว่า แอพพลิเคชั่นไหนที่คนไทยนิยมใช้ระหว่างวันมากที่สุด

  1. Social Media: ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter, TikTok แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน
  2. Chat: พูดได้ว่าคนไทยก็ยังติดการแชทระหว่างวัน ไม่ว่าจะเป็น LINE หรือ WhatsApp แล้วยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ อีก เช่น Messenger ของ Facebook และชองแชทใน Instagram ก็ตาม
  3. VDO (Entertainment): ไม่ต้องงสัยเลยว่าแพลตฟอร์มอะไรที่คนไทยใช้กันมากที่สุด ก็ยังเป็น YouTube อยู่ดี
  4. Music: เสียงเพลงยังอยู่ในใจใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะระหว่างเดินทา, ทำงาน, หรือ วันว่างๆ
  5. Online Shopping: แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ตามมาเป็น Top 5 ตั้งแต่ 2-3 ปีก่อน คนไทยชอบซื้อของผ่านออนไลน์มากขึ้นจนน่าตกใจ

 

แล้วสินค้าประเภทไหนล่ะที่คนไทยนิยมซื้อจากออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส คุณธนารัตน์ พูดให้ฟังว่า สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในช่วงเดือนก.ย. เทียบกับเดือน ม.ค. 2020 ขณะที่สินค้าประเภทอื่นที่เหลือใน Top 5 เช่น

  • สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต/อุปโภคบริโภค 73%
  • สินค้าเทคโนโลยี/Gadget 50%
  • สินค้าตกแต่งบ้าน/เฟอร์นิเจอร์ 29%
  • สินค้าที่เป็นของแต่งตัว เช่น นาฬิกา, สร้อยคอ, ต่างหู 26%
  • อุปกรณ์กีฬา 26%

 

ส่วนประเภทสินค้าที่ยอดขายไม่ดีช่วงนี้ แน่นอนว่าจะเป็นประเภทที่เกียวกับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น สายการบิน, โรงแรม และอีกหนึ่งอย่างที่เห็นว่ายอดขายลดลง ก็คือ ‘สินค้าแฟชั่น’

 

 

‘Ecommerce Marketplace’ เป็นแหล่งช้อปปิ้งใหญ่สุดของคนไทย

ข้อมูลของ Priceza ชี้ชัดเจนว่า มี 3 ช่องทางที่คนไทยเลือกจะช้อปป้งออนไลน์ ซึ่งสัดส่วนใหญ่สุดเกือบ 50% ก็คือ ‘E-marketplace’ เช่น Shopee, Lazada, JD Central โดยเฉพาะในช่วงที่จัดโปรโมชั่น อย่างเช่น 11.11 และ 9.9 มีการเติบโตถึง 100% หรือเกือบ 100% ซึ่งในอนาคตก็น่าจะยังเติบโตอยู่เหมือนเดิม

 

 

ส่วนการชอปปิ้งทาง โซเชียลมีเดีย’ เป็นสัดส่วนใหญ่อันดับ 2 ประมาณ 38% และ E-trailer หรือ brand.com ต่างๆ มาอยู่เป็นช่องทางที่ 3 ประมาณ 15%

คุณธนารัตน์ พูดว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมคนไทย และเข้าใจว่าทั้ง 3 ช่องทางนี้เป็น channel หลักที่คนไทยเลือก ดังนั้น การทำโปรโมชั่น หรือแคมเปญต่างๆ หรือแม้แต่การทำการตลาดก็ตาม ควรใส่ใจกับทั้ง 3 ช่องทาง เพื่อให้ธุรกิจเราเติบโตได้อย่างครอบคลุม

 

 

 

สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ การทุ่มตลาดจากจีนไต้หวันในไทย

ประเด็นนี้ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว คุณธนารัตน์ กางภาพให้เราเห็นกันชัดๆ ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซของไทย เขาได้พูดเปรียบเทียบภาพรวมให้ฟังจาก 3 แพลตฟอร์ม marketplace ที่ปอปปูล่าที่สุดในไทย ‘Lazada – Shopee – JD Central’ โดยพบว่า ระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น มีสินค้าหลากหลายประเภทที่ offer ลูกค้าคนไทยกว่า 100 ล้านรายการ สิ่งนี้กำลังบอกอะไรเรา?

 

 

สินค้าเป็นร้อยๆ รายการมาจากไหน? ทำไมถึงเยอะขนาดนั้น? คำตอบก็คือ เมื่อโลกของเราไร้พรมแดนไม่มีการแบ่งเขต ไม่มีการแบ่งประเทศชัดเจนบนโลกออนไลน์ สินค้าไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตามสามารถค้าขายได้อย่างเสรี และผู้ผลิตใหญ่สุดของโลกอย่าง ‘จีน’ ก็เป็นหนึ่งในนักทุ่มตลาดที่เราเห็นมากที่สุดใน E-marketplace ของไทย นอกจากนี้ยังมี ‘ไต้หวัน’ ที่เป็นนักทุ่มตลาดเบอร์ 2 ในปัจจุบัน

 

 

คุณธนารัตน์ ได้ลองทดสอบ order สินค้าจากจีนราคา 1-2 บาท และค่าขนส่ง Free (จ่ายเงินไปทั้งหมด 8 บาท) ใช้เวลาโลจิสติกส์แค่ 7 วัน (เมื่อช่วงกลางปี) ความน่ากลัวก็คือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยสามารถแข่งขันได้ในราคาต้นทุนแบบนี้หรือไม่ และสู้กันเรื่องโลจิสติกส์ได้หรือไม่ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ทำให้เราฉุดคิดขึ้นมาว่า แล้วในปี 2021 ล่ะ? ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะยิ่งเป็น Red Ocean หรือสมรภูมิที่แข่งขันกันดุเดือดกว่านี้อีก แล้วเราต้องรับมือกันอย่างไร

 

 

 

 

สรุปคำแนะนำ ‘ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทย’ ต้องรับมืออย่างไรในปี 2021

  • สินค้าไทยต้องสร้างความแตกต่าง
  • เป็นสินค้าที่มีคุณภาพจริงๆ
  • สร้างมูลค่าด้วยบริการที่ประทับใจ (ส่งฟรี, ส่งเร็ว)
  • สินค้าต้องตรงปก
  • มีบริการช่วยเหลือ/แนะนำกับผู้ขาย
  • มีบริการเก็บเงินปลายทาง
  • รับประกันสินค้าหลังการขาย
  • ลักษณะการพูดคุย/ตอบคำถามลูกค้าดีหรือไม่
  • ความใส่ใจ/ความรวดเร็วในการตอบคำถาม
  • มีช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงครบหรือไม่

 

อันนี้เป็นเพียงข้อสรุปคร่าวๆ ที่เราต้องมา checklist กับตัวเองว่า ธุรกิจเราพร้อมหรือไม่ และปรับปรุงได้ตรงใจลูกค้าหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ที่ยกตัวอย่างมา โดยเฉพาะด้านการบริการ คุณธนารัตน์ พูดว่า “บริการที่ดี ใส่ใจ ยังเป็นสิ่งที่อีคอมเมิร์ซจีนขาด และตามเราไม่ทัน แต่เราต้องขยับตัวให้เร็วขึ้น ไม่ชะล่าใจ”

 

คุณธนารัตน์ มาลาบุปผา

ส่วนปัจจัยเรื่องโลจิสติกส์ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะไม่แน่ปีหน้าเราอาจจะเห็น warehouse สินค้าของจีนอีกรายหลาย นั่นหมายความว่า สินค้ที่เราออเดอร์จากแพลตฟอร์มช้อปปิ้งจะไม่ได้ส่งตรงมาจากจีนอีกต่อไป และมันจะใช้เวลาเร็วขึ้นเพื่อสร้างความประทับใจลูกค้า ดังนั้น ความท้าทายเราก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2021 พูดได้ว่าจะเป็นปีที่ดุเดือดอีกปีของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

 

 

ข้อมูลจาก SME Thailand & Startup


  • 34
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม