ทำความรู้จัก ‘Retailtainment’ คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อการทำการตลาดในอนาคต

  • 495
  •  
  •  
  •  
  •  

 

กลยุทธ์ในการทำการตลาดมักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามยุคตามสมัย และพฤติกรรมของผู้บริโภค อย่างในปัจจุบันยุคที่ทุกอย่างเชื่อมโยงเข้ากับดิจิทัล ดังนั้น การรวมกันระหว่างการตลาด+ดิจิทัล เราเลยจะเห็นในรูปแบบของ ‘การขายสินค้าบนโลกออนไลน์’ ไม่ว่าจะผ่านแพลตฟอร์ม e-market ต่างๆ หรือแม้แต่ในโซเชียลมีเดียก็ตาม เช่น Facebook, Instagram เป็นต้น

สำหรับ ‘Retailtainment’ ซึ่งมีหลายๆ คนเข้าใจว่าเป็น กลยุทธ์ใหม่ทางการตลาด ความเป็นจริงแล้วมันคือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเรามานานแล้ว เพียงแต่ในสมัยนี้ภาคธุรกิจเริ่มเข้าใจและหาจุดเด่นของกลยุทธ์นี้ได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถเอามาปรับใช้กับธุรกิจได้ดี

แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ‘Retailtainment’ กันก่อน สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจอย่าง 100%

 

 

ว่าด้วยเรื่อง ‘Retailtainment’ 101 สรุปคืออะไร?

คำว่า Retailtainment ซึ่งมาจากคำว่า ‘Retail + Entertailment’ เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ทำกันมานานแล้วเพียงแต่ไม่ได้หลากหลายเหมือนในปัจจุบัน ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ร้านค้าที่จัดกิจกรรม แคมเปญร้าน แล้วเปิดเพลงกระตุ้นเรียกลูกค้าไปด้วย สิ่งเหล่านี้เราก็สามารถเรียกว่าเป็น Retailtainment ได้เช่นกัน

ดังนั้น พอก้าวสู่ยุคสมัยใหม่เราจึงเห็นบรรยากาศเหล่านี้บนร้านค้าออนไลน์ด้วย ในระหว่างที่ LIVE ขายสินค้ากัน ไม่ว่าจะเป็น เสียงเพลงให้ดูคึกคัก, ลักษณะการพูดคุยสนุกสนาน, การมีกิจกรรมแทรกระหว่างที่ขายสินค้า จนไปถึง การจับฉลากแจกของรางวัล เป็นต้น

ทั้งนี้ ความหมายของ Retailtainment แบบเคลียร์ๆ ก็คือ การใช้การตลาดค้าปลีกในแนวทางที่เพิ่มความบันเทิงมากขึ้น และสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับผู้ซื้อ ทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ ซึ่งถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการสร้างบรรยากาศ บิ้วอารมณ์ ให้ผู้ซื้ออยากได้อยากซื้อมากขึ้นนั่นเอง

นักวิเคราะห์จาก NRF ได้พูดว่า ไม่ใช่แค่ออนไลน์ที่เราจะเห็น Retailtainment แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ จะทำให้ร้านค้า physical สนใจที่จะทำกลยุทธ์แบบ Retailtainment มากขึ้นเช่นกันในอนาคต แต่มีคำทำนายว่า ในปี 2025 ยอดขายสินค้าในออนไลน์จะแซงหน้าร้านค้าออฟไลน์ ซึ่งจะลดลงเหลือ 80% จากปัจจุบัน 93% ดังนั้น ภาวะการดิ้นเพื่อรอดจะทำให้กลยุทธ์การตลาดแบบนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น

 

 

ประสบการณ์ซื้อที่มี ‘Entertainment’ สร้าง Loyalty จากลูกค้า

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คำอธิบายจากนักวิเคราะห์พูดเอาไว้ว่า “พฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ ไม่ชอบการถูกกดดัน ดังนั้น การสร้างบรรยากาศ หรือการกระตุ้นอารมณ์ให้ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าเองสำคัญมาก นอกจากจะทำให้ธุรกิจขายสินค้าได้ อาจทำให้กลุ่มลูกค้านั้นๆ กลายเป็นกลุ่ม Loyalty ได้ด้วย”

 

มีตัวอย่างที่ธุรกิจมักจะใช้กลยุทธ์ Retailtainment ผ่านแคมเปญต่างๆ เช่น

  • Oldies but goldies – instore sampling

คือ การให้ลองทดลองผลิตภัณฑ์ เป็นการสุ่มแจกผลิตภัณฑ์ใหม่แกะกล่องที่ยังไม่มีการวางขาย หรือเพิ่งวางขาย ซึ่งเราอาจจะเห็นกันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น ยาสีฟัน, ครีมกันแดด, ครีมทาผิว เป็นต้น แม้ว่าอาจจะเป็นวิธีที่ดูไม่สร้างสรรค์นัก แต่ก็ยังใช้ได้ในยุคนี้ ที่สำคัญใช้ได้กับทั้งร้านค้าออฟไลน์ – ออนไลน์ อีกด้วย

  • NFC, Beacons, Bluetooth

เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยร้านค้าออฟไลน์ เช่น สแกนความชอบ, อายุ, เพศ ตั้งแต่ที่ลูกค้าเดินเข้าร้าน  อาจจะช่วยให้เราเสนอขายสินค้าที่เป็น personalized มากขึ้นได้ ซึ่งความแปลกใจจากกลยุทธ์นี้อาจทำให้ลูกค้าประทับใจในแบรนด์ของเรามากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็เสี่ยงที่จะถูกตำหนิ หรือแสดงความไม่พอใจจากกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้างรักความ privacy ได้

  • Enhanced product display

เป็นการใช้องค์ประกอบหลายๆ อย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นหอมๆ เสียงเพลงเพราะๆ ระดับไฟที่เพิ่มความละมุน หรือ หรูหรา (ตามคอนเซ็ปต์ร้าน) รวมไปถึง การสัมผัส (ผลิตภัณฑ์ในร้าน) การที่ร้านค้าช่วยให้ลูกค้าใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อตัดสินใจจากความต้องการซื้อ และความประทับใจ จะทำให้ลูกค้าจดจำร้านเรา เป็นที่ต้องารในครั้งต่อๆ ไปอีก

 

ตัวอย่างจากแบรนด์ที่ใช้ ‘Retailtainment Strategy’

บางทีการใช้กลยุทธ์นี้ไม่จำเป็นต้องแถมของ หรือลดราคาให้เสมอไป ถึงแม้ว่าวิธีแบบนี้บางทีก็จำเป็นสำหรับการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เราอยากจะลองยกตัวอย่างแบรนด์ที่ใครๆ ก็รู้จัก และใช้กลยุทธ์นี้ด้วยเช่นกัน

 

House of Vans

เป็นลานสเก็ตแบบ indoor ทีเปิดขึ้นโดย Vans ตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดสำหรับการจัดคอนเสิร์ตด้วย โดยพืนที่แห่งนี้ในลอนดอน เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจได้เพราะ target ที่สวมใส่ Vans ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น ดังนั้น House of Vans จึงเต็มไปด้วยศิลปะ ดนตรี street culture และพื้นที่แห่งแฟชั่น ซึ่งผลการสำรวจโดย Vans เคยระบุว่า กลุ่มลูกค้า ‘ใหม่’ ของ Vans เคยมา House of Vans มาก่อน และประทับใจ ทำให้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ อีกหลายอย่าง เป็นต้น

 

Toms VR

ในช่วงที่โลกของเราไม่เหมือนเดิม ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีก แบรนด์ต่างๆ ต้องหาทาง remanding ลูกค้าให้ยังไม่ลืมเรา ซึ่ง Toms แบรนด์รองเท้าชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำคลิปวิดีโอ virtual: giving trip ขึ้นมา โดยเป็นการพาทุกคนไปท่องเที่ยวที่ ‘เปรู’ และมอบประสบการณ์ ‘รองเท้าคู่แรกให้กับน้องๆ’ ไปด้วยกัน เป็นต้น

 

ดังนั้น พอเราเล่าฟังจนถึงตอนนี้จะเห็นว่า กลยุทธ์ Retailtainment ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพียงแต่การปรับใช้ในแต่ละยุค และให้เข้ากับถานการณ์ปัจจุบันเป็นเรื่องน่าสนใจกว่า ซึ่งในอนาคตภาคธุรกิจไม่ว่าจะ ออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ก็ตาม น่าจะเริ่มทำการตลาดที่เน้นกลยุทธ์นี้มากขึ้น ซึ่งก็เห็นได้ชัดว่า ความสำคัญของการดำเนินธุรกิจยังคงเป็นแบบ ‘Customer-Centric’ คือ ลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการสร้างสินค้าและบริการ

 

 

 

ที่มา: tokinomo


  • 495
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม