‘Storytelling’ กลยุทธ์เก่าแต่ยังเก๋า! ธุรกิจยังนิยมใช้กระตุ้น Branding – Marketing สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง

  • 862
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ธรรมชาติของมนุษย์เราก็มักจะคุ้นเคยกับ ‘การเล่าเรื่อง’ อยู่เสมอตั้งแต่เด็กจนโต การเล่าเรื่องที่จริงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเรามานาน ซึ่งส่วนใหญ่การเล่าเรื่องก็มักจะโฟกัสไปที่ ‘การให้ความหมาย’ แฝงอยู่มากกว่าเพื่อความบันเทิงอย่างเดียว ดังนั้น จึงไม่แปลกใจถ้าเราเห็น ‘ธุรกิจ’ ใช้กลยุทธ์เกี่ยวกับการเล่าเรื่อง มาผสมผสานกับการทำการตลาด และการทำ branding

 

‘Storytelling’ สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

การเล่าเรื่องเป็นการแสดงถึงจุดประสงค์ของธุรกิจได้ว่า จริงๆแล้ว ธุรกิจของเราต้องการให้ทิศทางของสินค้า/บริการ ดำเนินไปแบบไหน และกลุ่มลูกค้าหลัก คือกลุ่มไหน ที่สำคัญผู้บริโภคสามารถเห็นความภักดีของแบรนด์ต่อลูกค้าได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ผลิตภัณฑ์หรือบริการก็ตาม นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาที่ตรงจุดความต้องการลูกค้าแล้ว ต้องมีความโดดเด่นในการบอกเล่าเรื่อง เพราะมันช่วยสร้างความได้เปรียบและแตกต่างจากคู่แข่งได้

ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การที่เราวางแผนเกี่ยวกับ ‘สตอรี่ของแบรนด์’ เพื่อส่งต่อความหมายไปถึงลูกค้า และกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากนี้ยังจะทำให้เราขายโปรดักส์ได้ และช่วยให้พัฒนาสินค้าต่อได้ด้วย

“อย่างน้อยๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจจะเข้าใจชัดเจนขึ้นว่า พวกเขาควรจะลงทุนในธุรกิจนี้ต่อไปหรือไม่”

ยิ่งถ้าเราสามารถเชื่อมโยง Storytelling เข้ากับสถานการณ์จริงได้ เราจะยิ่งเข้าถึง deep feeling ของผู้บริโภคได้มากขึ้น โดยนักจิตวิทยาการตลาดได้พูดว่า “เรื่องราวที่อิงกับเหตุการณ์จริงมากๆ มีส่วนทำให้เกิดความต้องการซื้อ หรือใช้บริการได้ เพราะความเข้าใจและใส่ใจ ช่วยกระตุ้นความภักดีของลูกค้า และทำให้เข้าใจว่าสินค้าหรือบริการนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าในชีวิตพวกเขาได้อย่างไร”

 

สตีฟ จอบส์’ ใช้วิธี Storytelling ในการเปิดตัวโปรดักส์ครั้งแรก

ในปี 2007 เจ้าพ่อแห่ง Apple ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ได้เริ่มใช้กลยุทธ์ Storytelling เพื่อเปิดตัวสินค้า และเป็นครั้งแรกที่โลกเรารู้จัก ‘iPhone’ ซึ่งบนเวลาที สตีฟ จอบส์ ได้พูดโยงถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเรา

 

 

โดยนักวิเคราะห์มองว่า เป็นการใช้ Storytelling อีกแขนงหนึ่งที่ทำให้มนุษย์รู้สึกว่า ใช่เลย! วิวัฒนาการของเราและสิ่งรอบข้างเป็นแบบนี้ และมนุษย์เรามักจะตื่นเต้นกับอะไรใหม่ๆ ที่มาจากอนาคต (อันใกล้) ดังนั้น ในปีเดียวกันนั้นเอง จึงทำให้ iPhone เป็นที่สุดแห่งวิวัฒนาการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไร้ปุ่มกด ที่สร้างการจดจำของโลกอย่างมาก

 

ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Storytelling

 

Airbnb

แพลตฟอร์มบุคกิ้งจากสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมามักจะใช้กลยุทธ์ Storytelling อยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาที่โปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ เช่น การบุคกิ้งที่พักใหม่ที่อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยจะสร้างเป็นสตอรี่เพื่อเปิดประสบการณ์การเดินทางในที่ท้องถิ่น

อย่างเช่นโฆษณาผ่านวิดีโออนิเมชั่น รวบรวมสถานที่กับนักท่องเที่ยวเพื่อส่งท้ายปีเก่า 5 ปีย้อนหลัง กับทั้งหมด 2,000 แห่งทั่วโลกที่แพลตฟอร์ม Airbnb รองรับ ซึ่งสร้างกระแสพูดถึงอย่างมากในช่วงนั้น โดยส่วนใหญ่จะคอมเมนต์ไปในทิศทางความร่วมมือระหว่างแพตฟอร์มกับแหล่งชุมชน เพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวในชุมชน

 

 

Spotify

วิดีโอ Storytelling ที่ได้รับการพูดถึงมาก หนึ่งในนั้นก็คือ วิดีโอที่นักเรียนหลายพันคนฟังเสียงเพลง และ podcast ใน Spotify โดยทำขึ้นมาเป็นหนึ่งในสื่อการสอนในห้องเรียน ซึ่งเนื้อหาจะอยู่ใน section: Spotify Insights ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรวมเนื้อหาที่มีประโยชน์ ทั้งเพื่อการเรียน การทำงาน และการชีวิต เป็นต้น

ทาง Spotify เคยอธิบายไว้ว่า การเก็บข้อมูลผ่านการรับฟังของลูกค้า จะเป็นฐานข้อมูลในการ ‘รวมลิสต์’ ทั้งเพลง – podcast ที่มีประโยชน์มากขึ้นในอนาคต

 

บางทีการใช้วิธี Storytelling ไม่จำเป็นต้องผ่าน ‘video content’ เสมอ อย่างตัวอย่าง ‘Google’ จะออกมาในรูปแบบการ ‘ค้นหาประจำปี’ โดยเป็นการรวบรวม section ต่างๆ เช่น ‘คำค้นหายอดฮิต, ประเทศที่ค้นหายอดฮิต, ดราม่ายอดฮิต’ เป็นต้น

ความสำคัญของ Storytelling อย่างน้อยๆ ก็ช่วยแสดงให้เห็นถึง ‘ทัศนคติ-จุดยืน’ ของธุรกิจ ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวโดยมีจุดประสงค์แฝงเบื้องหลัง เพื่อดึงดูดทั้งผู้บริโภค และนักลงทุนหน้าใหม่ๆ โดยเฉพาะเหล่าสตาร์ทอัพ ค่อนข้างมีความจำเป็นที่จะสร้าง Storytelling เพื่อดึงดูดการลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมายด้วย

 

ที่มา: medium, forbes, virtualspeech, globalwebindex, business2community


  • 862
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม