ปี 2016 เป็นปีที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นบริการรับส่งสินค้าของ Amazon ด้วยโดรนในสหราชอาณาจักร และรถไร้คนขับของ Ubers ในซาน ฟรานซิสโก แต่ปี 2016 ก็เป็นปีที่เทคโนโลยี “Fail” อยู่หลายตัว
และนี่คือ 13 เทคโนโลยีที่ไม่ได้ไปต่อ
1. แจ๊กเสียบหูฟัง iPhone
Apple ประกาศว่าจะเอาแจ๊กเสียบหูฟังให้ iPhone 7 เป็นสมาร์ทโฟนไร้สาย งานนี้สาวก iPhone ต้องทำใจพักใหญ่กันเลยทีเดียว แถม Apple ประกาศขาย Airpod หูฟังไร้สาย เชิงบังคับให้สาวกต้องซื้อใช้แทนหูฟังเดิม ใส่แล้วคงดูแปลกได้อีก
2. Samsung Galaxy Note 7
เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายของ Sumsung จนต้องหยุดผลิต Samsung Galaxy Note 7 หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการระเบิดจนสาบการบินสั่งห้ามเอาขึ้นเครื่องเด็ดขาด ต้องเรียก Samsung Galaxy Note 7 กลับจากแผงตลาดกว่า 2.5 ล้านเครื่อง คาดว่าปีนี้ยอดขายจะหดไป 9.5 พันล้านเหรียญและกำไรของ Samsung จะหดหายไปกว่า 5 พันล้านเหรียญเพราะสมาร์ทโฟนเจ้าปัญหา
แถมยังต้องเรียกเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่คืออีก 3 ล้านเครื่องเพราะเสี่ยงระเบิดเช่นกัน
3. เครื่องบันทึกวีดีโอคาสเซ็ท
อีกสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องโบกมือลาอีกตัวคือ เครื่องบันทึกวีดีโอคาสเซ็ท โดยบริษัทFunai Electric จากญี่ปุ่นได้ประกาศหยุดผลิตเครื่องบันทึกวีดีโอคาสเซ็ทในเดือนกรกฎาคมปีนี้ ซึ่งบริษัทฯเคยขายได้ 15 ล้านเครื่องต่อปี แต่หลังจากที่มีดีวีดี แผ่นบลูเรย์ และบริการระบบสตรีมมิ่ง ยอดขายก็ตกฮวบ แต่ถึงอย่างนั้น บริษัทก็ยังขายได้ 750,000 เครื่องในปี 2015
4. Hoverboards
ของเล่นสุดฮิตอย่าง Hoverboards ที่เคยเป็นของขวัญสำหรับวันหยุดในปี 2015 แต่ลองเล่นแล้วกลับไม่ทรงตัวได้ดีเหมือนสก๊ตเตอร์ แถมเสี่ยงระเบิดด้วย จนรัฐบาลต้องประกาศว่าเป็นของเล่นที่ไม่ปลอดภัย ร้านค้าต้องเอาออกจากแผง tกว่า 500,000 เครื่องถูกเรียกกลับคืนจากตลาด
ถ้าคุณคิดว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นกับ Samsung Galaxy Note 7 คุณคิดถูกแล้ว เพราะแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้กับ Hoverboards ก็เป็นตัวเดียวกับ Samsung’s Galaxy Note 7 เลย
5. Pebble
นาฬิกาอัจฉริยะ Pebble เป็นอีกตัวหนึ่งที่ต้องโยนทิ้งไปหลังจากขายให้กับบริษัทระบบติดตามผลการออกกำลังกายอย่าง Fitbit ที่ดีลซื้อขาย 40 ล้านเหรียญนี้ไม่ได้รวมฮาร์ดแวร์ของ Pebble ด้วย และมีข่าวอีกว่า Fitbit ไม่ได้ทำให้มันสวมใส่ได้อีกแล้ว แต่จะพัฒนาซอฟท์แวร์ของ Pebble ให้ไปไกลว่าการติดตามผลการออกกำลังกายอย่างเดียว
ซึ่ง Pebble เป็นนาฬิกาอัจฉริยะที่ออกมาก่อน Apple Watch และ Samsung Gear จะติดตลาดเสียอีก
6. แอปพลิเคชัน “Sunrise” ของ Microsoft
แอปฯ Sunrise ไม่ Sunrise เหมือนชื่อเลยสำหรับปี 2016 ซึ่งในปี 2015 แอปฯ Sunrise เป็นแอปฯปฏิทินที่มีฟีเจอร์สำหรับการเข้าสังคมและช่วยในการนอนหลับ แต่ในปีนี้ Microsoft ยุบแอปฯนี้เข้ากับบริการอีเมล Outlook ซะงั้น แต่ก็ถือเป็นข่าวดีเพราะจะช่วยให้ผู้ใช้งานได้กำหนดมีทติ้งและใช้ Skype ติดต่อตรงๆใน Outlook ได้เลย
7. แอปฯ “Paper” ของ Facebook
แอปฯตัวนี้ถูกปล่อยมาให้เราได้ใช้ในปี 2014 เป็นแอปฯที่ถูกออกแบบเพื่อไว้อ่านบทความทันใจและสถานะที่อัพเดท สามารถดาวน์โหลดบทความลงเครื่องได้ตรงๆได้ เป็นแอปฯที่เอาไว้เช็คข้อความในอินบ็อกซ์และไทม์ไลน์ได้โดยไม่ต้องสลับสับเปลี่ยนแอป บางคนถึงขนาดเรียกแอปฯนี้ว่าเป็นอนาคตของการอ่านข่าวได้เลย
แต่ดูเหมือนว่าแอปฯนี้ก็แป๊ก ปิดให้บริการไปอีกรายเพราะแอปฯนี้ไม่สามารถดึงคนใช้งานหลักๆมาใช้ได้จริงๆ
8. หน้าจอแสดงผลแบบภาพยนตร์ของ Apple
พวกนักออกแบบกราฟฟิค และเกมเมอร์ต้องคอตกไปตามๆกัน เมื่อ Thunderbolt Display หน้าจอแสดงผลแบบภาพยนตร์ของ Apple ไม่ได้ไปต่อในปีนี้ แต่ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะ Apple ก็ไม่ได้อัพเดทให้ตั้งแต่ปี 2011 แล้ว แต่หันไปเอาดีกับการพัฒนาหน้าจอ 4K และ 5K ร่วมกับ LG ซึ่งมีราคาแพงกว่าคุณภาพดีกว่าด้วย
9. Google Picasa
บริการแก้ไข จัดการ แชร์และเก็บรูปภาพอย่าง Picasa ที่มีผู้ใช้งานเยอะมาตลอด ก็หยุดให้บริการในปีนี้ เหตุผลคือบริการGoogle Photos ทำได้ดีกว่าเยอะและการเข้ามาของกล้องสมาร์ทโฟน ผู้ใช้งานเดิมไม่พอใจที่บริการนี้หยุดไปแต่ Google ก็พยายามจะเก็บข้อมูลให้ผู้ใช้งานเดิมให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้หลังจากที่ผู้ใช้งานเดิมได้ล็อกอินเข้า Google Photo
10. Motorola
Lenovo เอาชื่อ Motorola ออกไปตั้งแต่ต้นปีโดยให้รวมและใช้ชื่อใหม่เป็น “Moto by Lenovo” ซึ่งเดิม Motorola เป็นบริษัทมือถือรุ่นแรกๆที่ขายดีมาก่อน แต่ได้ขายกิจการไปถึงสองครั้ง ครั้งแรกขายให้ Google ไป 12.5 ล้านเหรียญ นับเป็นก้าวแรกที่ Google เข้าสู่ธุรกิจฮาร์ดแวร์ แต่จากนั้นยอดขายของสมาร์ทโฟน Moto X ก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย ทำให้ Google ต้องขาย Motolora ให้ Lenovo ไป 2.9 พันล้านเหรียญ ซึ่งตอนนี้ Moto มีสินค้าแค่สมาร์ทโฟน อุปกรณ์สวมใส่และหูฟังบลูทูธเท่านั้น
11. Google’s Project Ara
อีกโครงการของ Google ที่ต้องพับเก็บไป ซึ่ง Google มีไอเดียทำสมาร์ทโฟนที่ผู้ใช้งานสามารถออกแบบได้เองราวกับเล่น LegoGoogle ใช้เวลากับโครงการนี้ถึง 3 ปีและคาดว่าจะออกวางขายในปีนี้แต่สุดท้ายก็ต้องล้มเลิกด้วยต้นทุนที่สูงเกินไปและปัญหาทางด้านเทคนิค หากวางขายในตลาดใหญ่อาจได้ไม่คุ้มเสีย
12. มือถือแบล็กเบอรี่
ใครยังจำสมาร์ทโฟนที่มีแผงคีย์บอร์ดอย่างแบล็กเบอรี่ที่เคยฮิตกันมากได้ ก็ต้องบอกว่าบริษัทได้ยกเลิกขายไปแล้วในเดือนกันยายน หลังจากที่ยอดขายตก โดยบริษัทได้หันมาเน้นกันพัฒนาซอฟท์แวร์แทน
13. Vine
แฟนๆ ของ Vine แอปฯให้บริการคลิปสั้นต้องผิดหวังเมื่อ Twitter สั่งปิดให้บริการในเดือนตุลาคม และรีแบรนด์เป็น Vine Camera ให้ผู้ใช้งานสามารถถ่ายภาพและอัดคลิปสั้น สามารถบันทึกและแชร์ได้ใน Twitter
Twitter ได้ซื้อ Vine ในปี 2012 มาในราคา 30 ล้านเหรียญ แม้ความสามรถของมันมีจำกัดแต่มีบทบาทในการเก็บภาพเคลื่อนไหวได้ดีโดยเฉพาะสำหรับศิลปินเพลงต่างๆ แต่แอปฯบริการสตรีมมิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ Vine กลายเป็นเรื่องตลกไปเลย
แหล่งที่มา
http://money.cnn.com/gallery/technology/2016/12/27/tech-products-killed-in-2016/