3 อย่างที่ห้ามทำ เมื่อต้องใช้ Data Strategy กับคนในองค์กร

  • 160
  •  
  •  
  •  
  •  

ไม่ว่ากลยุทธ์จะถูกวางไว้มาอย่างดีแค่ไหน ถ้ามันเข้ากับวัฒนธรรม วิถีชีวิต คุณค่า ทัศนคติ วิสัยทัศน์ขององค์กรไม่ได้ กลยุทธ์นั้นก็เปล่าประโยชน์ หรือถ้าเอามาใช้ได้ ก็ใช้ตามวัฒนธรรมชององค์กร (ซึ่งอาจจะถูกเอามาใช้ผิดๆก็ได้)

กลยุทธ์ในเรื่องของ “Data” ก็เช่นกัน หลายปีมาแล้วที่เราได้ยิน Buzzword อย่าง Big Data, AI, Digital Transformation จนคิดว่ามันสำคัญและต้องเอามาใช้ในธุรกิจที่ตัวเองทำ คำถามคือ จะเอามาใช้นั้น เข้าใจมันหรือยังว่ามันคืออะไร? เอามาใช้ทำไม? แล้วคนในบริษัทเอาด้วยหรือไม่? 

เพราะฉะนั้น หากสนใจให้ธุรกิจของเราใช้ Data Strategy ต้องคิดถึง 3 ข้อนี้

1. อย่าหลงกับคำศัพท์ที่พูดติดปาก (Buzzword) แต่ไม่เข้าใจเป้าหมายของธุรกิจ

เพราะการพูดคำเหล่านี้ลอยๆอย่าง Big Data, Digital Transformation, AI หรือ Data Science ในองค์กร คำพวกนี้มันไม่ได้ให้คุณค่า ให้วิธีการอะไร ฉะนั้นลองระบุเป็นคำที่ให้คุณค่าและเป้าหมายให้คมขึ้นดีกว่า 

เช่นเราจะเอา Predictive Analytics มาใช้ คำว่า Predictive Analytics ในที่นี้หมายถึง เทคโนโลยีที่เรียนรู้ข้อมูลเพื่อทำนายว่าสิ่งที่เราสนใจจะทำอะไรต่อไปในอนาคต ทำนายเพื่อให้เราได้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้สมเหตุสมผลมากขึ้น เช่นทำนายพฤติกรรมลูกค้าว่าลูกค้าคนไหนจะคลิก จะซื้อ จะสมัครสมาชิก หรือยกเลิกสมาชิก

ซึ่งบางครั้งคำว่า Machine Learning (ML)  ก็สามารถใช้แทนคำว่า Predictive Analytics ได้เวลาที่ต้องใช้กับการทำงานธุรกิจ ML จะพัฒนา pattern หรือสูตรจากข้อมูลที่ ML ได้รับและเรียนรู้มา กลายเป็นโมเดลที่ใช้ทำนายผลลัพธ์

พอเรารู้ความหมายของสิ่งที่เราพูดออกไป คนในทีมก็เข้าใจชัดเจนว่าต่อไปความรับผิดชอบของตัวเองคืออะไร พร้อมกับหน้าที่ตำแหน่ง อาจจะเป็น Machine Learning Leader หรือ Preditctive Manager

ซึ่งชัดเจนกว่าคำว่า Data Scientist ที่เวลาคนอื่นเห็นชื่อตำแหน่งนี้ ก็ไม่เข้าใจทันทีว่าตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไรกันแน่

 

2. อย่าให้ความสำคัญกับการเลือกซอฟท์แวร์ มากกว่าทักษะของคนในทีม

จริงๆซอฟท์แวร์ที่จะเอามาใช้เป็นส่วนประกอบเล็กๆสำหรับการดำเนินงานในองค์กร ฉะนั้นจะดีกว่าหรือไม่ หากเราเตรียมพนักงานให้รู้จักทักษะที่ต้องใช้ในการทำงานกับซอฟท์แวร์ก่อน อาจจะเป็นทักษะการใช้ ML หรือสถิติต่างๆ

พอพนักงานมีทักษะระดับหนึ่งแล้ว ก็ให้พนักงานเป็นคนเลือกว่าซอฟท์แวร์แบบไหนที่ตัวพนักงานถนัด แล้วค่อยเลือกซอฟท์แวร์ที่ว่า

3. อย่าให้ความสำคัญกับการคิดคำนวนตัวเลขหรือสถิติ มากกว่าวัฒนธรรมองค์กรและกลยุทธ์ธุรกิจ

ตัว Predictive Analytics ไม่ใช่เทคโนโลยีที่อยู่ๆก็เอามาใช้งานในบริษัทได้เลย เราต้องดูว่าเทคโลโลยีที่ว่าจะสามารถปิดช่องว่าระหว่างข้อมูลที่บริษัทมีกับคุณค่าหรือวัฒนธรรมองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน เทคโนโลยีดี แต่พนักงานใช้ไม่ถนัด ผิดนโยบายบริษัท หรือเอามาประยุกต์ใช้ไม่ได้ ตัวเทคโนโลยีนั้นก็คงไม่มีประโยชน์กับตัวองค์กรอยู่ดี

จริงๆก่อนที่อยู่ๆจะประกาศว่า จะเอาเทคโนโลยีตัวไหนมาใช้ เราควรชี้แจงหรือโน้มน้าวให้พนักงานรู้ก่อนว่าเทคโนโลยีที่ว่าจะมาช่วยพัฒนาคุณภาพงานของพนักงานได้อย่างไร? ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีพนักงานที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแน่ๆ มันเป็นเรื่องของการสื่อสาร ว่าถ้าเอา Predictive Analytics มาใช้ บริษัทหรือตัวพนักงานจะได้ประโยชน์อะไร แล้วถ้าไม่เอามาใช้พนักงานจะเสียอะไรบ้าง? 

ซึ่งถ้าหากโน้มน้าวสำเร็จ เราก็สามารถป้อนข้อมูลให้ ML เรียนรู้ พัฒนา แก้ไขวนไปเรื่อยๆ จนได้โมเดลที่ใช้งานได้ดีที่สุดและไปประยุกต์ใช้ทำนายผลลัพธ์ธุรกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การตลาด การดำเนินการ ฯลฯ ต่อไป

 

แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งมาจาก Strategic Analytics: The Right Way to Deploy Predictive Analytics โดย Eric Siegel จาก Harvard Business Review


  • 160
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th