นอกจากจะเอา AI มาทำงานแทนคนแล้ว AI สามารถเอามาใช้บริหารจัดการคนในบริษัทได้ คำถามคือแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า AI จะ “Put the right man into the right job” ได้ดีกว่าคนในองค์กร?
ตัวอย่างเช่น บางองค์กรมีคนสมัครงานเป็นจำนวนมาก จน HR ไม่สามารถตรวจดู Resume ได้ทุกแผ่นแบบละเอียด
การใช้ AI เข้ามาคัดเลือกใบสมัครจำเป็นเพื่อแบ่งเบาภาระบริษัทและแม่นยำกว่า อย่างไรก็ตาม วันนี้เลยจะพามาดูข้อควรระวังในการใช้ AI มาใช้บริหารจัดการคนในบริษัทกัน
1. ก่อนจะคิดถึง AI ให้คิดถึงข้อมูลส่วนตัวของพนักงานก่อน
เพราะ AI จะบริหารจัดการพนักงานในองค์กรได้ จะต้องรู้จักพนักงานแต่ละคนก่อน ซึ่งแน่นอนว่าคนให้ข้อมูลป้อนเข้า AI ก็ต้องเป็นตัวพนักงาน ซึ่งตรงนี้แหละสำคัญ เพราะข้อมูลของพนักงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นทุกวัน หากจะเอาข้อมูลส่วนตัวพนักงานไปใช้ในทางใดก็ตาม พนักงานคนนั้นต้องยินยอมก่อน
2. AI ต้องจัดการพนักงานอย่างยุติธรรมและแม่นยำ
ยกตัวอย่างเช่น หาก AI เห็นว่าคะแนนทดสอบความสามารถในการใช้ความคิดมีผลมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่มีละเอียดซับซ้อน คนที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่าก็อาจจะได้โอกาสทำงานมากกว่า อาจจะเป็นเพราะมีเงินส่งเสียเรียนหนังสือมากกว่า เป็นต้น ผลเสียคือในบริษัทอาจจะเป็นแหล่งทำงานสำหรับคนมีฐานะคนมีเงินเท่านั้น ซึ่งไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่มีฐานะด้อยกว่า
ฉะนั้นตรงนี้สำคัญ คนที่พัฒนาหรือใช้ AI จะต้องให้ AI ได้คำนึงถึงความหลากหลายของพนักงานในการให้งานแต่ละประเภททำด้วย ถึงแม้ว่าการที่ AI คำนึงถึงความหลากหลายของพนักงานจะทำให้ AI แม่นยำน้อยลงในการให้คนที่ใช่ทำงานที่ใช่ก็ตาม
3. เปิดโอกาสให้กลุ่มคนหรือองค์กรภายนอกได้ตรวจสอบ AI ที่บริษัทใช้อยู่
เช่น AI ที่บริษัทใช้ในการตรวจสอบและคัดแยก resume ของผู้สมัครงานว่ามีประสิทธิภาพ และไม่มีอคติต่อผู้สมัครงาน ตรงนี้บริษัทควรเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาตรวจสอบ หรือจะเปิดเป็น Open source ให้บุคคลภายนอกสามารถปรับแต่และพัฒนา AI ของบริษัทให้เกิดความลำเอียงน้อยลงและจัดการพนักงานได้แม่นยำขึ้น และเปิดเผยว่าได้พัฒนา AI ไปตรงไหนบ้าง
ปัญหาใหญ่อีกเรื่องคือ AI ต้องสามารถอธิบายเหตุผลให้ได้ว่าทำไมพนักงานแต่ละคนจึงเหมาะกับงานแต่ละอย่างที่ AI แนะนำ (เช่นทำไมคุณสมบัติ A ของพนักงาน B ถึงทำให้พนักงานคนนั้นได้ทำงานที่แผนก C เป็นต้น) เพราะบางทีการที่ 2 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กันก๋ไมได้ส่งผลกระทบกันก็ได้ การอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลให้พนักงานได้ทราบจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับ AI ในอนาคต
แหล่งที่มาส่วนหนึ่งจาก Building Ethical AI for Talent Management โดย Tomas Chamorro-Premuzic, Frida Polli และ Ben Dattner จาก The Year in Tech 2021: Harvard Business School