เข้าใจความหมายจริงๆ ของการทำ Business Transformation ในมุมมองของ bluebik

  • 198
  •  
  •  
  •  
  •  

 

สำหรับคำว่า Business Transformation หรือที่หลายคนพูดกันว่า การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จริงๆ แล้วคำนี้เราได้ยินกันมานานมาก เพราะในแต่ละยุคสมัยจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ตลอดเวลา

คุณบี (สโรจ เลาหศิริ), Head of Marketing Transformation and Marketing Strategy ของบริษัทบลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้อธิบายไว้ว่า “ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ หรือการตลาดเองก็ตาม ต่างก็ผ่านการปฎิวัติอุตสาหกรรมมาอย่างหลากหลาย แต่สำหรับ big transformation ที่ผ่านมามีแค่ 4 ครั้ง เช่น การปฎิวัติจากการทำมือมาเป็นระบบอุตสาหกรรม และการใช้ automation ต่างๆ ซึ่งทุกครั้งที่มีการ transformation ส่วนใหญ่มักจะมาพร้อมกับ technology disruption เสมอ”

ทั้งนี้ ในภาพรวมของการ transformation ในแต่ละครั้งมันจะมีวงจรการเปลี่ยนผ่านของมัน ในมุมมองของ bluebik ในฐานะที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี คุณบี ได้พูดถึง Technology Adoption Cycle หรือการที่เรารับเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ ซึ่งกระบวนการหลักๆ จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนใน cycle นี้ ก็คือ

 

  • Technology Innovation: เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาตามยุคสมัย ตั้งแต่พลังงานไฟฟ้า, รถจักรไอน้ำ, เริ่มเข้าสู่ยุคที่มีรถยนต์, การขนส่งทางเครื่องบิน จนมาถึงยุคอินเทอร์เน็ตที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ดังนั้น ในเมื่อมีเทคโนโลยีนวัตกรรม หากไม่มีการนำมาใช้ หรือ adopt ของผู้บริโภคเทคโนโลยีเหล่านั้นก็อาจจะไม่เกิด โดย bluebik ได้ใช้ทฤษฎีของ Technology Adoption Curve ของผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก จากการ adopt ผ่านความรู้ความสามารถ, การเข้าถึงเทคโนโลยี, ความง่ายหรือประสบการณ์ในการใช้ของพวกเขา เป็นต้น

 

  • Customer Shift: ในเมื่อผู้บริโภคสามารถ adopt ในยุคที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้ว เช่น การใช้งานสมาร์ทโฟน เราไม่ได้ใช้แค่โทรเข้า-ออก หรือท่องโลกออนไลน์อย่างเดียว แต่มันเพิ่มฟังก์ชั่นขึ้น ทั้งการลงทะเบียน, การดาวน์โหลด, หรือแม้แต่การจองคิวผ่านสมาร์ทโฟน ดังนั้น ในเมื่อดีมานด์หรือการเรียกร้องมันเพิ่มขึ้น จึงทำให้ value ต่อธุรกิจสำหรับผู้บริโภคเปลี่ยนไป (value changed) ความคาดหวังที่จะให้บริษัทเข้าใจ หรือตอบโจทย์พวกเขาก็มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการทรานส์ฟอร์มธุรกิจในลำดับต่อไป

 

  • Business Transformation: ในเมื่อธุรกิจตัดสินใจที่จะทรานส์ฟอร์มตัวเองตามดีมานด์ที่มันเกิดขึ้น สิ่งที่เราจะเห็นแน่ๆ ก็คือ รีเสิร์ชและการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน หรือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความพึงพอใจ หรือตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคให้มากที่สุด จนมันเกิดการเปลี่ยนแปลงซ้ำๆ กลายเป็น cycle วนกันไปเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม คุณบี ได้ย้ำเกี่ยวกับ barrier อุปสรรคของแต่ละประเทศ แต่ละข้อกฎหมายที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับในแต่ละบริบทนั้นๆ เป็น case by case แต่มันจะส่งผลในเรื่องของ speed ความเร็วในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจในแต่ละที่ด้วย

“ในมุมของธุรกิจเวลาที่เราจะทำ transformation สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงก็คือ growth (การเติบโต) เพราะว่าเวลาที่เราเปลี่ยนแปลงอะไรในครั้งหนึ่ง เราจำเป็นต้องมองในเรื่องการเติบโต หรือความสามารถในการแข่งขันด้วย”

 

 

 

 

Business transformation ส่วนใหญ่เกิดขึ้น 3 รูปแบบ

ตอนนี้เราพอเข้าใจแล้วว่า ธุรกิจอยากจะทรานส์ฟอร์มตัวเองไปทำไม ซึ่งคุณบี ได้อธิบายเพิ่มถึงรูปแบบของการทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่ได้รับความนิยมว่ามีอยู่ 3 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ

 

  • Incremental Growth

คือ การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือบางคนจะเรียกว่าการเติบโตแบบ bottomline ก็คือ เมื่อบริษัททรานส์ฟอร์มแล้วจะต้องมียอดขายเพิ่ม, มีรายได้เพิ่ม หรือธุรกิจต้องการปฎิวัติตัวเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการลงทุนที่เน้นรูปแบบ long-term competition มีการใช้เทคโนโลยีในการคำนวนเพื่อให้สินค้า-บริการมีราคาที่ถูกลง แต่ประสิทธิภาพดีขึ้น เป็นต้น

  • Exponential Growth

คือ การเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) หรือหลายๆ บริษัทจะเรียกการเติบโตนี้แบบ S curve ซึ่งเราจะเติบโตแบบนั้นได้ต้องมาจากการปลดล็อกความสามารถบางอย่าง unlock คุณค่าใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการเติบโตแบบทวีคูณ

  • Disruptive Growth

คือ การดิสรัปที่ทำให้ธุรกิจเปลี่ยนแนวคิด หรือเป็นการเติบโตบนเส้นตรงใหม่ ซึ่งก็คือการสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่จากการดิสรัปชั่นนั่นเอง

 

 

จากทั้ง 3 กลยุทธ์ในการเติบโตที่คุณบีได้แชร์มา เมื่อแยกเลเยอร์ออกมาจะได้เป็นทิศทางของ Digital Transformation Canvas ในการเติบโต ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของ bluebik โดยคุณบีได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ 3 กลยุทธ์ข้างบนในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจจากกิจกรรมต่างๆ โดยสรุปก็คือ

สำหรับ Incremental Growth (การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป) จะรวมไปตั้งแต่ การนำเอาเทคโนโลยีมาพัฒนาในโปรดักส์ใหม่ (Product Innovation), การเปลี่ยนแปลงในฟีเจอร์โปรดักส์นั้นๆ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับ gen ต่างๆ, การสร้างความยั่งยืนในองค์กร, การใช้ระบบ automation (เช่น ซัพพลายเชน, โลจิสติกส์) จนไปถึง การจัดหานวัตกรรมใหม่ๆ (เช่น การนำหุ่นยนต์มาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต) ซึ่งกระบวนการและแนวคิดทั้งหมดนี้ จะช่วยกระตุ้นการเติบโตแบบ bottomline หรือเติบโตแบบหลักเปอร์เซ็นต์อย่างที่หลายคนเรียก

ส่วน Exponential Growth (การเติบโตแบบก้าวกระโดด) การเติบโตที่เป็นหลักเท่าตัว ดังนั้นกิจกรรมหรือมูฟเมนต์ต่างๆ จึงเริ่มเปลี่ยนชัดเจน ตั้งแต่ CX delivery ก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพของประสบการณ์ลูกค้า ด้วยการทำ O2O (offine-to-online) มากขึ้น, การเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเต็มตัวเพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่, core value maximization (การเพิ่มมูลค่าจากธุรกิจหลัก แตกไลน์จาก core เดิมทำมันให้ดีขึ้น), การทำ personalization, การตั้งราคาที่เหมาะสมมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังย้ำเกี่ยวกับ data และการนำมาวิเคราะห์ ซึ่งคุณบีมองว่า ข้อมูลในยุคนี้มีมูลค่าเหมือนกับทองหรือน้ำมัน หากเราใช้คลัง data นั้นได้ถูกต้องแม่นยำ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง

สุดท้ายคือ Disruptive Growth (การเติบโตจากการถูกดิสรัป) ทุกวันนี้เราจะเห็นบริษัทใหญ่ๆ เคลื่อนตัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะธุรกิจประกัน หรือธุรกิจธนาคาร ซึ่งการเติบโตบนเส้นทางใหม่ที่ว่านี้ก็มาจากหลายกิจกรรม เช่น การร่วมมือกัน/ผนึกกำลังกัน, การเพิ่มพาร์ทเนอร์ชิพทางธุรกิจ, วิธีที่จะล็อกผู้บริโภคให้อยู่กับเราไปนานๆ เพื่อสร้าง customer loyalty ในระยะยาว, ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคอยู่ใน ecosystem ของเราเพื่อทำการ up sell-cross sell ได้ง่ายขึ้น, ธุรกิจหันมาทำ as a service คือการเปลี่ยนโครงสร้างที่มีอยู่เดิมซึ่งเราเป็นคนดำเนินการ เปลี่ยนมาเป็นการให้บริการแทน เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ที่ทำ B2B มากขึ้น แทนที่จะเก็บค่าจัดส่งอย่างเดียว

คุณบี ยังพูดถึงกิจกรรมยอดฮิตอย่าง การลงทุนในบริษัทใหม่ หรือการจัดตั้ง Venture Capital (VC) ธุรกิจเงินร่วมลงทุน ในสตาร์ทอัพที่มีประสิทธิภาพทั่วโลก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้เกิด disruptive growth

 

 

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการ transformation ธุรกิจในรูปแบบไหนจากทั้ง 3 กลยุทธ์นี้ คำพูดหนึ่งของคุณบีค่อนข้างน่าสนใจที่บอกว่า การที่ธุรกิจหนึ่งจะเลือกทรานส์ฟอร์มตัวเอง มันไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือการเพิ่มกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น แต่เราต้องคิดถึงปลายทางด้วยว่าบริษัทอยู่ในจุดที่แข่งขันได้หรือไม่ หากมองจาก diagram และคำอธิบายโดยสรุปนี้จะเห็นได้ชัดว่า business transformation มันมีอะไรซ่อนอยู่เยอะมาก และเราต้องเข้าใจทิศทางของธุรกิจตัวเองว่าการทรานส์ฟอร์มแบบไหนที่เหมาะกับเรา ในเวลาที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดการเติบโตจริงๆ

 

 

 

ข้อมูลโดย bluebik


  • 198
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม