Nokia จากดาวรุ่งสู่ดาวร่วงในตลาดสมาร์ทโฟน

  • 997
  •  
  •  
  •  
  •  

ไหนยังมีใครใช้มือถือ Nokia กันอยู่หรือเปล่า?

คาดว่าคนใช้ Nokia น้อยลงมากๆ เมือเทียบกับเมื่อก่อน Nokia เคยเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในตลาดมือถือทั่วโลก ก่อตั้งในปี 1865 และเกือบจะล้มละลายในปี 2007 ก่อนจะขายให้ Microsoft ไป 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ จนเดี๋ยวนี้ Nokia แทบเป็นแบรนด์ที่คนไม่นึกถึงเลยเมื่อนึกถึงสมาร์ทโฟน

 

อะไรคือสิ่งที่ Nokia ขาดไปเพื่อครองตลาดสมาร์ทโฟน?

จริงๆ Nokia ดำเนินธุรกิจไปอย่างสวยงาม นวัตกรรมของสมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ด้วยซ้ำ ก็มาจาก Nokia ไม่ว่าจะเป็น Touchscreen หรือโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ดีไซน์การใช้งานก็เหมาะกับคนใช้ ขั้นตอนกระบวนการผลิตมือถือก็จัดว่าคุณภาพ

Nokia ก็เหมือนบริษัทดั้งเดิมทั่วไปที่เผชิญกับปัญหา Organizational Silos มีทีมที่ทำงานให้กับมือถือเฉพาะรุ่น เฉพาะตลาดนั้นๆ มีหน่วยงานที่แบ่งแยกกันชัดเจน Nokia พัฒนาและวิจัยมือถือเป็นร้อยๆครั้งในแต่ละพื้นที่ที่ Nokia ไปเปิดตลาด ทีมฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ก็ใส่ใจความต้องการของลูกค้า Nokia ได้เปรียบเมื่อแข่งขันกับแบรนด์มือถือเจ้าอื่นๆในเรื่องของความหลากหลายของรุ่นและดีไซน์มือถือ

และนั้นทำให้ Nokia พ่ายแพ้ให้กับสมาร์ทโฟนรุ่นหลังๆที่มีระบบปฏิบัติการอย่าง iOS และ Android เพราะสิ่งที่ Nokia ขาดคือสิ่งที่เรียกว่า “Digital Consistency” หรือจะเข้าใจว่าเป็นมาตรฐานของระบบดิจิทัลก็ได้

ตัว Nokia เองก็มีระบบปฏิบัติการของตัวเอง (มือถือของ Nokia มันมีหลายรุ่น หลายฟีเจอร์ หลายดีไซน์ และที่สำคัญ มีหลายระบบปฏิบัติการ ตอบโจทย์ตลาดแต่ละพื้นที่ ทำให้พวก Developer จะพัฒนาซอฟท์แวร์หรือแอปฯมือถือยากมากๆ เพราะต้องพัฒนาซอฟท์แวร์ แอปฯให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดกับทุกรุ่นที่มีระบบปฏิบัติการต่างกัน

ในขณะที่ iPhone หรือยี่ห้ออื่นๆที่ใช้ Android ไม่เจอปัญหานี้เพราะใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกันหมด ทำให้ Developer ข้างนอก ออกแบบซอฟท์แวร์และแอปฯได้ง่าย ใช้ได้กับทุกแบรนด์ มี Digital Consistency Apple มี API ที่เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ Android

ผลคือทำให้เกิดเครือข่าย Software Developer และ App Developer ออกแบบให้กับมือถือที่รองรับ iOS และ Android คนก็ยิ่งใช้มากขึ้น เกิดธุรกรรมมากขึ้น มีข้อมูลไหลเวียนอยู่ในเครือข่ายมากขึ้น มีการพัฒนาซอฟท์แวร์และแอปฯให้ใช้งานดีขึ้น คนก็ใช้งานมากขึ้น วนลูปไป

ซึ่งมันไม่มีวันเกิดขึ้นกับ Nokia ที่ไม่มีระบบปฏิบัติการที่มาตรฐานเลย

ทางเลือกหนีตายของ Nokia (ที่ Nokia ไม่เอาทั้งคู่)

ในขณะที่สมาร์ทโฟนที่รองรับ iOS มีมูลค่ามากขึ้น Nokia กลับมีมูลค่าที่สวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนแบรนด์คู่แข่งอื่นๆอย่าง BlackBerry, Sony Ericsson หรือ Motorola ก็ถูกเบียดตกขอบตามๆกัน ส่วน Android ดูเหมือนจะได้ชัยชนะไปในแง่ของจำนวนสมาร์ทโฟน ซึ่ง 85% รองรับ Android

น่าแปลกใจที่ Nokia กลับแพ้ให้กับ Apple หรือแบรนด์อื่นที่มี Android ทั้งๆที่ Nokia ทุ่ม 8-15% ของรายได้กับการวิจัยและพัฒนามือถือจนมี Touchscreen, มีกล้องติดมือถือ, ระบบการค้นหา, แอปฯ และ App Store พวกนี้ไม่ใช่ Apple เป็นเจ้าแรกที่คิดได้ แต่แบรนด์ที่มี iOS และ Android สร้างมูลค่าในมึมมองที่ต่างกัน แบรนด์พวกนี้ไม่ได้สร้างมูลค่าจากการขายมือถือแต่แรก แต่สร้างมูลค่าจากเครือข่าย Developer จนแบรนด์พวกนี้เป็นแบรนด์หลักๆในตลาด

ฉะนั้นทางเลือกหนีตายที่เป็นไปได้ของ Nokia มีอยู่ 2 ทาง

 

1. สร้างระบบปฏิบัติการแข่งกับ iOS และ Android ไปเลย

แต่การจะทำอย่างนั้น Nokia ต้องมั่นใจว่าระบบปฏิบัติการที่จะสร้างนั้น มือถือทุกรุ่นภายใต้ Nokia (และมือถือของแบรนด์อื่นๆ) ต้องใช้ได้ด้วย แต่ปัญหาอย่างที่บอกไปคือ Nokia พัฒนาระบบปฏิบัติการฟังค์ชั่น ดีไซน์ตอบโจทย์แต่ละพื้นที่ ทำให้ต้องมีทีมหรือหน่วยงานรับผิดชอบมือถือทุกรุ่นที่ปล่อยขายออกไป หน่อยงานที่ว่ามีการแบ่งแยกชัดเจนจนเกิด Organizational Silos

ฉะนั้นถ้าจะคิด สร้างระบบปฏิบัติการแข่งกับ iOS และ Android Nokia จะต้องเปลี่ยนโครงสร้างภายในบริษัททั้งองค์กร! เพื่อให้การวิจัยและพัฒนาทุกอย่างของสมาร์ทโฟนนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึง Ecosystem ที่เกี่ยวกับ Nokia เองด้วย

2. ยอมรับระบบปฏิบัติการของคู่แข่ง แล้วหันไปเอาดีทางด้านพัฒนาซอฟท์แวร์

เพราะไม่น่าทันแล้วสำหรับ Nokia ที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการจนชนะเจ้าตลาด ให้เครือข่าย Developer สนใจพัฒนาซอฟท์แวร์และแอปฯให้กับระบบปฏิบัติการของ Nokia ทางที่ดียอมรับระบบปฏิบัติการของคู่แข่ง แล้วหันไปเอาดีทางด้านพัฒนาซอฟท์แวร์ ฟีเจอร์และฟังก์ชั่น เหมือนอย่างที่ Samsung ทำ (แล้วทำได้ดีด้วย)

 

 

ที่น่าตกใจคือ Nokia ไม่คิดที่จะสร้างอะไรใหม่ทั้งนั้น และนั้นทำให้ตำนานยักษ์ใหญ่แห่งวงการมือถืออย่าง Nokia ต้องจบลงในที่สุด CEO ของ Nokia ในสมัยนั้นอย่าง Stephen Elop ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ครองตลาดและได้เปรียบกว่ากันเห็นๆ

ทำให้อาณาจักร Nokia ที่เคยรุ่งเรืองต้องร่วงโรยอย่างช่วยไม่ได้จริงๆ

 

แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งมาจาก Strategic Collisions โดย Marco Iansiti และ Karim R. Lakhani จากหนังสือ Competing in the Age of AI


  • 997
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th