5 บทเรียน การทำ PR จากเกมสแครบเบิ้ล

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Scrabble_game_in_progress-hilight

ใกล้ถึงวันหยุดยาวเข้ามาทุกที คิดไว้บ้างหรือยังว่าจะทำกิจกรรมอะไรกับครอบครัว ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะทำอะไร เราขอแนะนำเกมลับสมอง ฝึกทักษะภาษาอังกฤษอย่าง สแครบเบิ้ล (Scrabble) เพราะนอกจากจะช่วยฝึกสมองแล้ว ยังแอบซ่อนด้วยบทเรียนเกี่ยวกับการทำประชาสัมพันธ์อีกด้วย นี่คือ 5 บทเรียนที่น่าเรียนรู้จากเกมต่อคำสุดคลาสสิกนี้

1. มองปัญหาจากทุกมุม

ในขณะที่คุณกำลังเล่นเกมอยู่นั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณต่อคำต่อไปได้คือ การมองสถานการณ์จากมุมต่างๆ ค้นหาจุดสำคัญที่จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้ แม้จะต่อคำแค่ตัวอักษรเดียวก็ตาม อย่างน้อยก็จะช่วยให้คุณได้มองมุมมองใหม่ๆ จากเกมต่อคำนี้

2. ต้องใช้งานได้ทุกสถานการณ์

นอกเหนือจากการใช้สมองต่อคำแล้ว จุดเด่นของสแครบเบิ้ลคือ คุณสามารถเล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นบนFacebook แอพพริเคชั่นต่างๆ หรือขนาดที่แตกต่างกันทำให้พกไปได้ทุกที่ แสดงให้เห็นว่าผู้ที่คิดค้น พัฒนาต่อยอดเกมนี้ต้องการให้สแครบเบิ้ลเข้าถึงผู้ใช้งานทุกคน และถ้าพูดถึงงานด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์แล้ว ชิ้นงานหรือผลงานที่ผลิตออกมานั้นก็ต้องตอบโจทย์ทุกแพลตฟอร์ม สื่อทุกแขนง ปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เหมาะกับ และต้องเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ดี หรือเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้

3. เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ

ทราบหรือไม่ว่าสแคบเบิ้ลมีการแข่งขันระดับชาติ และมีผู้เข้าร่วมแข็งขันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าคนทั่วโลกไม่น้อยที่หลงรักการเล่นสแครบเบิ้ล ซึ่งการแข่งขันนี้ก็เริ่มต้นจากกลุ่มคนไม่มาก จนมาสู่การแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ ถ้าคุณต้องการโปรโมตหรือประชาสัมพันธ์อะไรก็ตาม ให้ลองเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ด้วยการสร้างบล็อก หรือเว็บบอร์ดออนไลน์ เพื่อแสดงความเป็นแบรนด์ หรือการแสดงตัวเป็นผู้ให้คำแนะนำในฐานะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งในไม่ช้าคุณก็จะเป็นผู้นำในเรื่องนั้นๆ

4. สร้างพันธมิตรในระยะยาว

จริงๆ แล้วการมีพาร์ทเนอร์ที่ไว้ใจได้ ก็ถือเป็นวิธีการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวของการทำงาน เป็นตัวช่วยที่ดีในการประชาสัมพันธ์ได้ ซึ่งการทำ PR นี้ก็เหมือนกับส่วนหนึ่งในเกมสแครบเบิ้ล ที่ต้องรักษาความสัมพันธ์ต่อผู้เล่นที่อยู่ตรงหน้าคุณ เพราะทุกคนย่อมต้องการทำคะแนนให้มากที่สุดโดยไม่ผิดกติกา ซึ่งสุดท้ายแล้วคู่แข่งที่อยู่ตรงหน้า อาจจะกลายมาเป็นคู่หูคู่คิดของคุณก็ได้

5. บางครั้ง Less is More ย่อมดีกว่า

บางครั้งการต่อคำยาวๆ อาจให้คะแนนน้อยกว่าคำสั้นๆ ในแง่ของการประชาสัมพันธ์ คำว่า “Less is More” ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน ถือเป็นการแสดงทัศนคติที่เน้นความเรียบง่าย และลึกซึ้งในทางความคิด คุณไม่จำเป็นต้องสร้างคอนเท้นต์ หรือบทความยาวๆ เพื่อเอาใจผู้บริโภค แค่ลองค้นหาคำพูดดีๆ สักประโยคก็เพียงพอแล้ว
แหล่งที่มา


  •  
  •  
  •  
  •  
  •