7 ทิปส์ควรใส่ใจเพื่อช่วยให้ infographic ของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • 7
  •  
  •  
  •  
  •  

infographics-visuals-charts-graphs

ยุคนี้ทำอะไรก็ต้องเป็น infographic

ย้อนความกลับไปแล้ว เราจะเห็นว่า infographic ในปัจจุบันตรงกับหลักการสื่อสารที่สอนให้เรา picturize ข้อมูลยากๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น และเมื่อมาสู่ยุคโซเชียลมีเดีย เทรนด์นี้เริ่มดังมากขึ้นเนื่องจากมันช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ และนำคีย์เวิร์ดต่างๆ มาประกอบการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

เมื่อตัดสินใจจะทำ infographic เรียก engagement สิ่งแรกที่คุณต้องคิดดีๆ คือหัวเรื่องว่าจะเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้และพร้อมจัดทำ ลองอ่านทิปส์ทั้ง 7 ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการทำ infographic ที่มี impact มากขึ้น

1. ขนาดภาพมีผล

รูปภาพต้องเป็นแบบ Hi-resolution เท่านั้น เนื่องจากหากบลอกเกอร์หรือสื่อสำนักต่างๆ ต้องการแชร์มันบ้าง พวกเขาต้องการสื่อที่มีคุณภาพดีที่สุด นอกจากนี้ หากสามารถทำ infographic ขนาดเล็กเอาไว้ใช้โปรโมทบน Facebook หรือ Twitter ได้ก็จะเป็นการดีมาก สรุปว่าทำ infographic หลายๆ เวอร์ชั่นเพื่อให้ content distributor บนเน็ตสามารถนำไปเผยแพร่ได้ง่ายๆ เป็นสิ่งจำเป็น

2. หัวเรื่อง

คุณควรมีหัวเรื่องที่เด่นที่สุด และมีข้อความที่ catchy มากพอที่จะเป็นหัวเรื่องได้ จากนั้น ส่วนที่สองควรเป็นย่อหน้าขนาดเล็กเอาไว้แนะนำรายละเอียดสั้นเกี่ยวกับ infographic นี้ ส่วนที่สามควรเป็น bullet ที่แยกประเด็นเพื่อ highlight คีย์เวิร์ดที่ผู้อ่านควรรู้ หากใครไม่มีเวลาก็สามารถเสพข้อความเหล่านี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลามาก

3. ใส่แบรนด์ลงไป

อย่าเข้าใจผิดว่าการใส่ตราสัญลักษณ์แบรนด์ พร้อมที่อยู่จ่าหน้าซอง เบอร์โทร อีเมล์ ที่อยู่ facebook ชื่อเลขาฝ่าย HR แม่บ้านและรปภ. จะช่วยให้ infographic ของคุณถูกส่งต่อมากขึ้น กลับกัน พวกบล็อกเกอร์หรือสื่อเกลียดความรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกหลอกใช้ให้โปรโมทอะไรบางอย่างฟรียิ่งนัก ดังนั้น การใส่แบรนด์ลงใน infographic ควรทำแต่พองาม แค่ตราสัญลักษณ์ก็พอล่ะ หรืออาจมีเว็บไซต์ตัวเล็กๆ ให้ผู้สนใจลองไปเสิร์จผลงานเราต่อ นอกจากนี้ เนื้อหาทั้งหมดต้องไม่เป็นการประชาสัมพันธ์ตัวเองอย่างโจ่งแจ้งเกินไปนัก เช่น เป็นแบรนด์ขายอาหารสัตว์ ทำ infographic เกี่ยวกับอาหารสัตว์มีแคลเซียมดีต่อฟันของสุนัขอย่างไร อุต๊ะ เผอิญอาหารสัตว์ของเราก็มีแคลเซียมสำหรับสุนัขอยู่เจ้าเดียวซะด้วยสิ แบบนี้ก็อาจไม่ควร

4. ย่อยประเด็น

การย่อยประเด็นเป็นหัวข้อเล็กๆ ทำให้ข้อมูลอ่านง่ายขึ้นเยอะ ลองทำ infographic ฉบับย่อส่วน แล้วค่อยทำฉบับตัวเต็มไว้ข้างใต้อีกช่วงหนึ่งแทน คุณก็รู้ดีว่าใครๆ ก็ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือหนาเป็นพรืดหรอก

5. ให้สิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องลงไปด้วย

อย่าปล่อยให้ infographic เป็นเพียงการนำข้อมูลมาต่อๆ กัน ลองคิดแทนคนอ่านว่าพวกเขาจะอยากรู้อะไรเพิ่มเติมแล้วไปหาข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบ เพราะบางครั้ง ข้อมูลย่อยง่ายเหล่านี้ก็อาจสามารถนำไปใช้ได้จริงดีกว่าข้อมูลย่อยยากที่เราพยายามนำเสนอ

6. อ้างอิง

แม้จะได้ชื่อว่าเป็น infographic แต่การ reference หรือการอ้างอิงก็ยังมีความสำคัญอยู่ ควรใส่ URLs หรือลิงค์ที่สามารถคลิกได้ของบลอกหรือเวบไซต์ที่คุณนำข้อมูลมา นอกจากนี้หากเป็นงานวิจัยก็ควรใส่เครดิตที่มาของสถาบันที่วิจัยด้วย ทั้งหมดนี้ใส่ที่ส่วนล่างสุดของหน้า

7. เผยแพร่มันออกไป

จะคุ้มค่ากับหยาดเหงื่อแรงงานของคุณหรือไม่อยู่ที่ขั้นตอนนี้ ทำให้แน่ใจว่า influencers หรือ opinion leader ที่คุณมีความสัมพันธ์ด้วยจะเห็นสิ่งเหล่านี้และเผยแพร่มันออกไป การเผยแพร่ที่ทั่วถึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ SEO ให้มากขึ้น และอย่าลืมใส่ลิงค์ขนาดสั้นเผื่อใครอยากคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์หลักด้วยล่ะ

Source


  • 7
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง